บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2014

ผักหวานป่า

รูปภาพ
วิธีปลูกผักหวานป่าให้รอดตายและโตไว จากประสปการณ์การทดลอง การลองผิดลองถูกมาสองฤดูกาลของการปลูก “ผักหวานป่า” โดยใช้เวลาเกือบๆสามปี ผมได้ศึกษาหาความรู้ทั้งจากตำราของนักวิชาการ ทั้งทางอินเตอร์เน็ต แล้วนำมาผสมผสานทดลองปลูกผักหวานป่าด้วยตัวเอง ปีแรกผมได้ปลูกผักหวานป่าจำนวน 150 ต้นไว้รอบบ้าน เหลือรอดให้เห็นอยู่เพียงห้าต้น แถมมีโตให้เห็นอยู่เพียงสองต้นเท่านั้น จึงได้วิเคราะห์หาสาเหตุว่า..ทำไม?..เพราะอะไร? ผักหานป่าที่เรานำมาปลูกไว้ที่บ้าน ถึงไม่เจริญเติบโตเหมือนอยู่ในป่า และก็ได้ข้อสรุปคร่าวๆว่า โดยธรรมชาติทั่วไปของผักหวานป่านั้นเป็นพืชที่ไม่ต้องการแสงแดดมากนัก คือต้องการแสงแดดเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และเป็นพืชที่มีรากฝอยที่อ่อนแอมาก หากโดนกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิดก็จะตายหรือจะชะงักการเจริญเติบโตในทันที และที่สำคัญสถานที่ปลูกต้องไม่มีน้ำขัง เพราะจำทำให้รากเน่าตายก่อนที่จะเจริญเติบโตให้เราได้เก็บกินหรือขาย ตอนผมเริ่มปลูกผักหวานป่าปีแรก ผมได้ทดลองปลูกจำนวน 150 ต้น โดยการทำสะแลนบังแสงแดดให้จำนวน 50 ต้น ปลูกใต้ต้นพริกอีก 50 ต้น ที่เหลือก็ปลูกไว้ใต้ต้นมะเขือ ใต้ต้นมะละกอ ใต้ต้นกล้วย และมี

ตำราเกษตร

รูปภาพ
ยิปซัม ( Gypsum) คืออะไร? แร่ยิมซัม แร่ยิปซัม “ยิปซัม” ( Gypsum) (CaSO 4 · 2 H 2 O) CaSO 4. H 2 O) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ ( satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ ( alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ ( selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “ อีแวพอไรต์ ( evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย ( solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต ( carbonates) ซัลเฟต ( sulphates) และเฮไลด์ ( halides) ส่วนการกำเนิดแร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “ อะลาบาสเตอร์ ( ala

ประโยชน์ของ “ภูไมท์ หรือภูไมท์ซัลเฟต”

รูปภาพ
ภูไมท์คืออะไร? มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร? ภูไมท์ซัลเฟต “ภูไมท์” หรือกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ จะมีพื้นที่ผิวสัมผัสที่มีความพรุน โปร่ง คล้ายกับโครงสร้างของฟองน้ำ ทำให้มีความสามารถในการกรอง ดักและจับตรึงแร่ธาตุ ก๊าซต่างๆ ได้ค่อนข้างดี  ดังนั้นเมื่อนำไปใส่ให้แก่ต้นไม้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ หรือตามความพอดีกับความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชสามารถที่จะสร้างภูมิต้านทาน มีความแข็งแกร่ง  กระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยจับตรึงสารอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชมิให้สูญเสียได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นดินทราย เพราะแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ จะถูกชะล้างเสียหายไปได้ง่าย การนำภูไมท์หรือหินแร่ภูเขาไฟเข้าไปใช้ในการเกษตรจึงมักจะเป็นที่นิยมของพี่น้องเกษตรกรโดยโดยทั่วกัน เพราะมีประโยชน์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้เกิดเม็ดดินที่มั่นคงขึ้น ดินไม่เกาะตัวกันอย่างเหนียวแน่นเหมือนแต่ก่อน ไม่สร้างปัญหาทำให้ดินมีค่า PH (ค่าความเป็นกรด-ด่าง) เปลี่ยนแปลงเหมือนกับที่ใส่กลุ่มวัสดุปูนทั้งหลาย และเมื่อสะสมอยู่ในดินก็จะทำให้ช่วยจับแร่ธาตุต่าง ๆ  แต่หากเราใช้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืช แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็เ

วันพืชมงคล

รูปภาพ
ประวัติความเป็นมาของ “วันพืชมงคล” ในการทำการเกษตรของเราชาวไทยตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว มักอิงเอาวันพืชมงคลเป็นบรรทัดฐานในการคำนวณฝนฟ้าตลอดถึงความน่าจะได้ ความน่าจะเป็นของผลผลิต เพื่อจะให้ได้รู้ทิศทางในการการทำเกษตรและจะทำการวางแผนเพาะปลูกต่อไป “พิธีแรกนาขวัญ (อังกฤษ: Ploughing Ceremony បុ ) เป็นชื่อพิธีกรรมที่ทำขึ้นในหน้าฤดูเพาะปลูกคือช่วงย่างเข้าฤดูฝนพอดี เพื่อประเดิมการทำนา และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเริ่มต้นสู่ฤดูเพาะปลูกในประไทย “พิธีแรกนาขวัญ” ซึ่งกระทำโดยราชสำนักประกอบด้วยพิธีการที่สำคัญตามลำดับ คือ ความเป็นมาของ "วันพืชมงคล" พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “พิธีแรกนา” เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงถือศีลในสถานที่อันสงบ 3 วัน ซึ่งวิธีน

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

รูปภาพ
ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร? คุณสมบัติของวัสดุปรับปรุงดิน ไม่ว่าจะเป็น ปูนขาว – ปูนมาร์ล หรือไดโลไมท์ ต่างก็เป็นวัสดุที่ใช้ประโยชน์ทางด้าน  การเกษตร และใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนคุณสมบัติและองค์ประกอบหลักๆ ก็มีดังนี้ครับ ปูนขาว ปูนขาว – ไดโลไมท์ : คือวัสดุที่ได้จากการเผาหินปูน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แคลเซียมคาร์บอเนต โดยผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนค่อนข้างสูง ซึ่งจะได้ในรูปของปูนสุกหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แคลเซียมออกไซด์ ,CaO,Lime ” เมื่อเย็นตัวลงแล้วจะผ่านอีกหนึ่งกระบวนการคือพรมน้ำให้ชุ่ม ทำให้ปูนที่สุกแล้วทำปฏิกิริยากับน้ำกลายเป็นแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ส่วนที่เป็นผงแห้งก็จะได้เป็น “ปูนขาว” และส่วนที่เหลือก็จะเป็นพวกสารแขวนลอยคือ น้ำปูนไลม์ ปูนมาร์ล : จะเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ให้ทั้งแคลเซียม อีกทั้งยังช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (ค่า PH ) ของดินให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ และยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่มีประโยชน์สำหรับพืช ที่มีราคาถูกกว่าปูนขาวหรือไดโลไมท์อีกด้วย เพราะปูนมาร์ลจะใช้ต้นทุนในการผลิตให้เป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ถูกกว่าปูนขาว ดังนั้นจึงเป็นแหล่

" เกษตร" คืออาชีพที่อิสระทางความคิดและการกระทำอย่างแท้จริง

รูปภาพ
อาชีพเกษตร สำหรับผู้รักอิสระทางความคิด และการกระทำ เกษตร การทำเกษตรชีวภาพ พ่อหลวงของแผ่นดินไทย พระองค์ทรงพระราชทานอิสรภาพให้กับคนไทยทุกคนนั่นก็คือ "หลักเศรษฐกิจพอเพียง" ตามแนวพระราชดำริ กราบขออนุญาตนำภาพของพระองค์ท่านมาเป็นแบบอย่าง "เศรษฐกิจพอเพียง" ขอพระองค์ทรงพระเจริญ หลาย คนเมื่อพูดถึงเรืองเกษตร หรืออาชีพเกษตรอาจมองว่าเป็นอาชีพที่ต้อยต่ำ ลำบากต้องตากแดด ตากลม ตากฝน แต่หารู้ไม่ว่ามันคืออิสรภาพทางการกระทำ อิสรภาพทางความคิด และอาชีพเการทำเกษตร ก็มีเทคนิควิธีการหลายอย่างที่จะเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด และลดต้นทุนให้ได้มากที่สุดเช่นกัน  ผมเป็นอีกคนหนึ่งครับที่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อมาทำอาชีพเกษตร  แต่อย่างที่บอกนะครับหากเราคิดจะทำอะไรหรือมีเป้าหมายที่จะทำอะไรแล้ว  ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ เราต้องแสวงหาความรู้ในสิ่งทีเราจะทำ เพื่อกำหนดและคาดหวังเป้าหมาย หรือผลผลิตที่เราจะได้รับได้ เจ้าตัวเล็กทั้งสองคือ "ลูกสาวผมเองครับ" อนาคตต้องเป็นนิกวิชาการด้านการเกษตร บทความต่าง ๆ ที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้เป็นเทคนิค วิธีการทำเกษต

ความสูญเสีย ที่ไม่อาจลืมได้

รูปภาพ
พระคุณของ“คุณแม่” เรื่องในอดีตที่ไม่อาจลืมได้ อดีตที่ไม่อาจลืมได้ วันนี้ตื่นเช้าหน่อย เพราะเมื่อคืนนอนแต่หัวค่ำ ระหว่างรอน้ำร้อนชงกาแฟ ขอระบายความในใจนิดนึง.! แต่ขอพักเรื่องวิชาการเอาไว้ก่อน แต่นี่ก็ย่างเข้าหนาฝนแล้ว คิดว่าเกษตรกรหลายๆคนกำลังเตรีมพื้นที่สำหรับเพาะปลูก เตรีมเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับหว่านกล้า หรือไม่ก็กำลังเริ่มปลูกมันสำปะหลัง วุ่นวายกันไปหมด อีกทั้งยังใกล้ถึงเทศกาลเปิดเทอม ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าตัวเล็กอีก มันช่างเป็นภาระที่จำยอม ที่มีความสุขที่ได้รับผิดชอบจริงๆครับ แต่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้ว่า “คนเราเกิดมาที่ได้มาใช้ชีวิตร่วมกันนั้น ถือว่ามีกรรม (การกรทำ) เป็นเหตุนำพามา” อย่างเช่นว่าในอดีตชาติคนนั้นเคยเกิดเป็นลูกคนนี้..คนนี้เคยเกิดเป็นพี่ป้าน้าอาคนนั้น สับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นวัฏจักรกันไปไม่รู้จบ หรือไม่ก็ ในอดีตชาติเคยเกิดเป็นลูกที่เอาแต่ใจผลาญเงินทองพ่อแม่ไปใช้โดยไม่เกิดประโยชน์ ทำให้บุพการีต้องทุกข์ระทมตรมใจอยู่เสมอ พอเกิดมาชาตินี้ก็ได้ลูกที่มีนิสัยเหมือนตัวเองในอดีตชาติที่ทำกับพ่อแม่เอาไว้ ต้องทุกระทมเหมือนกับพ่อแม่ของตัวเองในอดีตชาติ เมื่อพูดถึงเรื่

สิ่งที่ควรรู้สำหรับคนทำ “เกษตร”

สิ่งสำคัญที่ควรรู้..ก่อนทำเกษตร คนทำเกษตร นี่ก็ย่างเข้าหน้าฝนแล้ว จากเมื่อ2ปีก่อนแถวบ้านที่ผมอยู่นิยมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กันมากเพราะสมัยนั้นราคาดี บางคนมีพื้นที่ปลูกมากถึง 20-30 ไร่ ก็รับเงินกันทีเป็นแสนๆ แต่มาปีนี้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กลับถูกลงชนิดที่ว่าลดลงอย่างฮวบฮาบ เป็นเพราะเศรษฐกิจในประเทศหรือว่าการเมืองที่วุ่นวายก็ไม่รู้ แต่ที่ผมรู้คร่าวๆก็คือเมื่อประมาณกลางปี 2013 มีข่าวว่าบริษัทในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ของไทยและของโลก ได้ประสบกับภาวะการผลิตที่ไม่สมดลกับกำไร หรือไม่ก็มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศเข้ามา เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์ในไทยจำนวนมากจึงทำให้ราคาลดต่ำลงจนเกิดการประท้วงในหลายพื้นที่ จากความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์เคยขายได้ตันละกว่า 7500 บาท ลดลงเหลือ 4000-4500 บาท แล้วเกษตรกรอย่างเราๆ ที่ไม่มีอำนาจถ่วงดุลอะไรทำนองนั้น ? จะเหลืออะไร..? คนแถวบ้านผมก็เลยหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมาก ปลูกกันคนละ5 ไร่ 10 ไร่หรือ 20 ไร่ขึ้นไปก็มี เพราะปีนี้ราคาค่อนข้างดี คือช่วงเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมาราคามันสำปะหลังอยู่ที่ตันละ 2 , 500 บาท ก

หลักในการสังเกตดินที่เป็นกรด

รูปภาพ
จะรู้ได้อย่างไร.? ว่าดินสำหรับเพาะปลูกของเราเป็นกรด เทคนิคเกษตร สำหรับปัจจัยพื้นฐานในการที่จะทำเกษตรให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย อันดับแรกๆเลย ผมขอแนะนำให้เริ่มจากดินก่อนครับ เพราะไม่ว่าเราจะปลูกอะไรก็แล้วแต่ หากเรามัวแต่ปลูกไปเรื่อยๆทุกปี โดยไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีตามไปด้วย ผลที่ตามมาอันดับแรกก็คือ เราต้องสิ้นเปลืองค่าปุ๋ยเคมีที่สูขึ้น ตามความเสื่อมของดินที่สูงขึ้นไปด้วย ส่วนอันดับสองรองลงมาก็คือ ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีจะทรงตัวและจะทยอยลดน้อยลงไปเรื่อยๆ  จนกระทั่งขาดทุนหรือไม่มีกำไรในที่สุด และในวันนี้ผมจะขอแนะนำหลักในการทำเกษตรที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากการสังเกตพื้นที่เพาะปลูกของเราก่อนนั่นก็คือ “การสังเกตดินที่เป็นกรด” มีลักษณะและวิธีแก้ไขอย่างไร.? ไปศึกษาพร้อมๆกันครับ หลักเกษตร แก้ปัญหาดินกรด ดินกรด หมายถึงดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง หรือเรียกว่า (ค่า PH ) ของดินต่ำกว่า 7.0 แต่ค่าที่ว่านี้ไม่เป็นปัญหาสำหรับการทำเกษตรเท่าไรครับ ที่ผมจะบอกก็คือค่าความเป็นกรดด่างของดินที่ต่ำกว่า 5.5 นี่แหละ..ที่เป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรอยู่ทุกวันนี้ เพราะหากว่าดินที่เราใช้เพาะปลูกอยู่นี้ มี