วันพืชมงคล

ประวัติความเป็นมาของ “วันพืชมงคล”

ในการทำการเกษตรของเราชาวไทยตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว มักอิงเอาวันพืชมงคลเป็นบรรทัดฐานในการคำนวณฝนฟ้าตลอดถึงความน่าจะได้ ความน่าจะเป็นของผลผลิต เพื่อจะให้ได้รู้ทิศทางในการการทำเกษตรและจะทำการวางแผนเพาะปลูกต่อไป “พิธีแรกนาขวัญ (อังกฤษ: Ploughing Ceremonyបុ) เป็นชื่อพิธีกรรมที่ทำขึ้นในหน้าฤดูเพาะปลูกคือช่วงย่างเข้าฤดูฝนพอดี เพื่อประเดิมการทำนา และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเริ่มต้นสู่ฤดูเพาะปลูกในประไทย “พิธีแรกนาขวัญ” ซึ่งกระทำโดยราชสำนักประกอบด้วยพิธีการที่สำคัญตามลำดับ คือ
ความเป็นมาของ "วันพืชมงคล"
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “พิธีแรกนา” เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงถือศีลในสถานที่อันสงบ 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ในช่วงรัชกาลที่ 1 ได้โปรดฯ ให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญแทนพระองค์ และมิได้ถือว่าเป็นพิธีหน้าพระที่นั่ง เว้นแต่เมื่อมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร สถานที่ประกอบพิธีในตอนแรก ๆ จึงไม่ตายตัว แล้วแต่จะทรงกำหนดให้ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น "พระราชพิธีพืชมงคล" จึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" จนถึงปัจจุบัน ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่าง ตามที่ทรงจำแนกไว้ 3 อย่าง 2 อย่างแรก ที่ว่า "อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง" นั้น ทรงหมายถึง "พิธีพืชมงคล" อันเป็นพิธีสงฆ์ และในปัจจุบันจะกระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว ส่วนพิธีกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "การบูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง" ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทรงหมายถึงพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ จึงพอกล่าวสรุปได้ว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”  หรือพิธีแรกนานี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร เพื่อชักนำให้มีความมั่นใจและเตรียมพร้อมในการทำนา อันเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของคนไทยที่มีมาช้านานสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน เพราะการทำเกษตรโดยเฉพาะการทำนานั้นถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญของชาวไทย ซึ่งจัดว่าเป็นพื้นฐานความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศไทยทุกยุคสมัย

"พิธีแรกนาขวัญ"
วันสำหรับวันประกอบ “พิธีแรกนาขวัญ”

ส่วนวันสำหรับวันประกอบ “พิธีแรกนาขวัญ” นั้น ต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ข้างขึ้น ข้างแรม ตามฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าสู่ฤดูฝนพอดี ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำเกษตรซึ่ง ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูก และเมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะได้ลงไว้ในปฏิทินหลวง ที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปี และได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในสมัยก่อนนั้น จะทำที่ทุ่งนาพญาไท แต่พอได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง

พระราชพิธีพืชมงคล

สำหรับ “พระราชพิธีพืชมงคล” จะเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งข้าวที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นจะเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม 40 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะบรรจุถุงผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนา บรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล โดยพันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะบรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้ต่อไป

"พิธีแรกนาขวัญ" วันพืชมงคล
เริ่่มต้นประกอบพระราชพิธีพืชมงคล

สำหรับ “พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ในปัจจุบันที่เห็นอยู่นี้ ได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีทุกประการ เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย เช่น พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีจะคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับ 3 - 4 หรือขั้นโทขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี ซึ่งก็จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คณะทูตานุทูต และประชาชนได้มาชมการแรกนาเป็นจำนวนมาก สำหรับการประกอบพิธีนั้นก็จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้ ก็จะมีการทำนายปริมาณน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง ต่อจากนั้นพระยาแรกนาก็จะทำการเลือกผ้า 3 ผืน ที่มีความยาวต่างขนาดกัน ตามชอบใจ ผ้าทั้ง 3 ผืน นี้จะดูคล้ายกัน ถ้าพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุดทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมาก และถ้าเลือกผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่ามีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ และหลังจากสวมเสื้อผ้าเรียกว่า "ผ้านุ่ง" เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง ซึ่งลากโดยพระโคผู้สีขาว ตามขบวนด้วยเทพีทั้ง 4 ผู้ซึ่งหาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุด้วยเมล็ดข้าวเปลือก นอกจากนี้ก็มีคณะพราหมณ์เดินคู่ไปกับขบวนพร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปพร้อมกัน เมื่อเสร็จจากการไถแล้วพระโคก็จะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่ม 7 ชนิด คือ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า ไม่ว่าพระโคจะเลือกกินหรือดื่มสิ่งใด ก็ทายว่าปีนี้จะอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเลือกนั้น เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าวที่หว่านโดยพระยาแรกนา เพราะว่าเมล็ดข้าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง ชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวนี้ผสมกับเมล็ดข้าวของตน เพื่อให้พืชผลในปีที่จะมาถึงนี้อุดมสมบูรณ์
พระโคที่ใช้ในพิธีแรกนาขวัญ
พระโคที่ใช้ในพิธีแรกนาขวัญ

สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญ จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีในทุ่งหญ้าที่จังหวัดราชบุรี พระโคที่ใช้ในพระราชพิธี จะต้องมีลักษณะที่ดีขาดเกินไม่ได้คือ หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่ต้องสีเหมือนกัน ซึ่งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสีเท่านั้น คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง และเจาะจงแต่เพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ "ตอน" เสียก่อนด้วย และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นวันเกษตรกรประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตนเองและเพื่อความผาสุกบริบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารสืบเนื่องต่อไปนั่นเองครับ


ขอบคุณข้อมูลจาก : กระปุกดอทคอม และข้อมูลภาพจาก “รัฐบาลไทย” 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้