บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2011

ทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์

เกษตร การทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์ หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบนํ้า ในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ จากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่สามารถถนอมไว้ใช้ได้ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก 1. เครื่องตัดหญ้า หรือเครื่องสับหญ้า 2. ภาชนะที่ใช้บรรจุหญ้าสำหรับหมัก เช่น หลุม ถัง ถุงพลาสติก 3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากนํ้าตาล เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก ถ้าใช้ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่จำเป็นต้องเสริม 4. ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หลุม หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก วิธีการทำหญ้าหมัก หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม. บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในภาชนะสำหรับหมัก ซึ่งอาจเป็นถุง บ่อซีเมนต์หลุม ยํ่าอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมดในขณะที่บรรจุหญ้าลงในภาชนะ ละลายกากนํ้าตาล พรมให้ทั่ว ๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ไม่ต้องใช้  จากนั้นทำการปิดภาชนะบรรจุหญ้าด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิด แล้วโรยทับด้วยทรายป้องกันอากาศและนํ้า หลังจากปิดภาชนะแล้ว หมักไว้ 3-

6 ขั้นตอนการบำรุงรักษาดิน

เกษตร   6 ขั้นตอนการบำรุงรักษาดินเพื่อทำการเกษตร ดิน ถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่า เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ตั้งของป่าไม้ และเป็นแหล่งกำเนิดอาหารของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ แต่เนื่องจากดินเพื่อใช้ในการเกษตรมีการเสื่อมสภาพได้ง่ายมาก เราจึงควรรู้วิธีบำรุงรักษาดินเอาไว้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ป้องกันไม่ให้ดินเสื่อมโทรม 6 ขั้นตอนการบำรุงรักษามีดังนี้ 1.ไถพรวนดินอย่างถูกวิธี เป็นการกลับดินเพื่อทำให้อากาศและน้ำแทรกลงไปในดินได้ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพืช การพรวนดินเป็นการเพิ่มอากาศให้แก่ดิน และที่สำคัญไม่ควรใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่เหยียบย่ำดินมากจนเกินไป ควรมีการไถดินให้ลึก เมื่อดินมีชั้นดินดานตื้นเท่านั้น 2.การรักษาความชุ่มชื้นในดิน เราสามารถรักษาความชื้นในดินได้โดย ใช้ฟางหรือใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นคลุมดินเอาไว้ การปลูกพืชคลุมดินไม่ให้ผิวดินว่างเปล่า ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้อย่างดี 3.การทำนาขั้นบันได เมื่อพื้นที่เป็นที่ลาดเอียงมาก ๆ ก่อนที่เราจะปลูกพืชควรมีการปรับพื้นที่ให้เป็นขั้นบันไดเสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดน้ำไหลบ่า เป็นการช่วยป้องกันการพังทลายของดิน จากฝนที่ตกหนักได้อีกด้วย  

การปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงเท่าตัว

เกษตร เทคนิคการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงเท่าตัว สำหรับเกษตรกรที่ทำไร่ข้าวโพด วันนี้มีเทคนิคดีๆ ในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดแบบง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่ได้ผลผลิตสูง เรียกได้ว่าเป็นเท่าตัวเลยทีเดียวครับ วิธีการนั้นก็คือ ให้วางแถวแนวปลูกหันไปตามทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยกำหนดให้ระยะระหว่างแถวและระหว่างต้นห่างจากกัน 50 เซนติเมตรเท่าๆกัน และหยอดเมล็ดหลุมละ 3 ถึง 4 เมล็ด ให้เมล็ดกระจายออกจากกันเล็กน้อย อย่าหยอดวางกันเป็นกระจุกรวมกัน  เมื่อต้นงอกมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตรแล้ว ให้ถอนเหลืออย่างน้อยหลุมละ 3 ต้น แต่ถ้าต้นสมบูรณ์ใกล้เคียงกันทั้งหมด 4 ต้นก็ให้เก็บไว้ทั้งหมดก็ได้ครับ จากนั้นก็ให้ดูแลตามปกติเหมือนที่เราเคยทำ แต่ต้องจัดให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะจำนวนต้นต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสามเท่าตัวเลยทีเดียว การปลูกด้วยวิธีนี้จะทำให้ต้นข้าวโพดติดฟักที่สองสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเกือบทุกต้น ช่วงความสูงของลำต้นจะลดลง แต่ความยาวของใบบนนั้นจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีการแก่งแย่งแสงแดดกันเอง จึงทำให้ใบยืดยาวขึ้น ลักษณะที่เป็นไปเช่นนี้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นข้าวโพด เนื่องจากลำต้นสั้นเตี้ยลง แล

การทำปุ๋ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า

เกษตร เทคนิคเกษตร:การทำปุ๋ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า วัสดุที่ใช้ 1.ดินแห้งทุบให้ละเอียด ใช้ดินได้ทุกชนิด 5 ส่วน 2.ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด 2 ส่วน 3.แกลบดำ 2 ส่วน 4.รำละเอียด 2 ส่วน 5.ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กอ้อย 2 ส่วน 6.น้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 คนให้เข้ากัน วิธีทำ 1.ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี 2.รดด้วยน้ำเอนไซม์ที่ผสมแล้ว บนกองวัสดุให้ความชื้นพอประมาณ กำแล้วใช้นิ้วดีดแตก ไม่ให้แฉะเกินไป 3.เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักไว้ 5 วัน จึงนำไปใช้ได้ 4.ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิดขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานๆ วิธีใช้ 1.ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่าๆ กัน คลุกจนเข้ากันดี เพื่อนำไปกรอกถุง หรือถาดเพาะกล้า หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้า จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง 2.นำไปเติมในกระถางต้นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ  2 กำมือ ที่มา http://nan.doae.go.th/

สังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชด้วยสายตา

เกษตร เทคนิคเกษตร:การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชด้วยสายตา   ธาตุอาหารต่างๆที่พืชดูดซึมมาใช้ ปกติก็จะมาจากดินและปุ๋ยต่างๆที่ให้โดยดูดซึมได้ ทั้งทางใบและราก เพื่อการพัฒนาส่วนต่างๆของพืชตามความต้องการธาตุต่างๆ ประมาณ 16 ธาตุ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักใหญ่ๆ ดังนี้ 1.ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยม 2.ธาตุอาหารรอง  ประกอบด้วย แคลเซี่ยม แมกนิเซี่ยม ซัลเฟอร์(กำมะถัน) 3.ธาตุอาหารเสริม  ประกอบด้วย โบรอน ทองแดง เหล็ก โบลิบดินั่ม แมงกานีส สังกะสี อะลูมินั่ม ธาตุอาหารหลัก จะเป็นส่วนที่พืชต้องการปริมาณมากและขาดไม่ได้  ธาตุอาหารรอง จะเป็นส่วนที่พืชมีความต้องการลดน้อยลงมาจากธาตุอาหารหลัก  ธาตุอาหารเสริม จะเป็นส่วนที่พืชต้องการน้อยมาก แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่า ธาตุหลัก ธาตุรอง  โดยสรุป พืชมีต้องการธาตุอาหารทั้งหมด เพียงแต่ต้องการมาก-น้อยตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงความเจริญเติบโต ซึ่งหากขาด ไม่ได้รับหรือได้รับไม่เพียงพอ พืชก็จะแสดงอาการให้เห็นและจะเกิดผลเสียหายได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการต่างๆเหล่านี้เป็นเบื้องต้นด้วยสายตา เพื่อการวิเคราะห์และสามารถ

ไล่แมลงสาบ หนู ยุง ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

เกษตร เทคนิคเกษตร:ไล่แมลงสาบ หนู ยุง แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การกำจัดแมลงสาบ ด้วยพริกไทยเม็ด   ในบ้านที่มักจะอยู่ตามครัว ตู้ โต๊ะ หรือตามซอกตามมุมต่างๆ เขาบอกว่าวิธีที่ได้ผลและง่ายแสนง่าย แต่คนมักไม่ทราบหรือคิดไม่ถึง นั่นก็คือใช้ " พริกไทยเม็ด " ไปวางตามจุดต่างๆ ที่แมลงสาบชอบออกมาไต่ยั้วเยี้ย หรือแอบมากินเศษอาหาร โดยวางไว้ที่ละ 4-5 เม็ดก็พอ แค่นี้ แมลงสาบได้กลิ่นก็ไม่มารบกวนแล้ว เพราะมันไม่ถูกกับกลิ่นพริกไทยเม็ด ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงให้เสียเงิน หรือเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน พอกลิ่นหมด ก็คอยเปลี่ยนใหม่ ข้อสำคัญ ระวังเด็กเล็กใน บ้านอย่าคลานไปกินเข้า จะร้องไห้จ้าเพราะความเผ็ดนั่นเองครับ กำจัดยุงและแมลงตัวเล็กๆ ด้วยการบูร วิธี กำจัดยุงและแมลงตัวเล็กๆ ไม่ให้มารบกวนตอนอ่านหนังสือหรือทำงานตอนกลางคืน เขาให้ใช้ " การบูร " มาห่อผ้าขาว หรือไปซื้ออย่างที่เขาห่อสำเร็จมาแล้วก็ได้ จากนั้นนำมาแขวนไว้ใกล้ๆกับหลอด ไฟ หรือโคมไฟ เพื่อความร้อนจากหลอด หรือโคมจะทำให้กลิ่นการบูรค่อยๆ ระเหิดออกมาอย่างรวยริน ยิ่งกลิ่นออกมามากเท่าใด ยุงและแมลงก็จะบินหนี เพราะมันไม่ชอบกลิ่นการบูร แค่นี้ก็ไม่ต

การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษขยะเหลือใช้

เกษตร เทคนิคเกษตร:การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษขยะเหลือใช้ในไร่สวน หรือครัวเรือน วัสดุที่ต้องเตรียม 1.เศษผัก เศษผลไม้ เศษขยะอินทรีย์ต่างๆ  3 ส่วน 2.น้ำตาล หรือ กากน้ำตาล  1 ส่วน 3.น้ำสะอาด หรือน้ำมะพร้าว 10 ส่วน  วิธีทำ นำเศษผักผลไม้มาย่อยให้มีขนาดเล็ก  แล้วนำน้ำตาลหรือกากน้ำตาลมาคลุกให้ทั่ว  ทิ้งไว้สัก 1 คืน แล้ว เทน้ำลงไป หมักทิ้ง ไว้ 30 วัน ก็สามารถนำน้ำหมักนั้น ไปใช้ได้ โดยอัตราส่วนที่แนะนำ คือ  น้ำหมัก 1ส่วน ต่อน้ำเปล่า 500-1000 ส่วน ข้อควรระวังในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 1. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะที่ใช้หมักให้สนิทชนิดที่อากาศเข้าไม่ได้ เพราะอาจเกิดการระเบิดได้ เนื่องจากในระหว่างการหมักจะเกิดก๊าซขึ้นมาจำนวนมาก เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ฯลฯ 2. ภาชนะที่ใช้หมักต้องไม่ใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะปุ๋ยน้ำชีวภาพจะมีฤทธิ์เป็นกรด (Ph=3-4)ซึ่งจะกัดกร่อนโลหะให้ผุกร่อนได้   ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ(น้ำสกัดชีวภาพ) 1. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิดเช่นกล้วยไม้ อาจมีผลทำให้ภาชนะที่ใช้ปลูกคือกาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควรทำให้ต้องเสียเงินในก

ปัจจัยในการงอกของเมล็ดพันธุ์พืช

เกษตร เทคนิคเกษตร:ปัจจัยในการงอกของเมล็ดพันธุ์พืช        การเพาะเมล็ด    หลายครั้งสร้างความสงสัยอย่างมากให้กับผู้ปลูก  เนื่องจากการเพาะมีกระบวนการที่แตกต่างกันไปหลากวิธี  บ้างเพาะง่าย บ้างเพาะยาก  ลองไปดูส่วนประกอบของเมล็ด และปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดกัน รวมถึงวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ด เพื่อให้เมล็ดงอกได้เร็วยิ่งขึ้น ส่วนประกอบของเมล็ด ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ 1. เปลือกหุ้มเมล็ด  2. คัพภะ ประกอบด้วย ใบเลี้ยง ตายอด ต้นอ่อน และราก  3. อาหารสะสมในเมล็ด การงอกของเมล็ด เมล็ดพืช  ประกอบด้วยส่วนซึ่งเป็นคัพภะ ส่วนที่เป็นอาหารสะสมภายในเมล็ด และเปลือกหุ้มเมล็ด  หลังจากที่เมล็ดถูกแยกออกจากต้นแม่แล้ว เมล็ดจะอยู่ในสภาพหยุดการเจริญเติบโตช่วงระยะเวลาหนึ่ง  เมื่อเอาเมล็ดมาไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คัพภะที่อยู่ภายใน จะเจริญเป็นต้นพืชใหม่  กระบวนการที่คัพภะภายในเมล็ดเจริญเป็นต้นใหม่นี้ เรียกว่า “การงอก” ต้นพืชที่เจริญมาจากคัพภะในขณะที่เป็นต้นอ่อนอยู่ ยังต้องอาศัยอาหารที่เก็บไว้ภายในเมล็ด เรียกว่า “ต้นกล้า” ปัจจัยในการงอกของเมล็ด   เมล็ดที่จะงอกได้  จ