ตำราเกษตร
ยิปซัม (Gypsum)
คืออะไร?
แร่ยิมซัม
แร่ยิปซัม |
“ยิปซัม” (Gypsum)
(CaSO4·2H2O)
CaSO4.H2O) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเกลือจืด
เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง
หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2
ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง
อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar)
เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม
ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น
และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี
เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส
เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง
ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย
(solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates)
ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides)
ส่วนการกำเนิดแร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น
เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ
แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์
จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน
และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา
ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon
and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.
ที่มา: วิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี