ผักหวานป่า

วิธีปลูกผักหวานป่าให้รอดตายและโตไว

จากประสปการณ์การทดลอง การลองผิดลองถูกมาสองฤดูกาลของการปลูก “ผักหวานป่า” โดยใช้เวลาเกือบๆสามปี ผมได้ศึกษาหาความรู้ทั้งจากตำราของนักวิชาการ ทั้งทางอินเตอร์เน็ต แล้วนำมาผสมผสานทดลองปลูกผักหวานป่าด้วยตัวเอง ปีแรกผมได้ปลูกผักหวานป่าจำนวน 150 ต้นไว้รอบบ้าน เหลือรอดให้เห็นอยู่เพียงห้าต้น แถมมีโตให้เห็นอยู่เพียงสองต้นเท่านั้น จึงได้วิเคราะห์หาสาเหตุว่า..ทำไม?..เพราะอะไร? ผักหานป่าที่เรานำมาปลูกไว้ที่บ้าน ถึงไม่เจริญเติบโตเหมือนอยู่ในป่า และก็ได้ข้อสรุปคร่าวๆว่า โดยธรรมชาติทั่วไปของผักหวานป่านั้นเป็นพืชที่ไม่ต้องการแสงแดดมากนัก คือต้องการแสงแดดเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และเป็นพืชที่มีรากฝอยที่อ่อนแอมาก หากโดนกระทบกระเทือนเพียงน้อยนิดก็จะตายหรือจะชะงักการเจริญเติบโตในทันที และที่สำคัญสถานที่ปลูกต้องไม่มีน้ำขัง เพราะจำทำให้รากเน่าตายก่อนที่จะเจริญเติบโตให้เราได้เก็บกินหรือขาย ตอนผมเริ่มปลูกผักหวานป่าปีแรก ผมได้ทดลองปลูกจำนวน 150 ต้น โดยการทำสะแลนบังแสงแดดให้จำนวน 50 ต้น ปลูกใต้ต้นพริกอีก 50 ต้น ที่เหลือก็ปลูกไว้ใต้ต้นมะเขือ ใต้ต้นมะละกอ ใต้ต้นกล้วย และมีอยู่ไม่กี่ต้นที่ปลูกไว้กับต้นแคบ้าน ก็อย่างที่บอกตั้งแต่แรกๆ พอเวลาผ่านไปหนึ่งฤดูกาล ผักหวานป่าที่ปลูกไว้มีรอดเพียง 5 ต้นเท่านั้น และที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก็คือ ผมสังเกตเห็นว่าผักหวานป่าต้นที่รอดตายนั้น มีอยู่สองต้นที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ใช้เวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น กลับมีลำต้นสูงเลยหัวเข่า แถมยังแตกกิ่งก้านสาขาสวยงาม มีใบเขียวขจี ทั้งๆที่ไม่ได้รดน้ำหรือใส่ปุ๋ยแต่อย่างใด ก็เลยศึกษาหาข้อมูลต่ออีกว่า..ทำไม?..เพราะอะไร?..ผักหวานป่าที่ปลูกไว้ใต้ต้นแคถึงโตไว และจากการที่ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสารหลายๆเล่มของกรมพัฒนาที่ดิน ก็ได้อีกหนึ่งข้อสรุปและก็ถึงบางอ้อ!..อีกนั่นแหละครับ 
ปมรากของพืชตระกูลถั่ว
เหตุผลหลักๆที่ผักหวานป่า ที่ปลูกไว้กับต้นแคมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วก็เพราะว่า “ต้นแค” จัดอยู่ในพืชตระกูลถั่วทั่วไป และในพืชตระกูลถั่วนี้เองจะมีปมที่ราก ซึ่งสร้างขึ้นจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ไรโซเบียม” (Rhizobium) ซึ่งแบคทีเรียที่ว่านี้จะสร้างปมไว้ที่รากของพืชตระกูลถั่ว แล้วทำการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาเก็บสะสมไว้ที่ปมรากดังกล่าว จากนั้นก็จะปลดปล่อยออกมาในรูปของสารอินทรีย์หรือธาตุอาหารไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์สำหรับต้นพืชเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือหากเราปลูกพืชตระกูลถั่วเอาไว้ ก็เท่ากับเป็นการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนขนาดย่อม หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าปุ๋ยโฟมดีๆนี่เองครับ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผักหวานป่าที่ปลูกไว้ใต้ต้นแคมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยแต่อย่างใด พอได้ข้อสรุปอย่างนี้แล้ว เริ่มเข้าปีที่สองผมก็ได้เดินหน้าปลูกผักหวานป่าอย่างเต็มรูปแบบ โดยปลูกไว้กับต้นแคจำนวน 100 ต้น และผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ คือต้นผักหวานป่ารอดตาย 100 เปอร์เซ็นต์ และมีการเจริญเติบโตให้เห็นเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง คือมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 60-80 เซนติเมตร โดยใช้เวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น ซึ่งทุกขั้นตอนผมก็ได้ทำบันทึกเอาไว้ แล้วก็นำมาบอกเล่าประสปการณ์ดีๆ ในการทำ “เกษตร” ผ่านสายตาของท่านผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจอยู่นี่งัยล่ะครับ พบกับสาระดีๆได้ใหม่ในบทความต่อๆไปครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้