บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2021

วิธีปลูกกล้วยให้งามไว แถมยังห่างไกลโรคกล้วยตายพรายอีกต่างหาก

รูปภาพ
สวัสดึทุกท่านที่ชื่นชอบในการทำเกษตร โดยเฉพาะเรื่องของกล้วย บทความนี้ผมจะมาแชร์เคล็ดลับปลูกกล้วยให้งามไว แถมห่างไกลจากโรคตายพรายอีกต่างหาก  มีขั้นตอนการปลูกอย่างง่ายๆ ดังนี้ครับ 1. ขุดหลุมขนาด 30  x 30 x 30 2. รองพื้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 1 กก./หลุม + ขี้เถ้าจากเตาถ่าน 1 กำมือ 3. คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำต้นกล้วยที่เตรียมไว้ลงปลูกได้เลย 4. คลุมโคนเพื่อเก็บความชื้นและรดน้ำตามปกติ เพียงเท่านี้กล้วยที่เราปลูกก็จะงามไว โตไว แถมยังห่างไกลโรคกล้วยตายพรายอีกต่างหาก ลองทำดูนะครับ.

กิ่งตอน VS กิ่งเสียบยอด จะเลือกปลูกแบบไหนดี?

รูปภาพ
     สวัสดีครับ มิตรสหายที่รักเกษตรทุกท่านบทความเกษตรดีๆในวันนี้จะมาพูดถึง การเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ไม้มาปลูก กิ่งพันธุ์ไม้โดยทั่วไปหลักๆแล้วจะมี 2 ลักษณะคือ กิ่งตอน และกิ่งเสียบยอด มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันดังนี้ครับ  กิ่งตอนหรือกิ่งชำ หมายถึง กิ่งที่ตอนหรือตัดชำจากต้นแม่เดิม ข้อดี  1.ไม่ผิดเพี้ยนสายพันธุ์แน่นอน 2.ให้ผลผลิตไวกว่ากิ่งที่เสียบยอด คือไม่เกิน 2 ปี หรือถ้าสมบูรณ์ดีปีเดียวก็ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต  ข้อเสีย คือ ไม่มีรากแก้ว หากมีลมพัดแรงหรือน้ำท่วมขังอาจทำให้โคนล้มได้ง่าย กิ่งที่เสียบยอดหรือต้นที่เสียบยอด หมายถึง กิ่งจากต้นแม่พันธุ์ดีนำมาเสียบยอดกับต้นตอพันธุ์พื้นเมืองที่เพาะจากเมล็ด (ในตระกูลเดียวกัน)  ข้อดี 1.ไม่ผิดเพี้ยนสายพันธุ์เช่นกัน 2.มีรากแก้วทำให้ลำต้นแข็งแรงต้านลมพายุได้ดี ข้อเสีย คือ ให้ผลผลิตช้ากว่ากิ่งตอนหรือกิ่งชำ      เพราะฉะนั้นแล้วในการเลือกซื้อต้นพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ไม้มาปลูก ควรพิจารณาให้ดี ชอบแบบไหนก็ตามสะดวกเลยนะครับ.

ธาตุอาหารพืข ฉบับเข้าใจง่าย

รูปภาพ
     ธาตุอาหารพืชมีอยู่ 4 กลุ่มคือ 1.ธาตุอาหารหลัก 2.ธาตุอาหารรอง 3.จุลธาตุ 4.กลุ่มธาตุอาหารที่ได้จากอากาศ และธาตุอาหารที่พืชต้องการมากที่สุดมีอยู่ 9 ธาตุคือธาตุที่ได้จากดินมี 6 ธาตุ เช่น ธาตุอาหารหลัก 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) ธาตุอาหารรองอีก 3 ธาตุคือ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) ส่วนอีก 3 ธาตุคือ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) ไฮโดรเจน (H) เป็นธาตุที่พืชได้รับจากอากาศ  โดยเฉพาะธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง 6 ธาตุ จะพบในเซลล์พืชมากถึง 500 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ส่วนจุลธาตุเช่น เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) โมลิบดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) นิกเกิล (Ni) และโบรอน (B) ล้วนเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อยคือประมาณ 0.001 กรัม/น้ำหนักแห้ง 1 กิโลกรัม  ไนโตรเจน (N) เป็นธาตุที่มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช มีส่วนในการสร้างกรดอะมิโน กรดนิวคลีอิก โปรตีน และฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ และยังมีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชอีกด้วย หากพืชขาดไนโตรเจน ใบพืชจะมีสีเหลืองเริ่มจากใบแก่ก่อน ใบมีขนาดเล็ก ลำต้นแคระแกร็น และมีผลผลิตต่ำ  ฟอสฟอ