ข้ออีของการให้ปุ๋ยทางใบ

เกษตร
เทคนิคเกษตร : ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ

ข้อดีในการใช้ปุ๋ยทางใบ 

1.การปรับปรุงดินที่มีปัญหา  ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน   ต้องใช้เวลาพอสมควร  ในช่วงเวลาที่มีปัญหา
ดังกล่าว  อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง    ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง  หรือลดความ
เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2.ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม

3.ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช   ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤต เช่น  ก่อนออกดอก ในจังหวะ
เช่นนี้   ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่าง
รุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจน
ตลอดชีพจักรของพืช

4.การให้ปุ๋ยทางใบได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก  วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่
เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว  เช่น ข้าว อ้อย  ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร   เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง  ธาตุอาหารสูญเสีย   โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ   ความชื้นในดินมีจำกัดรากมีบาดแผล
หรือเริ่มเป็นโรคหรือระบบรากค่อนข้างจำกัดควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบ  เพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด  เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่าง
การออกดอกขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง 

ข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ
 
1.ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ
 

2.การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร
 

3.พืชหลายชนิดไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ  องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐาน   ลักษณะของพืช  มีผลกระทบ
ต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย
 

4.หากใช้อัตราสูงเกินไป  อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริม
จะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก
 

5.ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก
 

6.การพ่นปุ๋ย  อย่าให้ถึงกับเปียกโชก  เพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง    ประสิทธิภาพของปุ๋ยพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะ
มีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก
 

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป

ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
 
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน

การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จน
ทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ   เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่า
และเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1.ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย  คือ
ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม
2.ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก
  

 2.1  พืชกลุ่มที่ 1  พวกแตงต่าง ๆ  ถั่วฝักยาว  ถั่วลันเตา  มะเขือต่าง ๆ  ผักกาดหอม   ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้
มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด
 2.2  พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
 2.3  พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง
 

3.การกำหนดอัตรา    เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี  เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร  กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่
ในปัจจุบัน   ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้   ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า   การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ   ของเกษตรกรนั้น   ส่วใหญ่ใช้
ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง

เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ
 
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ใน รูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย

แม่ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารหลัก

1.  โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (12-60-0)
2.  โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (0-52-34)
3.  โพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46)
4.  ยูเรีย (46-0-0)

แม่ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารเสริม

1. โบแรกซ์ มีธาตุอาหารโบรอน (B) 11 เปอร์เซ็นต์
2.  แอมโมเนียแพนตาโบเรท มีธาตุอาหารโบรอน (ฺB) 19.9 เปอร์เซ็นต์
3.  คอปเปอร์ซัลเฟต มีธาตุอาหารเหล็ก (Cu) 25 เปอร์เซ็นต์
4.  เฟอรัสซัลเฟต มีธาตุอาหารเหล็ก (Fe) 20.1 เปอร์เซ็นต์
5.  แมงกานีสซัลเฟต มีธาตุอาหารแมงกานีส(Mn) 24.6 เปอร์เซ็นต์
6. โซเดียมโมลิบเดท มีธาตุอาหารโมลิบดินัม (Mo) 54.3 เปอร์เซ็นต์
7.  ซิงค์ซัลเฟต มีธาตุอาหารสังกะสี (Zn) 36.4 เปอร์เซ็นต์
 
ปุ๋ยเคมีที่ผสมใช้เองทุกสุตรสามารถร่วมกับแม่ปุ๋ยที่ใช้ธาตุอาหารเสริมได้ในอัตราเพียง 5-15 กรัม ต่อปุ๋ยผสมใช้เอง 1 กิโลกรัม  (หรือ 25-75 กรัมต่อปุ๋ยผสม 5 กิโลกรัม)    ส่วนคอปเปอร์ซัลเฟต  ใช้อัตราลดลงโดยใช้เพียง 3-5 กรัม   ต่อปุ๋ยผสมใช้เอง 1 กิโลกรัม  (15-25 กรัมต่อปุ๋ยผสม 5 กิโลกรัม) การชั่งต้องละเอียดเที่ยงตรง

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้