ประโยชน์ของ “ภูไมท์ หรือภูไมท์ซัลเฟต”
ภูไมท์คืออะไร?
มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร?
ภูไมท์ซัลเฟต
“ภูไมท์” หรือกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ จะมีพื้นที่ผิวสัมผัสที่มีความพรุน โปร่ง คล้ายกับโครงสร้างของฟองน้ำ ทำให้มีความสามารถในการกรอง ดักและจับตรึงแร่ธาตุ ก๊าซต่างๆ ได้ค่อนข้างดี ดังนั้นเมื่อนำไปใส่ให้แก่ต้นไม้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ หรือตามความพอดีกับความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชสามารถที่จะสร้างภูมิต้านทาน มีความแข็งแกร่ง กระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยจับตรึงสารอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชมิให้สูญเสียได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นดินทราย เพราะแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ จะถูกชะล้างเสียหายไปได้ง่าย การนำภูไมท์หรือหินแร่ภูเขาไฟเข้าไปใช้ในการเกษตรจึงมักจะเป็นที่นิยมของพี่น้องเกษตรกรโดยโดยทั่วกัน เพราะมีประโยชน์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้เกิดเม็ดดินที่มั่นคงขึ้น ดินไม่เกาะตัวกันอย่างเหนียวแน่นเหมือนแต่ก่อน ไม่สร้างปัญหาทำให้ดินมีค่า PH (ค่าความเป็นกรด-ด่าง) เปลี่ยนแปลงเหมือนกับที่ใส่กลุ่มวัสดุปูนทั้งหลาย และเมื่อสะสมอยู่ในดินก็จะทำให้ช่วยจับแร่ธาตุต่าง ๆ แต่หากเราใช้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืช แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็เป็นโทษได้ เกษตรกรบางท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจจะคิดว่าภูไมท์นั้นคือปุ๋ย เมื่อใส่ครั้งแรกแล้วเห็นความแตกต่างจากเดิมว่าต้นไม้มีความแข็งแรงและมีการเจริญเติบโตดีขึ้นอย่างมาก เพราะหินแร่ภูเขาไฟหรือภูไมท์ที่ว่านี้ จะมีปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่มากมาย และจะค่อย ๆ ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างช้า ๆ จึงทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทีนี้เองเกษตรจึงใส่เพิ่มลงไปอีกเป็นจำนวนมาก และมากเกินไปจนทำให้ไนโตรเจนถูกจับตรึงเอาไว้ จนพืชไม่สามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างเพียงพอ ทำให้พืชมีอาการใบเหลืองซีด ต้นแคระแกร็น ซึ่งเป็นอาการของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจนอย่างชัดเจน ถ้าเกษตรกรท่านใดพบปัญหาเหมือนดังที่ได้อธิบายไปดังกล่าวนี้ ให้ทำการแก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 หว่านเพิ่มลงไป จะช่วยแก้ปัญหาการขาดปุ๋ยจากการที่ใส่ภูไมท์หรือหินแร่ภูเขาไฟมากเกินไปได้
ที่มา: ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
www.thaigreenagro.com
“ภูไมท์” หรือกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ จะมีพื้นที่ผิวสัมผัสที่มีความพรุน โปร่ง คล้ายกับโครงสร้างของฟองน้ำ ทำให้มีความสามารถในการกรอง ดักและจับตรึงแร่ธาตุ ก๊าซต่างๆ ได้ค่อนข้างดี ดังนั้นเมื่อนำไปใส่ให้แก่ต้นไม้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ หรือตามความพอดีกับความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชสามารถที่จะสร้างภูมิต้านทาน มีความแข็งแกร่ง กระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยจับตรึงสารอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชมิให้สูญเสียได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นดินทราย เพราะแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ จะถูกชะล้างเสียหายไปได้ง่าย การนำภูไมท์หรือหินแร่ภูเขาไฟเข้าไปใช้ในการเกษตรจึงมักจะเป็นที่นิยมของพี่น้องเกษตรกรโดยโดยทั่วกัน เพราะมีประโยชน์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้เกิดเม็ดดินที่มั่นคงขึ้น ดินไม่เกาะตัวกันอย่างเหนียวแน่นเหมือนแต่ก่อน ไม่สร้างปัญหาทำให้ดินมีค่า PH (ค่าความเป็นกรด-ด่าง) เปลี่ยนแปลงเหมือนกับที่ใส่กลุ่มวัสดุปูนทั้งหลาย และเมื่อสะสมอยู่ในดินก็จะทำให้ช่วยจับแร่ธาตุต่าง ๆ แต่หากเราใช้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืช แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็เป็นโทษได้ เกษตรกรบางท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจจะคิดว่าภูไมท์นั้นคือปุ๋ย เมื่อใส่ครั้งแรกแล้วเห็นความแตกต่างจากเดิมว่าต้นไม้มีความแข็งแรงและมีการเจริญเติบโตดีขึ้นอย่างมาก เพราะหินแร่ภูเขาไฟหรือภูไมท์ที่ว่านี้ จะมีปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่มากมาย และจะค่อย ๆ ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างช้า ๆ จึงทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทีนี้เองเกษตรจึงใส่เพิ่มลงไปอีกเป็นจำนวนมาก และมากเกินไปจนทำให้ไนโตรเจนถูกจับตรึงเอาไว้ จนพืชไม่สามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างเพียงพอ ทำให้พืชมีอาการใบเหลืองซีด ต้นแคระแกร็น ซึ่งเป็นอาการของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจนอย่างชัดเจน ถ้าเกษตรกรท่านใดพบปัญหาเหมือนดังที่ได้อธิบายไปดังกล่าวนี้ ให้ทำการแก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 หว่านเพิ่มลงไป จะช่วยแก้ปัญหาการขาดปุ๋ยจากการที่ใส่ภูไมท์หรือหินแร่ภูเขาไฟมากเกินไปได้