วิธีสังเกตความสมบูรณ์ของไข่ไก่

เกษตร
เทคนิคเกษตร : วิธีสังเกตความสมบูรณ์ของไข่ไก่

กินไข่ทุกวัน สุขสันต์แข็งแรงครับ หลายหลายเมนูสำหรับไข่คิดว่าหลายท่านคงรู้จักกันดีนะครับ วันนี้ขออนุญาตนำเสนอเทคนิคเกษตรดีๆ ในการสังเกตความสมบูรณ์ของไข่ไก่ ซึ่งเป็นของ คุณพินิจ หล้าคำ ปศุสัตว์อาสาหมู่ที่ 9 ต.ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง บอกไว้ว่า

ก่อนที่จะเอาไข่ของแม่ไก่สามสายเลือดไปให้แม่ไก่พื้นเมืองฟัก หรือแม้กระทั่งไข่ที่อยู่ในรังของแม่ไก่พื้นเมืองเองก็ตาม เมื่อออกไข่มาแล้ว เกษตรกร ต้องนำไข่ทุกฟองมาตรวจ หาไข่ “เชื้อเป็น” และไข่ “เชื้อตาย” โดยการนำไข่ทุกฟองมาส่องตรวจ ในเครื่องส่องไข่ ลักษณะเครื่องจะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม มีหลอดไฟ ใช้หลอดกลมหรือหลอดตะเกียบก็ได้ และบนกล่องจะมีช่องรูปวงรี สำหรับวางไข่ให้แนบปิดกับช่องวงรีให้แสงไฟผ่าน ดูความสมบูรณ์ของไข่แต่ละฟอง ซึ่งจะตรวจง่ายเมื่อไข่มีอายุ 7 วัน เกษตรกรควรสังเกต ดังนี้

“เชื้อเป็น” คือไข่ที่ส่องไฟในเครื่องแล้ว เมื่ออายุครบ 7 วัน ด้านในไข่จะมีเส้นเลือดฝอยขยาย แตกเป็นแขนง และเมื่ออายุไข่ครบ 15 วันจะเริ่มเห็นตาของตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ ซึ่งเกษตรกรสามารถคัดเลือกเลือกไข่จากเครื่องดังกล่าว เมื่อไข่แต่ละฟองมีอายุครบ 7 วันแล้วยังไม่มีเส้นเลือดฝอยเดิน แสดงว่าเป็นไข่ “เชื้อตาย” ซึ่งไข่เชื้อตายดังกล่าว ถ้าปล่อยไว้มันจะไม่ฟักเป็นตัวลูกเจี๊ยบ เกษตรกรจะนำไข่เชื้อตายไปบริโภคเป็นไข่ข้าว หรือขายสู่ท้องตลาดต่อไป

ไข่แต่ละฟอง ถ้าเป็นไข่ “เชื้อเป็น” เมื่ออายุครบ 7 วัน จะเริ่มเห็นเส้นเลือดฝอย ดังกล่าว เมื่ออายุครบ 15 วัน จะเริ่มเห็นลูกตาของตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ จากนั้นเมื่ออายุครบ 21 วันตัวอ่อนที่อยู่ในไข่จะกลายเป็นลูกเจี๊ยบ และมันจะเริ่มจิกเปลือกไข่ จนอายุครบ 28 วัน เปลือกไข่จะแตกออก เจ้าลูกเจี๊ยบตัวเล็กๆจะค่อยตะเกียดตะกายออกมาดูโลกกว้าง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณพินิจ หล้าคำ 
ที่อยู่ :  201 หมู่ที่9 ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้