ถั่วพร้าสุดยอดปุ๋ยพืชสดสารพัดประโยชน์
เกษตร
ถั่วพร้าสุดยอดปุ๋ยพืชสดสารพัดประโยชน์
ถั่วพร้าสุดยอดปุ๋ยพืชสดสารพัดประโยชน์
เมล็ดถั่วพร้า |
ชื่อสามัญ : Jack Bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canavalia ensiformis
ลักษณะลำต้นของถั่วพร้าเป็นเถา ซึ่งสามารถเลื้อยสูงได้ถึง 10 เมตร จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรพบว่า สามารถปลูกในลักษณะไม้พุ่มได้ เพราะลำต้นมีเนื้อไม้แข็งเป็นแกน โดยจะมีความสูงประมาณ 60 – 120 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นใบรวมแบบสามใบ (trifoliolate) มีรูปร่างมนค่อนข้างกลมคล้ายไข่ ยาว 7 – 12 เซนติเมตร ดอกเป็นกลุ่ม มีสีชมพู แต่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีความแตกต่างคือ ปลายดอกจะมีสีแดง ทั้งสองชนิดมีกลีบเลี้ยงโค้ง ส่วนบนมีสีขาว ภายในดอกมีเกสรครบทั้งสองเพศ และส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80 ของการติดผล) จะผสมพันธุ์กันเองภายในดอก
ลักษณะของฝักจะมีรูปร่างคล้ายดาบ ห้อยปลายลง เมื่อสุกจะมีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ถั่วพร้าเมล็ดยาวจะมีขนาดฝักกว้าง 3 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 15 – 35 เซนติเมตร เมล็ดมีสีขาวคล้ายงาช้าง มีขนาด 1.5 – 2 เซนติเมตร ขั้วเมล็ด (hilum) ยาว 0.5 – 1 เซนติเมตร ในขณะที่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีขนาดฝักกว้างประมาณ 3.5 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 – 40 เซนติเมตร เมล็ดมีสีแดงอมน้ำตาล มีขนาด 2 – 3.5 เซนติเมตร ขั้วเมล็ดยาว 1.5 – 2 เซนติเมตร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canavalia ensiformis
ลักษณะลำต้นของถั่วพร้าเป็นเถา ซึ่งสามารถเลื้อยสูงได้ถึง 10 เมตร จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรพบว่า สามารถปลูกในลักษณะไม้พุ่มได้ เพราะลำต้นมีเนื้อไม้แข็งเป็นแกน โดยจะมีความสูงประมาณ 60 – 120 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นใบรวมแบบสามใบ (trifoliolate) มีรูปร่างมนค่อนข้างกลมคล้ายไข่ ยาว 7 – 12 เซนติเมตร ดอกเป็นกลุ่ม มีสีชมพู แต่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีความแตกต่างคือ ปลายดอกจะมีสีแดง ทั้งสองชนิดมีกลีบเลี้ยงโค้ง ส่วนบนมีสีขาว ภายในดอกมีเกสรครบทั้งสองเพศ และส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80 ของการติดผล) จะผสมพันธุ์กันเองภายในดอก
ลักษณะของฝักจะมีรูปร่างคล้ายดาบ ห้อยปลายลง เมื่อสุกจะมีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ถั่วพร้าเมล็ดยาวจะมีขนาดฝักกว้าง 3 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 15 – 35 เซนติเมตร เมล็ดมีสีขาวคล้ายงาช้าง มีขนาด 1.5 – 2 เซนติเมตร ขั้วเมล็ด (hilum) ยาว 0.5 – 1 เซนติเมตร ในขณะที่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีขนาดฝักกว้างประมาณ 3.5 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 – 40 เซนติเมตร เมล็ดมีสีแดงอมน้ำตาล มีขนาด 2 – 3.5 เซนติเมตร ขั้วเมล็ดยาว 1.5 – 2 เซนติเมตร
ถั่วพร้า |
ปลูกได้สามวิธี คือ
ปลูกแบบหว่าน – เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและแรงงานที่สุด ทำโดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้หว่านลงไปในแปลงให้ทั่ว ในอัตรา 8 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนดินกลบเมล็ด
ปลูกแบบโรยเป็นแถว – เป็นวิธีที่ค่อนข้างช้าและสิ้นเปลืองแรงงาน เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีแรก แต่จะทำให้ได้ต้นถั่วพร้าที่ขึ้นเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบ ทำโดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ซึ่งมีระยะระหว่างแถว 75 - 100 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลงในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ในอัตรา 5 - 8 กิโลกรัมต่อไร่
ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม – เป็นวิธีที่ล่าช้า สิ้นเปลืองแรงาน และไม่สะดวกในทางปฏิบัติที่สุด แต่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกรณีที่มีปริมาณเมล็ดพันธุ์จำกัด ทำโดยการขุดหลุดเล็ก ๆ ลึกประมาณ 5 – 7.5 เซนติเมตร มีในระยะระหว่างแถวของหลุมประมาณ 75 – 90 เซนติเมตร และระยะระหว่างหลุมในแถวเดียวกันประมาณ 45 – 60 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 - 3 เมล็ดต่อหลุมแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ในอัตรา 3 - 5 กิโลกรัมต่อไร่
การเก็บเกี่ยว ฝักอ่อนเพื่อนำไปใช้เป็นอาหารจะทำได้หลังจากการเพาะปลูกราว 3 - 4 เดือน สำหรับการเก็บเกี่ยวเมล็ดที่โตเต็มที่เพื่อนำไปทำเป็นเมล็ดแห้ง จะทำได้หลังจากการเพาะปลูกราว 5 – 10 เดือน
คำเตือน ห้ามรับประทานเมล็ดถั่วพร้าเด็ดขาด
ฝักอ่อนของถั่วพร้าใช้บริโภคได้ แต่ต้องทำให้สุกก่อน เนื่องจากในถั่วพร้ามีโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อ คานาวาลิน เป็นสารพิษอยู่แต่มีในปริมาณไม่มาก และสารนี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน จึงต้องทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนบริโภค จะไม่เป็นอันตราย
ปลูกแบบหว่าน – เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและแรงงานที่สุด ทำโดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้หว่านลงไปในแปลงให้ทั่ว ในอัตรา 8 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนดินกลบเมล็ด
ปลูกแบบโรยเป็นแถว – เป็นวิธีที่ค่อนข้างช้าและสิ้นเปลืองแรงงาน เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีแรก แต่จะทำให้ได้ต้นถั่วพร้าที่ขึ้นเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบ ทำโดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ซึ่งมีระยะระหว่างแถว 75 - 100 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลงในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ในอัตรา 5 - 8 กิโลกรัมต่อไร่
ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม – เป็นวิธีที่ล่าช้า สิ้นเปลืองแรงาน และไม่สะดวกในทางปฏิบัติที่สุด แต่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกรณีที่มีปริมาณเมล็ดพันธุ์จำกัด ทำโดยการขุดหลุดเล็ก ๆ ลึกประมาณ 5 – 7.5 เซนติเมตร มีในระยะระหว่างแถวของหลุมประมาณ 75 – 90 เซนติเมตร และระยะระหว่างหลุมในแถวเดียวกันประมาณ 45 – 60 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 - 3 เมล็ดต่อหลุมแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ในอัตรา 3 - 5 กิโลกรัมต่อไร่
การเก็บเกี่ยว ฝักอ่อนเพื่อนำไปใช้เป็นอาหารจะทำได้หลังจากการเพาะปลูกราว 3 - 4 เดือน สำหรับการเก็บเกี่ยวเมล็ดที่โตเต็มที่เพื่อนำไปทำเป็นเมล็ดแห้ง จะทำได้หลังจากการเพาะปลูกราว 5 – 10 เดือน
คำเตือน ห้ามรับประทานเมล็ดถั่วพร้าเด็ดขาด
ฝักอ่อนของถั่วพร้าใช้บริโภคได้ แต่ต้องทำให้สุกก่อน เนื่องจากในถั่วพร้ามีโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อ คานาวาลิน เป็นสารพิษอยู่แต่มีในปริมาณไม่มาก และสารนี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน จึงต้องทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนบริโภค จะไม่เป็นอันตราย
การปลูกถั่วพร้า เป็นพืชปุ๋ยสด
เมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า ใช้ไร่ละ 10 กิโลกรัม
ไรโซเบียม ใช้ไร่ละ 1 ถุง
มี 2 วิธีให้ ท่าน เลือก
จะไถ่เตรียมพื้นที่ปลูกก่อนหว่าน หรือ จะหว่านก่อนแล้วค่อยไถกลบ ก็ได้นะครับ เมื่อถั่วพร้าอายุได้ประมาณ 65 วัน ให้ทำการไถกลบในขณะที่ไถกลบดินควรมีความชื้น เพื่อลดการสูญเสียธาตุไนโตรเจนซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ถั่วพร้าออกดอก ต้นมีความสมบูรณ์ และมีธาตุอาหารสูงสุด หลังไถกลบควรทิ้งให้ถั่วพร้าย่อยสลายประมาณ 10-14 วัน แล้วถึงปลูกพืชอื่น
ผลที่ได้รับ
ได้ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ (น้ำหนักสด)
ได้ปุ๋ยไนโตรเจนคิดเป็นยูเรีย(46-0-0) ประมาณ 30-39 กิโลกรัมต่อไร่
ยังได้ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมซึ่งไม่ค่อยมีในปุ๋ยเคมี
เมล็ดพันธุ์ถั่วพร้า ใช้ไร่ละ 10 กิโลกรัม
ไรโซเบียม ใช้ไร่ละ 1 ถุง
มี 2 วิธีให้ ท่าน เลือก
จะไถ่เตรียมพื้นที่ปลูกก่อนหว่าน หรือ จะหว่านก่อนแล้วค่อยไถกลบ ก็ได้นะครับ เมื่อถั่วพร้าอายุได้ประมาณ 65 วัน ให้ทำการไถกลบในขณะที่ไถกลบดินควรมีความชื้น เพื่อลดการสูญเสียธาตุไนโตรเจนซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ถั่วพร้าออกดอก ต้นมีความสมบูรณ์ และมีธาตุอาหารสูงสุด หลังไถกลบควรทิ้งให้ถั่วพร้าย่อยสลายประมาณ 10-14 วัน แล้วถึงปลูกพืชอื่น
ผลที่ได้รับ
ได้ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ (น้ำหนักสด)
ได้ปุ๋ยไนโตรเจนคิดเป็นยูเรีย(46-0-0) ประมาณ 30-39 กิโลกรัมต่อไร่
ยังได้ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมซึ่งไม่ค่อยมีในปุ๋ยเคมี
อย่างไรก็ตามน้ำหนักมวลชีวภาพและปริมาณธาตุอาหาร ขึ้นกับปัจจัยของดินและการจัดการของเกษตรกรเองด้วยครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น