บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2020

ให้ปุ๋ยทางใบเวลาไหน? ดีที่สุด

รูปภาพ
       การให้ปุ๋ยทางใบแก่พืชผักถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตนอกเหนือจากการให้น้ำและให้ปุ๋ยทางดิน แต่สิ่งทีสำคัญที่ควรรู้ก่อนให้ปุ๋ยทางใบหลักๆมี 2 อย่างคือ 1 .ปากใบพืชเปิด-ปิดเวลาไหน?      โดยทั่วไปแล้วปากใบพืชจะเปิดเมื่อ อุณหภูมิสูง และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลง ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศก็คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศกับมวลของไอน้ำอิ่มตัวในขณะนั้น และปากใบจะปิด มีเมื่ออุณหภูมิสูงมากๆหรือช่วงแดดจัด เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหรือลดการคายน้ำนั่นเอง และอีกปัจจัยที่ทำให้ปากใบปิดก็คือความชื้นในดินลดลง หรือพืชเริ่มขาดน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นที่เราปลูกไว้ก็จะเซฟตัวเอง คือจะปากใบจะเริ่มหรี่และปิดลงเพื่อลดการคายน้ำนั่นเอง 2. ปากใบพืชอยู่ตรงไหน?      ปากใบของพืชส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ผิวใบเพราะจะทำให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีในช่วงที่มีแสงแดดมาก ปากใบจึงต้องอยู่ด้านล่างของใบเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกทางปากใบนั่นเองครับ      เพราะฉะนั้นแล้วการให้ปุ๋ยทางใบไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยน้ำหรือฮอร์โมนต่างๆ ควรให้ในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆใน

เหตุผลที่ปลูกกล้วยไปสักระยะ ผลผลิตลดน้อยลงทุกปี

รูปภาพ
      กล้วยถือว่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายโตไว ชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบพื้นที่น้ำท่วมขัง แทบทุกสวน แทบทุกบ้านมักจะมีต้นกล้วยปลูกติดไว้ เพราะกล้วยถือว่าเป็นพืชทางเลือกอันดับต้นๆของคนทำเกษตร แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่ากล้วยที่เราปลูกไปนานๆ ผลผลิตจากหน่อกล้วยรุ่นต่อๆมาทำไมลดน้อยลง หวีเล็กลง และทำไมเครือสั้นลง ไม่เหมือนผลผลิตจากต้นที่เราปลูกใหม่ๆ เมื่อก่อนผมเคยปลูกกล้วยน้ำว้าเครือเดียวได้มากกว่า 20 หวี จากต้นกล้วยที่ปลูกปีแรกๆ พอผ่านไปหลายรุ่นผลผลิตจากหน่อที่ออกจากกอเดิมกลับน้อยลง ทั้งๆที่แต่งใบตัดหน่อและดูแลเป็นอย่างดี อันนี้ขอบอกเลยว่าเป็นกันแทบทุกสวนที่ปลูกไว้กินในครัวเรือน หรือเน้นจำหน่ายนิดๆหน่อยๆ แต่สวนใหญ่ๆที่เขาปลูกในเชิงการค้าจะไม่พบปัญหานี้เพราะอะไร? เดี๋ยวผมจะเฉลยให้ฟังตอนท้ายบทความนี้นะครับ      เหตุผลที่ทำให้การปลูกกล้วยได้ผลผลิตน้อยหลักๆก็มีอยู่ 3 อย่างคือ 1. พื้นที่ไม่สมบูรณ์ 2. ธาตุอาหารไม่เพียงพอ 3. สุดท้ายเรายังเก็บผลผลิตจากกอเดิม แน่นอนว่าเมื่อเราปลูกกล้วยใหม่ๆหรือปลูกปีแรกๆผลผลิตย่อมได้มากเครือหนึ่งๆอาจมากกว่า 10 หวี แต่พอผลผลิตจากหน่อกล้วยรุ่นที่สองสามหรือสี่ก็มักจะลดน้อยลงตามลำดั

ตามดูผักหวานป่าที่ปลูกใต้ต้นพะยูงเมื่อสองเดือนก่อน แทงยอดให้เห็นแล้ว รอด...

รูปภาพ
     การปลูกผักหวานป่าเสริมไว้ใต้ต้นพะยูง หรือปลูกเสริมไว้ใต้โคนต้นไม้เศรษฐกิจที่เราปลูกทั่วไป ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนรักป่าโดยเฉพาะคนที่เน้นทำสวนป่าเศรษฐกิจอาจปลูกไม้พะยูง ไม้สัก ยางนา ประดู่ มะค่าโมง ซึ่งเป็นไม้ที่มีอายุยาวนานกว่าจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตที่คิดเป็นมูลค่าราคาตามลักษณะของเนื้อไม้อาจต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน      การปลูกพืชที่ให้ผลผลิตในระยะอันสั้นเสริมเข้าไปโดยเฉพาะผักหวานป่า นอกจากเราจะได้ประโยชน์ก่อนแล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สวนป่าผสมผสานของเราด้วย คือเมื่อสองเดือนก่อนผมได้นำเมล็ดผักหวานป่ามาปลูกไว้ใต้ต้นพะยูงต้นนี้ ด้วยการปลูกเลียนแบบธรรมชาติ ไม่ได้เพาะใส่ถุงดำ เพียงแค่เอาเมล็ดผักหวานที่สุกสดจากป่ามาล้างเยื่อหุ้มเมล็ดออกแล้วเอาไปปักลงที่โคนต้นพะยูง ผ่านไปราวๆสองเดือนผักหวานป่าก็เริ่มแทงยอดออกมาให้เห็นแล้วก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจมาก ซึ่งในฤดูกาลหน้าผมก็จะนำเมล็ดผักหวานป่ามาเติมเต็มในสวนโดยเฉพาะไม้ยืนต้นที่ปลูกไว้ เพราะมีอีกหลายจุดที่ยังไม่ครบสมบูรณ์ คงจะได้อัพเดตให้ชมกันต่อไปครับ.

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้

รูปภาพ
บทความนี้จะมาแนะนำอุปกรณ์พีอีสำหรับการวางระบบน้ำในสวนของเราไม่ว่าจะเป็นสวนไม้ผลไม้ยืนต้นต่างๆ ที่คนทำเกษตรมือใหม่ต้องรู้ไว้ ท่อ pe  ที่ต่อแยกจากเมน pvc 1.ท่อ pe        ท่อพีอีเป็นท่อที่มีความยืดหยุ่นสูงมีความคงทนไม่แตกหักเมื่อโดนเหยียบด้วยคนหรือรถยนต์ แม้กระทั่งรถไถท่อพีอีก็ยังคงยืดหยุ่นตามสภาพ ท่อพีอีขนาดเล็กตั้งแต่ 16 – 25 mm. จะใช้เป็นสายเมนรองจากท่อเมนหลักในการวางระบบน้ำในสวน โดยจะวางไปตามจุดต่างๆที่เราปลูกต้นไม้ ท่อพีอีมีหลายขนาดหลักๆที่นิยมใช้เพื่อเป็นเมนย่อยในการวางระบบน้ำในสวนก็จะมีขนาด 16 mm. 20 mm.  และ 25 mm. จะขายเป็นม้วนราคาอยู่ประมาณม้วนละ 500 – 700 บาท ตามขนาดและตามเกรดของวัสดุ มินิสเปรย์ปีกผีเสื้อ 2. มินิสปริงเกอร์ปีกผีเสื้อและหัวน้ำหยด มินิสปริงเกอร์ปีกผีเสื้อหรือมินิสเปรย์ปีกผีเสื้อและหัวน้ำหยดจะใช้ร่วมกับท่อพีอี แต่ส่วนใหญ่ชาวสวนนิยมใช้มินิสปริงเกอร์ปีกผีเสื้อมากกว่า เพราะรัศมีการกระจายตัวเป็นวงกว้างของน้ำจะดีกว่า ทำให้น้ำกระจายสู่รากฝอยของพืชได้ดีกว่าและการละลายปุ๋ยที่เราใส่รอบโคนต้นก็ดีกว่า (1 ถุงมี100 ตัว) ราคาซื้อรวมประมาณ 50 บาท ปลั๊กอุ

ไม้แคทราย เก่าแก่อายุมากกว่า 50 ปี

รูปภาพ
ต้นแคทรายอายุประมาณ 50 ปี       เมื่อ 7 ปีที่แล้วที่ๆผมได้ผันตัวเองมาทำเกษตรบนที่ดินแปลงนี้ ซึ่งเมื่อก่อนเป็นป่าไผ่ที่มีหนามและมีต้นไม้หนามเยอะแยะมากมาย ที่ดินบริเวณนี้ไม่ได้ทำประโยชน์มานาน ผมจึงตัดสินใจจ้างรถแม็คโครมารื้อออกเพื่อวางแผนทำสวนไผ่ แต่ท่ามกลางความรกชัดของกอไผ่ที่แน่นทึบในตอนนั้นผมได้เห็นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่ขึ้นตรงสวยตั้งตระหง่านท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่รกชัฎ ในใจก็ทึ่งเพราะมันเป็นสิ่งที่หาดูยากมากเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่สูงกว่า 50 เมตร ที่ขึ้นตรงแทบไม่มีกิ่งแขนงให้เห็นเลย  ไม้แคทราย      เป็นไม้ที่เกิดเองในสวนสมัยก่อนเก่า คิดตั้งแต่แรกๆที่มาบุกเบิกแล้วว่าต้องรักษาไว้ และจะรักษาไว้ต่อไป สอบถามชาวบ้านแถวนั้นที่มีที่ดินอยู่ใกล้เคียงกันเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับไม้ต้นนี้ โดยเฉพาะบรรดาเซียนไม้ทั้งหลายที่มีอายุพอๆกับไม้ต้นนี้เขาบอกว่ามันคือไม้ “แคทราย” ผมจึงไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งก็ได้รายละเอียดที่ตรงกันคือไม้แคทรายเป็นไม้เนื้อแข็งมากๆไม่มีใครกล้าเลื่อยมันจึงอยู่รอดมาจนกระทั่งวันนี้ ไม่้แคทรายวัดรอบได้ 84.5 เซนติเมตร      ไม้แคทรายต้นนี้วัดรอบได้ 84.5 นิ้ว ก็รา

แนะวิธีทำปุ๋ยหมักเห็ดฟาง สร้างอาชีพที่ยั่งยืน

รูปภาพ
    สวัสดีครับ..มิตรสหายที่รักเกษตรทุกท่าน สาระเกษตรดีๆสู่วิถีพอเพียงในวันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการทำปุ๋ยหมักสำหรับเพาะเห็ดฟางแบบยั่งยืนและยาวนาน เรียกได้ว่าทำเพียงครั้งเดียวได้ประโยชน์สองเด้งกันเลยทีเดียว แต่ก่อนอื่นให้เราเตรียมวัสดุดังนี้ครับ 1. ฟางข้าว 2. รำหยาบ หรือรำละเอียด 3. มูลสัตว์เก่า (ขี้วัว)     ส่วนเรื่องวิธีการทำนั้นก็ไม่ยากเพียงเราเตรียมคอกปุ๋ยหมักกว้างประมาณ 2.5 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3 เมตร ปักด้วยไม้ไผ่รอบด้านห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร แต่สำหรับผมจะติดสปริงเกอร์ไว้ 2 จุดระหว่างกลาง (จะติดหรือไม่ก็ได้นะครับ) คอกปุ๋ยหมักกว้าง 2.5 x 3 x 50 เซนติเมตร     พอเตรียมคอกปุ๋ยหมักได้ประมาณนี้ ให้นำฟางปูพื้นสูงราวๆ 15 เซนติเมตร เหยียบหรือกดให้แน่น รดน้ำให้เปียกชุ่ม จากนั้นให้นำรำหยาบหรือรำละเอียดอัตรา 1 กระสอบ ผสมกับขี้วัว 1 กระสอบ ผสมในกระบะคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปโรยบางๆทั่วแปลง เสร็จแล้วให้คลุมด้วยฟางข้าวสูงราวๆ 15 เซนติเมตรรดน้ำให้เปียกก็จะได้ปุ๋ยหมักเห็ดฟาง 1 ชั้น ขี้วัว 1 กระสอบ + รำละเอียด 1 กระสอบ     เมื่อเสร็จจากชั้นที่ 1 ให้เราทำแบบนี้