บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

EM, น้ำ EM, หรือ น้ำหมักชีวภาพ คืออะไร?

EM (อีเอ็ม) คืออะไร? อันที่จริงแล้ว คำว่า “ EM ”   เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด ( www.emkyusei.com ) ย่อมาจาก  Effective Microorganisms  หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ถูกค้นพบโดยท่านศาสตราจารย์ Dr.Teruo Higa (เทรูโอะ ฮิหงะ) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาพืชสวน แห่งมหาวิทยาลัยริวคิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอันที่จริงแล้ว ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ท่านนี้ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องส้ม แต่ท่านไม่สามารถแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนส้มได้ แม้จะพยายามใช้ความรู้ความสามารถเพียงใดก็ไม่ได้ผล และในโอกาสนั้นเอง ท่านได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะของท่านโมกิจิ โอกาดะ (เมซุซามะ) เกิดความสนใจในหนังสือเล่มหนึ่งของท่านโมกิจิ โอกาดะ เขียนไว้เกี่ยวกับการเกษตรธรรมชาติ มีข้อความที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเกษตรที่ปลอดสารเคมี , ภัยพิบัติของมนุษย์ชาติและธรรมชาติของโลก , ความรักของธรรมชาติต่อสรรพสิ่งในธรรมชาติของโลก , และสิ่งมีชีวิตเล็กๆในดินมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล และที่สำคัญศาสตราจารย์ ดร. เทรูโอะ ฮิหงะ ยังให้ความสนใจและยังได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง "

เคล็ดลับเด็ด! ปลูกผักหวานป่า 1 ปี 4 เดือนเก็บขายได้..อยากรู้ต้องลอง!

รูปภาพ
ปลูกผักหวานป่า 1 ปี 4 เดือนเก็บขายได้ การปลูกผักหวานป่า   หลายคนมองว่าเป็นเรื่องยาก..? แต่โดยส่วนตัวของผมเอง ที่ได้ทดลองปลูกผักหวานป่ามากว่าสามปีจนได้ข้อสรุปเป็นที่น่าพอใจ สุดท้ายก็อยากจะมาร่วมแบ่งปันและบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำเกษตรดีๆที่ได้ทดลองทำ เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจคนอื่นบ้าง ซึ่งในการปลูกผักหวานป่าจากประสบการณ์ของผมเอง เป็นการลองผิดลองถูกโดยใช้เวลากว่าสามปี เป็นวิธีการปลูกผักหวานป่าแบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้ระบบน้ำหยด ไม่ใช้สปริงเกอร์ เป็นการปลูกผักหวานป่าเลียนแบบธรรมชาติขนานแท้ ด้วยเคล็ดลับง่ายๆคล้ายกับเส้นผมบังภูเขา และที่สำคัญผมได้ทดลองด้วยตัวเองมาแล้ว ! ปรากฏว่าได้ผลเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ คือผักหวานป่าที่ผมปลูกไว้ในสวนข้างบ้านมีอายุเพียงแค่ 1 ปี 4 เดือนเท่านั้น กลับมีใบสีเขียวสด ทั้งๆที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ไม่ได้ใช้ระบบน้ำหยด หรือระบบสปริงเกอร์แต่อย่างใด และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถเก็บมารับประทานหรือขายได้ภายในเวลาอันสั้น จึงเกิดไอเดียอยากแชร์ประสบการณ์การทำเกษตรตรงนี้ โดยทำเป็นวีดีโอแนะนำสั้นๆออกเผยแพร่สู่โลกออนไลน์ เผื่อว่า..น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำล

ปลูกข้าวในนาดินเค็ม..เขาทำกันอย่างไร?

ปลูกข้าว ในนาดินเค็ม สำหรับปัญหาของพื้นที่ดินเค็มส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือว่าส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวอย่างยิ่ง แต่ปัญหาทุกอย่างก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสมอไป ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินก็มีข้อแนะนำว่า การ ปลูกข้าว นาดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การที่มีเกลือในดินทำให้ผลผลิตข้าวต่ำเฉลี่ยเพียง 10-15 ถัง ต่อไร่เท่านั้น ไม่เพียงพอกับการบริโภคในครอบครัว กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ดำเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็มระดับเค็มน้อยและสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้เป็น 30-50 ถัง ต่อไร่ มีรายละเอียดหลักๆดังนี้ครับ - การขังน้ำในแปลงนา เพื่อชะล้างเกลือจากดินโดยใช้น้ำฝนหรือน้ำชลประทาน ชะล้างคราบเกลือ 2-3 ครั้ง แล้วระบายน้ำออกไป ค่อยไถพรวนทีหลัง - การเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น แกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 2 ตัน ต่อไร่ ในดินขณะที่เตรียมดิน หรือใช้โสนแอฟริกันหว่านในอัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบในช่วงออกดอก คือเมื่ออายุ 60 วัน - การปรับระดับพื้นที่แปลงนา ให้อยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อให้น้ำขังในแปล

แนวทางการแก้ปัญหาดินทราย

แนวทางการจัดการดินทรายเพื่อปลูกข้าว 1. การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก เศษพืช หรือไถพืชปุ๋ยสดเพื่อให้อินทรียวัตถุเป็นตัวดูดน้ำแลกะธาตุอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยในการเกาะยึดของดินดีขึ้น 2. ไถกลบตอซังข้าวในขณะเตรียมดิน 3. การใช้ปุ๋ยเคมีควรมีการใช้ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสม โดยเลือกชนิดของแม่ปุ๋ยหรือใช้ปุ๋ยนาที่จำหน่ายทั่วไป ในอัตราที่เหมาะสมและวิธีใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับชนิดของข้าวที่ปลูก คือข้าวไม่ไวต่อช่วยแสงแนะนำให้แบ่งใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง และข้าววัยต่อช่วยแสงแนะนำให้แบ่งใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง (ตารางที่ 5.2 ) แนวทางการจัดการดินทรายเพื่อปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น 1. การปลูกพืชคลุมดิน  ปลูกพืชที่มีระบบใบหนาแน่นหรือมีระบบรากแน่นและแพร่กระจายคลุมและยึดดิน เพื่อช่วยให้ดินมีสิ่งรองรับแรงปะทะ จากเม็ดฝน การพัดพาของน้ำฝนและกระแสลมช่วยลดความเร็วและการกระจายของการไหลของน้ำที่ไหลบ่าบนผิวดิน ทำให้น้ำ ซึมลงไปในดินมากขึ้นเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ถ้าเป็นตระกูลถั่วจะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ดิน ช่วยรักษาความชุ่มชื้นและดูดซับธาตุอาหารในดิน 2. การใช้วัสดุ

เกษตรอินทรีย์..เขาทำกันอย่างไร?

ความหมายของเกษตรอินทรีย์ เกษตร อินทรีย์ เกษตรอินทรีย์อีกความหมายหนึ่งคือระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัด ศัตรูพืช ไม่ใช้เคมีในการกำจัดวัชพืชตลอดจนไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์  นอกเหนือไปจากการไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีและสารสังเคราะห์ทั้งมวลแล้ว การจะเป็นเกษตรอินทรีย์สมบูรณ์แบบนั้น ในดิน ในน้ำ และในอากาศก็ต้องไม่มีสารเหล่านี้ตกค้างอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นแล้วการทำเกษตรอินทรีย์จึงต้องเลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปีควรต้องเป็นพื้นที่ค่อนข่างเป็นที่ดอนและโล่งแจ้งต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ห่างจากแปลงที่ปลูกพืชโดยใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี อยู่ห่างจากถนนหลวงหลัก และจะต้องมีแหล่งน้ำปลอดสารพิษและสารเคมีทั้งมวลด้วย หลักในการทำ เกษตร อินทรีย์ 1. ไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์  และยาปราบศัตรูพืช 2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนานๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน 3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง  หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วั

4 ผลเสีย ที่เกิดจากการเผาทำลายตอซังข้าว

เทคนิค เกษตร “ทำ เกษตร แนวใหม่ ไม่เผาทำลายตอซังข้าว”   เพราะการเผาทำลายตอซังข้าวเป็นการทำลายโครงสร้างของดิน ทำลายจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินให้เสียหายไปโดยเปล่าประโยชน์ เหตุผลก็เพราะว่าความร้อนดังกล่าว ก่อให้เกิดผลเสียต่อพื้นดินปลูกของเราอย่างมากมาย เช่น 1. ทำให้หน้าดินแข็ง รากพืชไม่สามารถไชชอนหาอาหารได้ ทำให้พืชที่ปลูกแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์ หาอาหารได้น้อยลง ผลผลิตตกต่ำ 2.   เป็นการเผาทำลายธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดิน และเมื่อธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดินถูกเผาทำลายไป ก็จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ สร้างมลภาวะพิษ เกิดภาวะเรือนกระจก 3. เป็นการทำลายจุลินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ในดิน เป็นเหตุทำให้ปริมาณและกิจกรรมต่างของจุลินทรีย์ในดินลดน้อยลง การย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆก็ลดน้อยลง ดินเสื่อมคุณภาพ ผลผลิตก็พลอยตกต่ำไปด้วย 4. ทำให้สูญเสียน้ำในดิน ดินขาดความชุ่มชื้น เพราะการเผาตอซังทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส ส่งผลทำให้น้ำในดินระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว ในเมื่อความชื้นในดินลดลง ก็จะส่งผลให้ดินมีความกระด้าง เป็นดินแห้งแ

วิธีไล่หนู ยุง แมลงสาบ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน อีกหนึ่ง ภูมิปัญญาชาว บ้านดีๆ ในการกำจัดและขับไล่สัตว์หรือแมลงอันไม่พึงประสงค์ที่มารบกวนหรือมาร่วมอาศัยอยู่ในบ้านของเราอย่างไม่ได้รับเชิญ เช่น หนู แมลงสาบ หรือแม้กระทั่งยุง คนสมัยก่อนไม่ได้ใช้ไบก้อนเขียว หรือกาวดักหนูเหมือนยุคปัจจุบัน แต่ใช้การกำจัดแมลงสาบด้วย ภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างง่ายๆ นั่นก็คือใช้พริกไทยเม็ดไปวางตามจุดต่างๆ ที่แมลงสาบชอบอาศัยอยู่ โดยวางไว้ตามมุมอับของบ้านจุดละ 4-5 เม็ดก็พอ และพอแมลงสาบได้กลิ่นก็ไม่มารบกวนเราอีกแล้วล่ะครับ เหตุผลก็เพราะว่ามันไม่ถูกกับกลิ่นพริกไทยนั่นเองครับ ส่วนวิธีกำจัดยุงและแมลงตัวเล็กๆด้วย ภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ให้มารบกวนเรานั้น คนสมัยก่อนเก่าเขาแนะนำเอาไว้ว่าให้นำการบูร มาห่อผ้าขาวทำเป็นห่อ แขวนไว้ใกล้ๆกับหลอดไฟ เพื่อให้ความร้อนจากแสงสว่างของหลอดไฟ เป็นตัวกระจายกลิ่นการบูรให้ค่อยๆ ระเหิดออกมา และกลิ่นการบูรที่ว่านี้ ก็ดันไม่เป็นที่พึงประสงค์ของยุงและแมลงต่างๆเสียด้วย สุดท้ายก็จะพากันบินหนีไปในที่สุดครับ และสุดท้ายเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการขับไล่หนู โดยไม่ต้องฆ่าให้เป็นบาปกรรม ด้วยวิธีง่ายๆ เพียงให้เราเอาน้ำมันระกำ