บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2019

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

รูปภาพ
     สวัสดีครับมิตรสหายที่รักเกษตรทุกท่าน สำหรับเรื่องราวดีๆในวันนี้ผมจะมาบอกเล่าประสบการณ์ในการเลือกปลูกฟักทองให้เหมาะสมตามฤดูกาล หรือตามช่วงเวลาที่ตลาดต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าราคาผลผลิตก็ย่อมสูงตามไปด้วย เป็นการทำเกษตรที่คุ้มค่ากับการลงทุนเพียงน้อยนิด แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฟักทองจัดเป็นไม้เถาที่อายุสั้นคือจะให้ผลผลิตภายในระยะเวลาประมาณ 80 วัน ช่วงเวลาที่ฟักทองขาดตลาดและมีราคาแพงจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม เพราะจะอยู่ในช่วงหน้าแล้งหลายพื้นที่ต่างติดปัญหาเรื่องน้ำในการทำเกษตร หากเราพิจารณาดีๆในช่วงหน้าแล้งคงไม่ใช่แค่ฟักทองเท่านั้นที่ขาดตลาดและมีราคาแพงใช่ไหมครับ เพราะพืชผักอย่างอื่นก็ขาดแคลนและมีราคาสูงตามไปด้วยเหมือนกัน      เพราะฉะนั้นแล้วหากเกษตรกรนับถอยหลังไปอีกสามเดือนคือถ้าปลูกพืชผักต่างๆหรือปลูกฟักทองในช่วงปลายเดือนตุลามคม (ปลายฝนต้นหนาว) ถึงช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ก็จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แถมยังได้ราคาดีกว่าการปลูกในช่วงหน้าฝนอีกด้วย เพราะหากพิจารณาตามหลักความเป็นจริงแล้ว เมื่อถึงหน้าฝนน้ำฟ้าประทานใครๆก็สรรหาพืชผักต่างมาปลูกติดสวนไว้เพ

การเพาะเห็ดระโงกกับไม้อาศัยเช่นไม้พยุงไม้ยางนา

รูปภาพ
    สวัสดีครับมิตรสหายที่รักเกษตรทุกท่าน บทความดีๆในวันนี้ผมจะนำพาทุกท่านมาเพาะเห็ดป่าไว้รับประทานในสวนของเรา แต่ก่อนอื่นในสวนของเราต้องมีไม้อาศัยที่ปลูกไว้ก่อนแล้ว อาทิเช่น ไม้พยุง ไม้ยางนา ไม้เหียง หรือไม้เศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เหตุผลก็เพราะว่าเห็ดราพวกนี้จัดเป็นไมคอไรซ่า คือต้องอาศัยอยู่กับรากพืชอาศัย แบบเกื้อกูลซึ่งกันและกันกล่าวคือ รากของพืชอาศัยที่เราใส่เชื้อเห็ดเข้าไปก็จะได้รับน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็น เช่น ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจากเชื้อราไมคอไรซ่า ในขณะเดียวกันเชื้อราไมคอไรซ่าก็จะได้รับสารอาหารที่จำเป็น อาทิเช่น กรดอะมิโน น้ำตาล และวิตามินจากพืชอาศัยผ่านทางระบบรากนั่นเองครับ.  การเพาะเห็ดระโงกกับไม้อาศัยเช่นไม้พยุงไม้ยางนามีวิธีง่ายๆ  ดังนี้ 1.นำดอกเห็ดระโงกแก่มาขยำกับน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1- 2 ชั่วโมง เพื่อให้สปอร์เห็ดละลายตัวเข้ากันได้ดี ดอกเห็ดระโงกขาวแก่ 2. ขุดรอบโคลนต้นไม้อาศัย เช่น ไม้พยุง ไม้ยางนา ให้เห็นรากฝอย ขุดรอบไม้อาศัยให้เห็นรากฝอย 3. เทราดด้วยน้ำสปอร์เห็ดประมาณ 1 - 2 แก้ว เทราดสปอร์เห็ดรอบโคนต้น 4.จากนั้นกลบด้วยดินคลุมด้วยเศษหญ้าแห้งหรือใบไม้แ

สร้างรังปลวกจำลองเพาะเห็ดโคนป่า (เห็ดปลวก)

รูปภาพ
สำหรับเรื่องราวดีๆในวันนี้ ผมจะพาทุกท่านมาสร้างรังปลวกจำลองเพื่อเพาะเห็ดโคนป่าหรือเห็ดปลวกไว้รับประทานในครัวเรือนแบบยั่งยืนและยาวนาน ซึ่งเป็นวิธีการง่ายด้วยการสร้างรังปลวกจำลองเพื่อล่อปลวกให้มาอาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน จากนั้นก็นำสปอร์เห็ดโคนมารดบริเวณดังกล่าว เพื่อให้ปลวกได้นำไปสะสมและผลิตดอกเห็ดในพื้นที่ของเราต่อไป อันดับแรกเราต้องหาเลือกพื้นที่เหมาะสมก่อน อาจเป็นใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ตายครึ่งซีก ข้างขอนไม้นอนดิน หรือขอนไม้ที่ฝังดิน อาจเป็นพื้นที่ข้างตลิ่ง ข้างร่องน้ำ เพราะเท่าที่ผมสังเกตการเกิดของเห็ดโคนหรือเห็ดปลวก มักจะเกิดในสภาพพื้นที่แบบนี้นั่นเอง มาดูวิธีการทำกันเลยครับ เห็ดโคนป่า (เห็ดปลวก) ขั้นตอนการสร้างรังปลวกจำลองอย่างง่ายๆ มีดังนี้ 1. ขุดหลุมลึกประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร 2. รองพื้นด้วยปุ๋ยหมัก หรือมูลสัตว์เก่าประมาณ 2 กิโลกรัม จากนั้นก็หว่านทับด้วยขี้เลื่อยเก่าประมาณ 2 กิโลกรัม 3. หาเศษไม้แห้ง + กับใบไม้แห้งใส่ลงไปให้เต็มหลุม 5. รดด้วยน้ำสปอร์เห็ดปลวกหรือเห็ดโคน (นำดอกเห็ดโคนแก่จำนวน 2-3 ดอก มาขยำกับน้ำประมาณ 20 ลิตร) 6. กลบด้

วิธีเพาะเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกอย่างง่ายๆ แบบชาวบ้านทำเอง

รูปภาพ
    บทความนี้ผมจะพาทุกท่านมาเพาะเห็ดปลวกหรือเห็ดโคนตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้บอกเล่าและทำตามกันมาหลายรุ่น ซึ่งข้อมูลนี้ผมก็ได้เก็บบันทึกและได้ทดลองทำตามดูผลปรากฏว่า 80 เปอร์เซ็นต์ (ไม่ได้บอกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์) ของการเพาะเห็ดโคนด้วยวิธีนี้ พบว่าในสวนมีเห็ดโคนออกมาให้ได้เก็บกินหรือเก็บขายก็ร่วม 3 ปีแล้ว จึงได้นำมาบอกเล่าสู่กันฟังสำหรับคนที่สนใจ วิธีการก็ไม่ยากเลยครับ เพียงเรานำดอกเห็ดแก่ที่มีสปอร์ (สปอร์ส่วนใหญ่จะมีมากที่บริเวณใต้หมวกดอกของดอกเห็ดแก่) มาขยำกับน้ำ อาจใช้เครื่องปั่นให้ละเอียดก็ได้ จากนั้นก็นำไปราดลงบริเวณใต้ร่มไม้ที่เป็นทางเดินของปลวก แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เชื้อราชนิดนี้จะอยู่ร่วมกับปลวกบางสายพันธุ์เท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ได้อธิบายในบทความการเกิดของเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกก่อนหน้านี้ไปแล้ว เห็ดปลวก/เห็ดโคนป่า     เมื่อเราราดสปอร์เห็ดลงไปตามบริเวณพื้นที่เหมาะสมใต้ร่มไม้ หรือข้างจอมปลวก ประจวบเหมาะกับปลวกสายพันธุ์ที่ว่านี้นำพาสปอร์เห็ดเข้าไปในรังปลวกที่อยู่ใต้ดินเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อนและเป็นเสบียงเลี้ยงปลวกทั้งรังที่อยู่ใต้ดิน เมื่อประชากรปลวกลดลง เน

ดอกชมจันทร์ ไม้ประดับมากสรรพคุณที่ควรมีติดสวนไว้

รูปภาพ
สวัสดีครับมิตรสหายที่รักเกษตรทุกท่าน บทความนี้จะพาทุกท่านที่รักสุขภาพมาทำความรู้จักกับไม้ดอก ไม้ประดับ และผักสุขภาพที่รวมอยู่ในต้นเดียว นั่นก็คือ ต้นชมจันทร์ ดอกพระจันทร์ หรือบางทีก็เรียกดอกไม้จีน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับไม้ประดับกินได้ ไม่ทำลายสุขภาพชนิดนี้กันก่อนนะครับ ดอกชมจันทร์     "ชมจันทร์" เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน โดยเฉพาะในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เป็นไม้เถาเลื้อยที่สวยงาม ลักษณะดอกจะเป็นสีขาว ใบเป็นรูปหัวใจ ออกดอกตามก้านใบ และจะบานในยามพบค่ำเท่านั้น พอรุ่งเช้าก็จะเหี่ยวเฉา จึงได้ชื่อว่าดอกชมจันทร์ หรือ ดอกพระจันทร์     ดอกชมจันทร์มีกลิ่นหอมนิดๆ สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนูทั้งดอกตูมและดอกบาน แถมยังมีผลให้เราได้นำเมล็ดมาขยายพันธุ์เองอีกด้วย ใน 1 ผลจะมีเมล็ดประมาณ 4-8 เมล็ด อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของผลด้วย แต่ที่แน่ๆปลูกเพียงครั้งเดียวสามรถเก็บเก็บกินได้ยาวนานเลยทีเดียวครับ การปลูกชมจันทร์ 1.นำดินร่วนปนทรายหรือดินผสมแกลบดำอัตราส่วน 1 ต่อ 1 มาใส่ถุงเพาะชำขนาด 3 x 7 นิ้ว ไม่ต้องใส่ดินให้เต็ม เหลือพื้นที่ไว้โรยดินกลบเมล็ดด้ว

การเกิดเห็ฯปลวกหรือเห็ดโคนป่า พร้อมแนะวิธีเก็บอย่างถูกต้อง

รูปภาพ
พอดีไปเจอเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกที่เกิดขึ้นเองในสวนนำมาเล่าสู่กันฟังครับ เห็ดโคน (เห็ดปลวก)     แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกกันก่อนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร? และเกิดจากอะไร? ซึ่งในเขตจังหวัดที่ผมอยู่(จ.ตาก) ส่วนใหญ่เห็ดโคนป่าจะโผล่ออกมาให้เห็นในช่วงปลายเดือนกันยายน เห็ดที่เห็นในคลิปนี้เกิดที่สวนผมเองได้เก็บเมื่อวานคือวันที่ 1 ตุลาคมเวลาประมาณ 9.00 น. ใต้ต้นไม้สักใหญ่ต้นนี้นะครับ ทีนี้เรามาเข้าเรื่องกันเลยเพราะหลายคนคงอยากรู้แล้วว่าเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกเกิดขึ้นได้อย่างไร จากเอกสารที่ผมได้ค้นคว้ามาหลายที่หลายตำราหลายเล่ม ก็พอสรุปได้คร่าวๆคือ บริเวณที่มีเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกเกิดขึ้น ใต้ผืนดินตรงนั้นก็จะมีปลวกอาศัยอยู่ เมื่อขุดลึกลงไปก็จะเห็นจาวปลวกหรือรังปลวกอยู่ และเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปลวกชนิดที่เพาะเลี้ยงเห็ดโคนเท่านั้น ไม่ใช่ปลวกที่กัดกินเศษไม้ตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งเห็ดโคนกับปลวกจะอยู่ด้วยกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ปลวกจะอาศัยเห็ดโคนในการย่อย cellulose และ lignin จากเศษไม้ในรังปลวกให้เป็นโมเลกุลของน้ำตาล ส่วนเห็ดโคนที่อาศัยในรังปลวกจ