รู้ทันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว

ไขปัญหาต้นข้าวแคระแกร็น ใบหงิกงอ ใบแคบ ผลผลิตไม่เต็มรวง

สำหรับปัญหาที่เกิดกับเกษตรผู้ปลูกข้าว ที่ได้เกริ่นนำข้างต้นนี้ เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยประสบพบเจอกันมาแล้ว และก็มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่รู้เหมือนกันก็คือปัญหาเหล่านี้เกิดจาก “เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” ครับ เพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถือว่าเป็นศัตรูที่สำคัญของข้าว โดยมีรูปร่างหน้าตาอยู่ 2 ลักษณะคือ ชนิดปีกยาวและปีกสั้น เป็นศัตรูพืชที่สามารถเคลื่อนย้ายหรืออพยพไปในที่ใกล้ๆ หรือที่ไกลออกไปได้ โดยอาศัยกระแสลมเป็นพาหะนำไป เพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม โดยจะวางไข่เรียงเป็นแนวตั้งฉากกับใบข้าว ต้นข้าวบริเวณที่มีการวางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะทำลายต้นข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำและท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวในระดับเหนือผิวน้ำ อีกทั้งยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ที่เป็นต้นเหตุของโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าวอีกด้วย ทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบข้าวจะแคบและสั้น ใบจะแก่ช้ากว่าปกติ ส่วนปลายใบข้าวจะบิดเป็นเกลียวขอบใบจะแหว่งวิ่น

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกัดกินต้นข้าว
แนวทางป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แนะนำให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสูง เช่น สุพรรณบุรี ปทุมธานี พิษณุโลก และพันธุ์ข้าวชัยนาทเป็นต้น แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์เดียวติดต่อกันนานเกิน 4 ปี ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูง กับพันธุ์ทนทานหรืออ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเกิดการระบาด และที่สำคัญเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้ได้  คือหลังปักดำหรือหว่าน 2 – 3 สัปดาห์ จนถึงระยะตั้งท้อง ควรควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียกก็พอ ไม่ต้องให้น้ำขังเกินไป ก็สามารถป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้แล้วครับ


ที่มา: เดลินิวส์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้