บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

แนวคิดในการทำเกษตร

ทำเกษตรอย่างมีแบบแผน คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครจะทำทุกวินาที และทุกนาที หรือทุกชั่วโมงให้มีประโยชน์มากแค่ไหน โดยเฉพาะในการทำงาน หากเราทำด้วยความรัก เราจะไม่รู้จักกับคำว่าเหน็ดเหนื่อย เราจะพอใจและมีความสุขที่ได้ทำมัน ซึ่งอาชีพที่ผมทำอยู่ในปัจจุบัน กล้าบอกได้เต็มปากว่า “อาชีพเกษตร” ที่ผมรัก และในการทำเกษตรของผม มักจะมีการวางแผนงานเอาไว้ล่วงหน้า คือจะวางแผนแบบปีต่อปี ตั้งกระบวนการปรับปรุงดิน การปลูก โดยคิดคำนวณค่าใช้จ่ายแลผลกำไรที่จะได้รับพร้อมหาจุดบกพร่องและวิธีแก้ไข และสุดท้ายสิงที่ผมคิด ก็คือแผนในระยะยาวที่จะให้เรามีกินมีใช้อย่างยั่งยืน มีรายละเอียดดังนี้ครับ แผนปรับปรุงดินปลูก   พอหมดฤดูกาลปลูกพืชในแต่ละรุ่น ผมจะเริ่มปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด หลักๆที่ผมใช้คือ ปอเทือง (กรมพัฒนาที่ดินเขาแจกฟรี) และปุ๋ยคอก (ขี้วัว) ที่หาซื้อได้แถวๆบ้านที่ผมอยู่ จากนั้นก็ทำการไถกลบทิ้งไว้ เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินในทุกๆปี แผนปลูก   สำหรับแผนในการปลูกพืชของผมจะไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างแน่นอน เพราะมีความเสี่ยงในด้านราคาสูง คือจะปลูกพืชหลากหลาย เพื่อรองร

เพิ่มผลผลิตข้าวด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วย

ความตั้งใจจะผลิตข้าว 100 ถัง โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี “ในปี 2557 ฤดูกาลนี้ ด้วยพื้นที่ปลูกข้าวเพียงสองไร่ จะทำให้ได้ ผลผลิต 100 ถังขึ้นไป โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี”   นี่คือเป้าหมายที่ผมวางเอาไว้ และจะใช้พื้นที่ปลูกข้าวเพียงเท่านี้ พัฒนาและเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่าเดิมทุกปี โดยไม่ใช้สารเคมี พูดไปคงไม่มีใครเชื่อ และแน่นอนต้องมีคำถามกลับมาว่า..เป็นไปได้หรือ?..แต่สิ่งที่ผมพูดไป ผมได้ทดลองและพิสูจน์มาแล้วครับ เพราะสิ่งที่ผมใช้แทนปุ๋ยเคมีก็คือ “ปุ๋ยพืชสด” และ “น้ำหมักชีวภาพสูตรเด็ด (สูตรหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย)”  ไม่มีสารเคมีตกค้าง ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญประหยัดแบบสุดๆ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมานี้ก็เพิ่งไปขุดหน่อกล้วยมาทำน้ำหมัก และนี่ก็เพิ่งปิดฝาถัง อาบน้ำเสร็จใหม่ๆ ก็มาเปิดคอมพิวเตอร์ บันทึกเรื่องราวที่ได้ทำไว้..กันลืมครับ.. และสูตรน้ำหมักที่ว่านี้ หากใครสนใจ ก็มาดูกันเลยครับ วัตถุดิบสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพ “สูตรหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย”   มีดังนี้ 1. หน่อกล้วยสูงประมาณ 1 เมตร (ขุดเอาทั้งต้นไม่ต้องล้าง) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 6 กิโลกรัม 2. กากน้ำตาล (หาซื้อได้ที่ ธกส.ทุกสาขา) 3 ลิต

บอกข่าวเล่าเรื่องเกษตร

รูปภาพ
“ผักกูด” สร้างรายได้แห่งเมืองสะตอ ข่าวเกษตร บอกข่าวเล่าเรื่องเกษตรวันนี้ จะพาไปเยือนเกษตรกรดีเด่นแห่งเมืองสะตอที่มีชื่อว่า “คุณลุงไว อนุศิริ” เกษตรกรวัย 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 5 หมู่ 12 ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จากการปลูก “ผักกูด” ทำให้มีรายได้กว่า 10 , 000 บาท/เดือน เลยทีเดียวครับ “ลุงไว”  เล่าให้ฟังว่าได้เริ่มต้นปลูกผักกูดมาเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว โดยดัดแปลงจากสวนมังคุดที่ตาย เปลี่ยนเป็นแปลงผักกูดแทน โดยการทำเป็นแปลงระยะห่าง 50×50 เมตร และให้น้ำด้วยระบบสริงเกลอร์ (วันเว้นวัน) และทำการใส่ปุ๋ยคอกเป็นระยะ เพียงสามเดือนก็สามารถเก็บผักกูดส่งขายได้แล้ว สำหรับแปลงปลูกผักกูดของ “ลุงไว” จะมีอยู่ประมาณ 4 ไร่ ได้แบ่งเก็บยอดผักกูดออกเป็น 4 แปลง โดยเก็บสลับกันในแต่ละแปลง (เก็บวันเว้น 2 วัน) ซึ่งสามารถเก็บยอดผักกูดส่งขายได้วันละประมาณ 30 กิโลกรัม โดยจะขายส่งราคากิโลกรัมละ 18 บาท และจะมีแม่ค้ามารับซื้อถึงสวนเพื่อส่งขายต่อในตลาดแถวภาคใต้ต่อไป แต่หากเป็นช่วงหน้าแล้วผักกูดก็จะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 20-25 บาท เพราะผลผลิตช่วงนี้จะมีน้อย และในสวนของลุงไ

รวมสูตรปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืชสด อีกหนึ่งสูตร “ปุ๋ยหมัก” ที่นำมาฝากกันในวันนี้เรียกว่า “ปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืชสด”   เหมาะสำหรับใส่ในนาข้าว ซึ่งหากแปลงนาไม่เคยใช้สารเคมีเลยให้ใส่ 25 กิโลกรัม/ไร่ แต่ถ้าแปลงนาของเรามีการใช้สารเคมีมาก่อนให้ใส่ 100 กิโลกรัม/ไร่ ก็จะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง มีขั้นตอนการทำดังนี้ครับ วัตถุดิบที่ต้องเตรียม 1. พืชสดที่มีใบสีเขียว เช่น โสนแอฟริกัน สาบเสือ ผักตบชวา ต้นพืชตระกูลถั่วต่างๆ สับให้ละเอียด 1 ส่วน หรือถ้ามีมูลสัตว์ ก็สามารถผสมลงไปได้อีก 1 ส่วน 2. แกลบดินหรือละอองข้าว (คายข้าว) 1 ส่วน 3. แกลบเผา 1 ส่วน 4. ดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ (ขุดเอาเฉพาะหน้าดิน) 5. น้ำหมักชีวภาพ+กากน้ำตาล+น้ำสะอาด ผสมรวมกันในอัตราส่วน 1 : 1 : 100 วิธีทำ : นำวัตถุดิบข้อ 1 2 3 และ 4 มาผสมรวมกัน เท่เกลี่ยเป็นชั้นๆ แล้วราดด้วยน้ำจุลินทรีย์ที่ผสมเตรียมไว้ จากนั้นใช้พลั่วหรือจอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ให้ได้ความชื้นประมาณ 50-60 % จากนั้นนำมากองไว้ในที่ร่ม คลุมด้วยแสลนหรือเศษฟางข้าว กลับกองปุ๋ยทุกๆ 7 หรือ 10 วัน ก็สามารถนำไปใ

ตำราเกษตร

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพชนิดผง เอาใจคนทำเกษตรอีกสักวัน ด้วยสูตรปุ๋ยหมักแนวใหม่ที่เรียกว่า “ปุ๋ยหมักชีวภาพชนิดผง”   ซึ่งสามารถใช้ได้กับพืชทั่วไป โดยเฉพาะนาข้าว หากเราใส่ปุ๋ยหมักที่ว่านี้ก่อนการไถกลบตอซังในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ จะทำให้ข้าวใบเขียวสดโดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยเคมีอื่นๆ มีวิธีทำดังนี้ครับ วัสดุสำหรับทำ “ปุ๋ยหมักชีวภาพชนิดผง” มีดังนี้ 1. มูลสัตว์แห้ง 1 กระสอบ 2. แกลบดิบ 1 กระสอบ 3. รำอ่อน ½ กระสอบ 4. กากน้ำตาล 2 แก้ว 5. น้ำหมักชีวภาพ 2 แก้ว 6. น้ำสะอาด 10-15 ลิตร 7. แกลบดำ 1 กระสอบ วิธีทำ : นำส่วนผสมข้อ 1-3 มาผสมรวมให้เข้ากัน กองไว้ในที่ร่ม จากนั้นก็นำกากน้ำตาล น้ำหมักชีวภาพ และน้ำสะอาดมาผสมรวมกัน เทราดบนกองปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยพลั่วหรือจอบ เสร็จแล้วเทแกลบดำผสมลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง ให้ได้ความชื้นประมาณ 50-60 % (ทดสอบโดยการใช้มือกำปุ๋ยหมักขึ้นมาแล้วบีบให้แน่น แต่เมื่อแบมือออกแล้วก้อนปุ๋ยไม่แตก ก็ใช้ได้) จากนั้นให้บรรจุลงในกระสอบ พับปากกระสอบไว้ (ไม่ต้องมัด) วางไว้ในที่ร่ม 10-15 วัน ก็ใช้ได้แล้วครับ

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ปลาร้าไร้หนอน ด้วยหน่อไม้สด สำหรับเทคนิคไล่หนอนออกจากปลาร้าที่ว่านี้ เป็นองค์ความรู้หรืออาจจะเรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้านของคนอีสานก็ว่าได้ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องปรุงหลักๆในการทำอาหารของคนอีสานคงหนีไม่พ้น “ปลาร้า” ไม่ว่าจะเป็นเมนูส้มตำ แกงอ่อม หรือแกงธรรมดาทั่วไป ก็มักจะนิยมใส่ปลาร้าเพื่อเพิ่มรสชาติ หรือที่เรียกว่า เพิ่มความ “นัว” คือให้มีรสชาติอร่อยถูกใจในแบบฉบับของอาหารอีสานนั่นเอง ซึ่งในการเก็บรักษาปลาร้าแนะนำให้เก็บในภาชนะที่มีฝาปิดมิชด เพื่อป้องกันแมลงวันเข้าไปไข่ใส่ สุดท้ายก็จะเกิดเป็นหนอนนั่นเอง แต่สำหรับคนอีสานแล้ว จำได้ว่าในสมัยที่ผมเป็นเด็ก มักจะเห็นยายหั่นหน่อไม้ไผ่สดๆใส่ในกระปุกหรือไหปลาร้าเป็นประจำ เคยลองถามแกดู แกก็บอกว่า “จะทำให้หนอนตายและจะทำให้ปลาร้าไม่มีหนอน” ซึ่งเท็จจริงอย่างไรผมก็ไม่ได้เห็นกะตา แต่เมื่อสองวันก่อนปลาร้าในกระปุกในครัวที่บ้านผมเอง เกิดมีหนอนขึ้นมาเต็มไปหมด ก็เลยหวนคิดถึงเรื่องในอดีตที่ยายเคยทำให้ดู จากนั้นก็จัดการหาหน่อไม้ไผ่มาปอกเปลือกออก แล้วหั่นใส่ลงไปในกระปุกปลาร้า ปิดฝาไว้เหมือนเดิม เพียงไม่กี่ชั่วโมง “หนอนตายเกลี้ยงเลยครับ” ซึ่งจากข้อสันนิษ

เทคนิคเกษตร

รูปภาพ
วิธีปลูกฟักทองให้ติดฝักดก วันนี้มีเทคนิคดีๆในการปลูกฟักทองให้ติดผลดก มาฝากสำหรับเกษตรกรที่ปลูกฟักทองในเชิงการค้าหรือปลูกไว้รับประทานกันในครอบครัว โดยเฉพาะแถวบ้านผมจะนิยมปลูกฟักทอง “ผิวคางคก” (ตราศรแดง)   เป็นฟักทอง ที่เป็นที่นิยมของตลาดอย่างมาก เรียกได้ว่าคุณมีเท่าไหร่แม่ค้าเหมาหมด ผมอาจจะเรียกชื่อไม่ถูก แต่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป สำหรับเทคนิคปลูกฟักทองให้ติดผลดกที่ว่านี้ เป็นเทคนิคเริ่มตั้งแต่ก่อนปลูก คือให้ขุดหลุมกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 1 หน้าจอบ จากนั้นให้รองพื้นหลุมด้วยมูลสัตว์เก่าหรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 บุ้งกี๋ คลุกเคล้าผสมกับผิวดินที่ขุดออกให้เข้ากัน ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 จากนั้นก็นำเมล็ดฟักทองเพาะเตรียมไว้ในถุงเพาะชำก่อน แล้วค่อยนำมาปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หลังจากปลูกได้ประมาณครึ่งเดือนให้นำปุ๋ยหมักหรือมูลสัตว์เก่าใส่รอบโคนต้น แล้วกลบด้วยดิน พอฟักทองเริ่มออกดอกให้เรานำเกสรตัวผู้มาผสมกับเกสรตัวเมีย (นำมาครอบกัน) แต่ให้ทำในช่วงเช้าประมาณ 06.00 น. พอฟักทองเริ่มติดผลขนาดเท่าสองกำปั้นให้เรานำเศษฟางมารองผลเอาไว้ เพื่อป้องกันหนอนในดินเจาะผลฟักทอง อีกทั้งยัง

สารเร่ง พด. (ของกรมพัฒนาที่ดิน)

รูปภาพ
สารเร่ง พด. คืออะไร..? สำหรับคำถามนี้คิดว่ายังมีเกษตรกรหลายท่านที่ยังสงสัย “สารเร่งพด. ที่กรมพัฒนาที่ดินนำมาแจกกันเป็นประจำ..มันคืออะไรกันแน่? และมีประโยชน์อย่างไร?” และในบทความนี้ผมมีคำตอบให้ครับ “สารเร่ง พด.” ที่เราเห็นบรรจุในซองอย่างดีก็คือ กลุ่มจุลินทรีย์แห้งที่ถูกพัฒนาโดยกรมที่ดิน เพื่อใช้ในทางการ “เกษตร”    โดยเฉพาะการทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งก็มีตั้งแต่สารเร่ง พด.1-12 แต่หลักๆที่นิยมใช้กันก็จะมีเพียง สารเร่ง พด. 1-7 ซึ่งก็จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกันออกไป มีรายละเอียดดังนี้ครับ - สารเร่ง พด.1 จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วยเชื้อราแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลส และแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเศษพืชแห้งต่างๆที่เรานำมาทำปุ๋ยหมัก - สารเร่ง พด.2 จะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายเศษพืชสดต่างๆ หรือแม้กระทั่งปลาและหอยเชอร์รี่ เพื่อหมักทำปุ๋ยน้ำหรือที่เรียกว่า “น้ำหมักชีวภาพ” - สารเร่ง พด.3 จะมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูต่อเชื้อต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าและโคนเน่า ในไม้ผล ไม้ยืนต้น และพืชเศรษฐกิจทั่

การดูแลกองปุ๋ยหมัก

“ปุ๋ยหมัก” ที่เราทำไว้ ใช้ได้หรือยัง ความรู้พื้นฐานในการทำ “เกษตร” ในความคิดของผม อันดับแรกเลย ต้องทำปุ๋ยหมักให้เป็น ซึ่งก็เป็นเพียงวิธีง่ายๆ เพียงแค่เรานำเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เศษใบไม้ ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด หรือเปลือกถั่ว มากองเป็นชั้นๆรวมกัน โดยแต่ละชั้นให้ผสมมูลสัตว์เข้าไปด้วย และในแต่ละชั้นก่อนจะเริ่มทำชั้นใหม่ให้รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ผสมน้ำ หรือกากน้ำตาลผสมกับน้ำให้ได้ความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำมากองไว้ในที่ร่ม คลุมด้วยแสลนหรือเศษฟางข้าว เพื่อเก็บความชื้นไว้สักระยะหนึ่ง เป็นการเอื้อต่อการทำงานของจุลินทรีย์ต่างๆที่ทำการย่อยสลาย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ส่วนรายละเอียดการดูแลก็เพียงหมั่นตรวจดูกองปุ๋ยหมัก หากเห็นว่าเริ่มแห้งให้รดน้ำ และกลับกองปุ๋ยทุกๆ 7-10 วัน เพื่อระบายอากาศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่จุลินทรีย์ที่ทำการย่อยสลายกองปุ๋ยหมักให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังเป็นการระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ยหมักได้อีกด้วย ส่วนการพิจารณาปุ๋ยหมักที่พร้อมสมบูรณ์แล้ว จะพิจารณาจากสีเป็นอันดับแรก คือสีของปุ๋ยหมักต้องมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ และวัสดุที่นำมาทำต้

เทคนิคเกษตร

รูปภาพ
สูตรอาหารเสริมเร่งให้ไก่ออกไข่ สำหรับ “เทคนิคเกษตร”   วันนี้ ของดการเพาะปลูกไว้สักวัน เพราะวันนี้มีเทคนิคดีๆสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่หรือไก่บ้านทั่วไป เป็นเทคนิคการเพิ่มผลผลิตไข่ไก่ด้วยสูตรอาหารบำรุงให้ไก่ออกไข่ที่มีคุณภาพฟองโตเป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นของเราเอง เพราะสถานการณ์ การเลี้ยงไก่ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ต้องพึ่งอาหารสำเร็จรูปซึ่งมีราคาค่อนข้าแพงทำให้ต้นทุนสูง และสูตรอาหารเสริมสำหรับบำรุงสุขภาพไก่ เพื่อให้ไก่ออกไขดี ได้ไข่ฟองโตเป็นที่ต้องการของตลาดที่ผมนำมาฝากในวันนี้ ก็มีวิธีทำง่ายๆไม่ต้องหมักสามารถนำไปให้ไก่กินได้เลย แต่ก่อนอื่นให้เตรียมส่วนผสม ดังนี้ครับ ส่วนผสมสำหรับทำ "อาหารเสริมเร่งให้ไก่ออกไข่" มีดังนี้ - รำละเอียด ½ กิโลกรัม - กุ้งฝอยดิบ ½ กิโลกรัม - ต้นกล้วยหั่นหรือตำให้ละเอียด ½ กิโลกรัม วิธีทำ : ให้เรานำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นก็นำไปให้ไก่กิน 3 เวลา คือ ช่วงเช้า ช่วงบ่าย และช่วงเย็นตามปกติ จะทำให้ไก่ออกไข่ดี ได้ไข่ฟองโต ขายได้ราคาดี อีกทั้งยังทำให้ไก่ออกไข่ได้นานและมีสุขภาพแข็งแร

“ผักหวานป่า” พืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ

ผักปลูกผักหวานป่าสไตล์ “ศิวกร” ย้อนไปเมื่อสามปีที่แล้ว ผมเองเคยเป็นลูกจ้างอยู่บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์แห่งหนึ่งย่านสมุทรปราการ ซึ่งก็ได้ลาออกและหันเหชีวิตมาทำเกษตรอย่างจริงจัง และได้เริ่มต้นปลูกผักหวานป่าตั้งแต่ปี 2555 โดยการทดลองปลูกเพียงไม่กี่ต้นและก็รอดเพียงไม่กี่ต้นเหมือนกัน แต่พอย่างเข้าปีที่สองก็ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจนได้เทคนิคการปลูกการดูแลต้นผักหวานป่าที่เป็นเทคนิคเด็ด คือการปลูกผักหวานป่าไว้ใต้ต้นแคแดงผลปรากฏว่าผักหวานป่ารอดตายและโตไวมากใช้ระยะเวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น ต้นผักหวานป่าก็เจริญเติบโต มีใบเขียวขจีสูงเลยหัวเข่าไปแล้ว ซึ่งปีนี้ก็ย่างเข้าปีที่สามแล้ว ก็ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะปลูกผักหวานป่าให้พร้อมเก็บขายได้ภายในปี 2559 จำนวนมากกว่า 250 ต้น โดยใช้พื้นที่รอบบริเวณบ้านเท่านั้น จากนั้นมีโครงการจะทำสวนมะนาวต่อ ซึ่งวิธีการปลูกผักหวานป่าของผมก็ไม่มีขั้นตอนการดูแลยุ่งยากอะไร พอถึงหน้าแล้งก็รดน้ำบ้าง 3-4 วัน/ครั้ง แต่ผมจะใช้เศษฟางแห้งคลุมไว้ที่โคนต้นเพื่อเก็บความชื้นเอาไว้ แต่พอย่างเข้าหน้าฝนก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนหญ้าที่ขึ้นในสวนผักหวานก็จะใช้เครื่องตัดหญ

คนรักเกษตร

รูปภาพ
หลักเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน วันนี้ตื่นมาเปิดคอมพิวเตอร์เช้าหน่อย เพราะว่าเมื่อคืนฝนตกหนักมาก ก็เลยนอนแต่หัววัน เพิ่งนึกขึ้นได้ว่าเมื่อสองวันก่อนมีคุณครูที่โรงเรียน ที่ลูกสาววัย 11 ขวบของผมเรียนอยู่มาตรวจเยี่ยมบ้าน เพี่อพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของโรงเรียนบ้านเด่นไม้ซุง อ.บ้านตาก จ.ตาก คือจะมีคุณครูประจำชั้นออกสำรวจแวะมาเยี่ยมบ้านของนักเรียนแต่ละคน เป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ปกครองนักเรียน เพื่อหาแนวทางปรับปรุงคุณภาพของระบบการศึกษาในโรงเรียน อีกทั้งเป็นการสอบถามถึงอุปนิสัยของเด็ก เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงและแก้ปัญหาร่วมกัน โดยส่วนตัวผมแล้ว มองว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมากครับ ไม่ทราบว่าโรงเรียนอื่นๆจะมีกิจกรรมดีๆแบบนี้หรือเปล่า โดยคุณครูท่านนี้ลูกสาวของผมเรียกชื่อว่า “ครูทม” เป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งก็เป็นคุณครูปรจำชั้นของลูกสาวของผมนั่นเอง และนอกเหนือจากกิจกรรมการตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียนและพบปะผู้ปกครองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้ว ที่ผมติดใจก็คือ คุณครูท่านนี้ได้กล่าวถึงการทำสวนตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงที่โรงเ

เทคนิคเพิ่มผลผลิตข้าว

เทคนิคเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยปอเทือง นี่ก็เริ่มเข้าสู่หน้าฝนอย่างเต็มรูปแบบแล้ว สำหรับคนทำเกษตรอย่างผมก็ไม่มีอะไรมาก เมื่อสองวันก่อนก็เพิ่งไปไถแปลงนาหว่านปอเทืองในตะกร้ามา (แปลงนาสำหรับปลูกข้าว) กะว่าจะไถกลบช่วงปอเทืองออกดอกคือประมาณสิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกประมาณ 45 วัน เพราะตามเอกสารคู่มือการจัดกาอินทรียวัตถุในดินของกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า การไถกลบปุ๋ยพืชสดในระยะออกดอกทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน สามารถเพิ่มธาตุอาหารในดินแปลงปลูกพืชของเราได้ ซึ่งผมเองมีพื้นที่สำหรับปลูกข้าวเพียงสองไร่ และเพิ่งหันกลับมาทำเกษตรได้เพียงสองปีและปีนี้ (2557) ก็ย่างเข้าปีที่สามแล้ว ในปีแรกที่ผมปลูกข้าวก็ไม่ได้ใส่ใจอะไร คือไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดิน เรียกได้ว่าทำแบบเร่งด่วน ด้วยพื้นที่สองไร่ผมได้ข้าวเพียง 60 ปี้บ (แถวบ้านเรียกกันแบบนี้) คือประมาณ 20 กระสอบ ถือว่าเป็นจำนวนผลผลิตที่น้อยมากสำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่มากถึงสองไร่ พอมาถึงปีที่สองผมก็เริ่มปรับปรุงบำรุงดินในแปลงนาด้วยการหว่านถั่วเขียวเพียงไม่กี่ตะกร้า (ลดพื้นที่ปลูกข้าวลง) จากนั้นก็ทำการไถกลบช่วงระยะที่ถั่วเขียวออกดอกคือประมาณ 45 วั

เทคนิคปลูกผักหวานป่า

รูปภาพ
2 วิธีปลูกผักหวานป่าให้รอดตายและโตไว เรื่องราวที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเทคนิคและวิธีการ “การปลูกผักหวานป่า” จากประสปการณ์จริงที่ผมได้ศึกษาหาความรู้และทดลองทำ จนเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเกือบๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ใช้เวลากว่าสองปีในการลองผิดลองถูก และในปัจจุบันนี้ผมมี “ผักหวานป่า” ที่คาดว่าพร้อมเก็บขายได้ภายในเดือนเมษายนปีหน้า (ปี 2558) ประมาณ 100 ต้น โดยใช้พื้นที่รอบบริเวณบ้านเท่านั้น และตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะปลูกผักหวานป่าให้พร้อมเก็บขายได้ 300 ต้น ภายในสามปีนับจากปีนี้ เพราะผักหวานป่าที่ผมปลูกเพียงแค่อายุ 9 เดือน ก็แตกกิ่งก้านและสูงเลยหัวเข่าแล้ว โดยที่ไม่ต้องรดน้ำและให้ปุ๋ยแต่อย่างใด คือปลูกตามธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ เหตุจูงใจที่ทำให้หันมาปลูกผักหวานป่า เป็นที่แน่นอนครับ เพราะทุกคนก่อนที่จะทำอะไรลงไปต้องมีแรงบันดาลใจหรือเหตุจูงใจเสียก่อน เหมือนอย่างผมที่หันมาปลูกผักหวานป่าอย่างจริงจัง ก็ด้วยแรงบันดาลใจในเรื่องของ “ราคาผักหวานป่า” นี่แหละ ที่มีราคาแพงจนแทบไม่อยากจะซื้อกินเลยทีเดียว แถมยังมีสารอาหารต่างๆมากมาย มีรสชาติอร่อยในแบบธรรมชาติ โดยส่วนตัวผมแล้วมองว่า “

เทคนิคป้องกันกำจัดศัตรูข้าว

รูปภาพ
สูตรไล่หอยและเพลี้ยไฟ ป้องกันใบข้าวไหม้        อีกหนึ่งปัญหาสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่สร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตข้าวอย่างมากคือ “โรคใบข้าวไหม้” ซึ่งเกิดจากเพลี้ยไฟ หรือปัญหาหอยเชอร์รี่กัดกินต้นข้าวขณะที่ต้นข้าวเล็ก ลองหยุดการแก้ปัญหาโดยใช้สารเคมี แล้วหันมาทดลองสูตรกำจัดเพลี้ยไฟและกำจัดหอยเชอร์รี่แบบชีวภาพที่ผมนำมาฝากในวันนี้ดูครับ เตรียมวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ดังนี้ - ยอดยูคาลิปตัส สับละเอียด 3 กิโลกรัม - ยอดสะเดา สับหรือหั่น  3 กิโลกรัม - บอระเพ็ด หั่นหรือสับ  1 กิโลกรัม    - ข่าแก่ ทุบหรือตำให้ละเอียด  1 กิโลกรัม                     - จุลินทรีย์  1  แก้ว - กากน้ำตาล 1  ลิตร - น้ำเปล่า 3 ลิตร - ถังพลาสติกมีฝาปิดสำหรับหมัก 1 ใบ วิธีทำ : ให้ละลายกากน้ำตาลกับน้ำลงในถัง คนให้เข้ากันประมาณ 5-10 นาที จากนั้นนำส่วนผสมที่เตรียมไว้ทั้งหมดเทลงไปในถังหมัก คนให้เข้ากัน ปิดฝานำไปตั้งหมักไว้ในที่ร่มประมาณ 7-10 วัน จะสังเกตเห็นว่ามีราขาวเกิดขึ้นบริเวณผิวของน้ำหมัก ซึ่งแสดงว่ามีกระบวนการทำงานของจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์เกิดขึ้นแล้ว เป็นอันใช้ได้ครับ