บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

วิธีใส่ปุ๋ยแบบประหยัด เปลี่ยนใบพืชให้เขียวสดภายใน 7 วัน

รูปภาพ
เรื่องราวและเทคนิคเกษตรดีๆในบทความนี้ มีเคล็ดลับดีๆในการทำเกษตรมาฝากกันนะครับ เป็นเรื่องของ “วิธีการใส่ปุ๋ยแบบประหยัดที่สามารถเปลี่ยนใบพืชให้เขียวสดภายในหนึ่งสัปดาห์”  ที่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ผมได้ทดลองและเห็นมาแล้ว คือสามารถเปลี่ยนจากพืชผักที่กำลังใบเหลืองให้กลายเป็นสีเขียวสดได้ภายในหนึ่งสัปดาห์..ง่ายๆก็คือให้เรานำปุ๋ยเคมีสูตรที่เราใช้กันทั่วไป มาผสมกับน้ำในอัตราส่วนครึ่งแก้วต่อน้ำประมาณ 20 ลิตร แล้วนำไปรดที่โคนต้นโดยตรง โดยไม่ให้น้ำปุ๋ยโดนใบพืชเพราะอาจทำให้พืชใบไหม้ได้ ซึ่งน้ำที่ผสมปุ๋ย 20 ลิตร สามารถรดต้นพืชในช่วงกำลังเจริญเติบโตได้ประมาณ 7 – 10 ต้น นั่นก็คือปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัม สามารถรดไม้ผลหรือพืชผักที่เราปลูกได้ประมาณ 50 – 70 ต้นเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใส่ปุ๋ยแบบโรยรอบโคนต้นแล้ว จะเห็นถึงความแตกต่างของปริมาณปุ๋ยที่เราใช้อย่างชัดเจน เพราะในการใส่ปุ๋ยแบบโรยรอบโคนต้นนั้น ปุ๋ยเคมีหนึ่งกิโลกรัม จะใส่ได้ประมาณ 20 ต้น เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ผมว่านี้ เราสามารถประหยัดปุ๋ยได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเคยสังเกตและทดลองใส่ปุ๋

วิธีปลูกมะเขือยักษ์ ที่มีน้ำหนักผลมากกว่า 1 กิโลกรัม

รูปภาพ
เมื่อสามเดือนก่อนแอบไปอ่านเจอในอินเตอร์เน็ต..เขาบอกว่ามะเขือลูกหนึ่งหนักกว่าหนึ่งกิโลกรัม..มันเป็นไปได้หรือ?..ไม่เคยเห็นก็เลยซื้อมาทดลองปลูกแซมสวนผักหวานป่าข้างบ้านดู..ถึงบางอ้อ..เลยเรา ปลูกได้ประมาณ 3 เดือน ติดผลอ่อนๆใหญ่กว่าแก้วน้ำถึงสองเท่าเลยทีเดียว ถ้าโตเต็มที่มันจะขนาดไหน? และแล้วทุกขั้นตอนการปลูก อันเริ่มตั้งแต่การเพาะต้นกล้าและปลูกลงดิน จนกระทั่งติดผล ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 3 เดือนเศษๆ แอบบันทึกข้อมูลเก็บไว้ เตือนความจำ เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนทำเกษตร ไม่มากก็น้อยนะครับ

แนะนำวิธีเพาะเมล็ดอินทผาลัมอย่างง่ายๆ 7 วันเห็นผล

รูปภาพ
 “ อินทผาลัม  ไม้ประดับราคาแพง แถมราคาผลผลิตก็น่าดึงดูดใจ” นำมาฝาก สำหรับใครที่สนใจอยากจะปลูกอินทผาลัม เผื่อเอาไว้ สร้างรายได้ในอนาคต ขอแชร์ประสบการณ์ วิธีการเพาะเมล็ดออินทผาลัมย่างง่ายๆ เห็นผลภายในไม่เกิน 7 วัน.. เข้าชมได้ที่นี่เลยครับ .. รายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับต้น “อินทผาลัม” อินทผาลัม ไม่ใช่ไม้ประจำท้องถิ่นของบ้านเราหรอกนะครับ อันที่จริงต้นอินทผาลัมเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่งที่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ในสภาพอากาศแห้งแล้ง ก็คือในเขตที่มีอากาศร้อน อย่างเช่นในเขตทะเลทราย เพราะถิ่นกำเนิดของต้นอินทผาลัมจริงๆแล้ว อยู่ในแถบตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ อิหร่าน อาหรับ แอลจีเรีย จอร์แดน แต่ก็มีหลายพื้นที่ของประเทศไทยเรา ได้นำอินทผาลัมเข้ามาปลูกและก็สร้างรายได้กันเป็นกอบเป็นกำ ด้วยราคาผลผลิตที่แสนจะแพง ซึ่งการขยายพันธุ์อินทผลัมหลักๆนั้น เราสามารถทำได้ 3 วิธี คือ การเพาะจากเมล็ด การแยกหน่อจากต้นแม่ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการขยายพันธุ์อินทผาลัมที่จะทำให้เราประหยัดงบประมาณมากที่สุดก็เห็นจะเป็น “การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด” นี่เอง แต่ก็มีความเสี่ย

เริ่มต้นแผนเกษตรปี 2558 กับพืชเศรษฐกิจ “อินทผาลัม”

รูปภาพ
วางแผนปลูกอินทผาลัมในแบบฉบับของตัวเอง อินทผาลัม ตามแผนการทำเกษตรปีนี้ครับ หลังจากเมื่อสองปีก่อนได้ศึกษาค้นคว้าและทดลองปลูกผักหวานป่า ก็พอรู้แนวทางปลูกให้โตไวภายในไม่เกินสองปีเก็บขายได้เลย ก็ได้สวนผักหวานไว้ข้างบ้านขนาดประมาณ 1 งาน 80 กว่าต้น สรุปผลด้วยการทำเป็นวีดีโอแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจจะปลูก และในปีนี้ ( 2558) ขอเริ่มอินทผาลัมสักสองไร่เป็นพืชหลัก แซมด้วยผักหวานป่าตามแผนทำเกษตรที่ได้วางเอาไว้ และเมื่อ 4 วันก่อนก็ได้สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื้อถือได้มาสองสายพันธุ์คือ Deglet Nour (สายพันธุ์รับประทานผลแห้ง) จำนวน 100 เมล็ด และสายพันธุ์ Barhee (สายพันธุ์รับประทานผลสด) จำนวน 60 เมล็ด ขั้นตอนต่อไปก็คงเริ่มต้นเพาะเมล็ดให้งอก นำลงถุงเพาะชำ ส่วนผลจะออกมาเป็นต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมีย ค่อยลุ้นกันทีหลัง แต่จากข้อมูลที่ได้ศึกษามา การเพาะอินทผาลัมด้วยเมล็ดต้นกล้า 100 ต้นเราจะได้ต้นตัวเมียที่พร้อมให้ดอกออกผลประมาณ 50 % ก็ปลูกได้ประมาณไร่กว่าๆ ถือว่าคุ้มค่า โดยส่วนตัวถือคติอยู่อย่างหนึ่งว่า “ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือทำจริงๆประสบการณ์จะช่วยสอนให้เรารู้เอง” น่าจะไ

ประสบการณ์ปลูกผักหวานป่า..อยากเล่าให้ฟัง

รูปภาพ
“ประสบการณ์ปลูกผักหวานป่า..อยากเล่าให้ฟัง” Diary ส่วนตัวของผมเอง.. Click Here ผักหวานป่า ผักหวานป่าที่เห็นในภาพนี้ปลูกเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2557 ที่ผ่านมานี้เอง และก่อนที่เพื่อนๆจะได้อ่านเรื่องราวต่อไปนี้ ผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนนะครับว่า ผมไม่ใช่นักวิชาการ ผมไม่ได้เรียนจบเกษตร และผมก็ยังไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จทางด้านการทำเกษตร แต่ความรู้ทางด้านการเกษตรและทุกเรื่องราวของการทำเกษตรโดยเฉพาะการปลูกผักหวานป่าในวีดีโอที่ผมได้จัดทำออกมา ล้วนเป็นประสบการณ์จริงของผมเองไม่ได้ไป Copy ใครมา ถ้าผมไม่ได้ทำจริงๆ ผมคงไม่กล้านำมาบอกเล่าผ่านสื่อออนไลน์ให้ทุกคนได้ฟังหรอกนะครับ..เอาล่ะ..ทีนี้เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า..ขอย้อนอดีตไปเมื่อประมาณ 4 ปีก่อน ตอนนั้นผมก็เป็นพนักงานประจำอยู่บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์แห่งหนึ่งย่านสมุทรปราการเหมือนเพื่อนๆนั่นแหละครับ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ผมรักงานอิสระและรักการทำเกษตรมากกว่าการทำงานประจำ เพราะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ทำอย่างเป็นจริงเป็นจังสักกะที ก่อนตัดสินใจลาออกจากงานประจำ 1 ปี ผมก็ได้ค้นคว้าหาความรู้ทางด้านการเกษตรหลายอย่าง โดยเฉพาะเ

เศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักรอบบ้าน

รูปภาพ
ผมเคยได้ยินคำพูดอยู่คำหนึ่งที่เป็นของปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่ง (แถวๆ อ.บ้านแม่ระวาน จ.ตาก) คือท่านอาจารย์พงษ์ศิริ ต้องขออภัยที่ไม่ทราบนามสกุล ท่านเคยพูดเอาไว้ว่า “คนทำเกษตรส่วนใหญ่คิดแค่คำว่า “รวย” ก่อน คือมักจะทำตามๆกัน พอมีคนมาบอกหรือมาเล่าให้ฟังว่าปลูกพืชอย่างนั้นอย่างนี้ดี..ได้ไร่ละเป็นแสนๆ.. ก็เชื่อและทำตามๆกันไป ซึ่งล้วนเป็นแนวคิดที่ไม่ค่อยถูกต้อง อันที่จริงการทำเกษตรเราต้องคิดถึงคำว่า “รอด ก่อน รวย” คือเราต้องเอาตัวเองและพาครอบครัวให้รอดก่อนถึงจะรวยได้”   ปลูกผักรอบบ้าน ความหมายของท่านก็คือให้เราลองสำรวจค่าใช้จ่ายในแต่ละวันของเรา..ว่าเราซื้ออะไรบ้างในการทำกับข้าวกินแต่ละมื้อ..? จากนั้นให้มองดูบริเวณพื้นที่ว่างรอบๆบ้านหรือสวนของเราเอง อะไรพอปลูกได้ก็ปลูกมันลงไป อย่างเช่นว่าพืชผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ พริก มะเขือ ฟักทอง แตงกวา ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบกระเพา และใบโหระพา ล้วนเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายๆ โตไว และเป็นส่วนประกอบหลักในการทำอาหารทั้งสิ้น หรือถ้ามี ท่อ โอ่ง วงบ่อ ที่ไม่ได้ใช้ทำอะไร เราก็นำมาเพาะเลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ หรือจำลองทำเป็นโรงเรือน “เพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง” แบบม

หว่านกล้าข้างบ้านไม่ต้องง้อฝน

รูปภาพ
วิกฤตฝนแล้ง..จำลองแปลงนาหว่านกล้าข้างบ้าน ในสภาวะที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ นี่ก็ย่างเข้าเดือนสิงหาคมแล้ว ปีนี้ฝนแล้งเอามากๆ พืชผักที่ปลูกไว้ก็ทยอยแห้งเหี่ยวตายไปเกือบหมด แต่ถึงอย่างไรเรื่องการปลูกข้าวเอาไว้กินเองก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับคนทำเกษตรอย่างผมไม่เคยหยุดนิ่งและไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค ซึ่งปีนี้ก็ต้องเตรียมหว่านกล้าปลูกข้าวเหมือนทุกๆปี แต่ปีนี้แล้งจัด จึงต้องดัดแปลงพื้นที่แอ่งเล็กๆหลังบ้านให้เป็นแปลงเพาะกล้าหรือแปลงนาเล็กๆสำหรับหว่านกล้าเพื่อเตรียมปลูกข้าว เริ่มจากหาหน้าดินมากลบทับดินเก่าบางๆประมาณสองข้อมือจากนั้นก็เกลี่ยให้เสมอ เตรียมหว่านเมล็ดข้าวลงไป โรยทับด้วยแกลบเก่าที่เพิ่งไปเอามาจากโรงสี ให้หนาจนกลบเมล็ดข้าว หว่านเมล็ดข้าวโรยทับด้วยแกลบเก่า จากนั้นก็คลุมด้วยมุ้งเขียวป้องกันฝูงนกมารบกวน และเป็นการเก็บความชื้น ช่วยลดแรงน้ำที่รดไม่ให้กระทบเม็ดข้าวที่หว่านจนกระจัดกระจาย คลุมด้วยมุ้งเขียวป้องกันเมล็ดข้าวกระเด็นเวลารดน้ำ เป็นการป้องกันนกไปในตัว จากนั้นก็รดน้ำให้ชุ่มเหมือนเรารดน้ำพืชผักตามปกติ ขั้นตอนสุดท้ายก็คลุมด้วยมุ้งเขียวป้องกันนกมากินเมล็ดข้าวเปลือกและเป็น

ระบบน้ำหยดแบบประหยัดสุดๆ..ลงทุนเพียงแค่ 7 บาท..ลองทำดูนะ

รูปภาพ
เป็นวีดีโอแนะนำการทำ น้ำหยดแบบประหยัด ใสโคนต้นไม้ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ง่ายๆ ด้วยเงินลงทุนเพียงแค่ 7 บาทเท่านั้นเองครับ เพราะอุปกรณ์ที่จำเป็น ที่เราต้องซื้อก็มีเพียงสายยางเส้นเล็กๆราคาเมตรละประมาณ 5 บาท ส่วนอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งก็คือวาล์วปรับระดับออกซิเจนราคาประมาณ 2 บาท/ชิ้น รวมกันก็เป็นเงินลงทุนเพียง 7 บาทเท่านั้นเอง..ลองทำดูนะครับ

ปลูกผักหวานป่าอย่างไร? ให้โตไวและทนแล้ง..ต้องเข้ามาดู

รูปภาพ
เคล็ดไม่ลับ! ปลูกผักหวานป่าอย่างไร? ให้โตไวและทนแล้ง เป็นวีดีโอแนะนำวิธีการปลูกผักหวานป่าให้โตไวและทนแล้ง สามารถเก็บกินหรือขายได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ในแบบฉบับที่ผมได้ทดลองปลูกจริงๆ เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์จึงได้จัดทำเป็นวีดีโอแนะนำเก็บไว้ใน Chanel YouTube ของตัวเองและได้นำออกเผยแพร่เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจอยากจะปลูกผักหวานป่าไว้กินหรือจะปลูกในเชิงธุรกิจก็ได้นะครับ

วิธีเพาะเมล็ดผักหวานป่าคู่กับต้นแคบ้าน

รูปภาพ
วิธีเพาะเมล็ดผักหวานป่าคู่กับต้นแคบ้าน เป็นวีดีโอแนะนำวิธีการเพาะเม็ดผักหวานป่า (ที่มีรากงอกออกมาแล้วประมาณ 4 เซนติเมตร) โดยให้เรานำมาปักไว้ในถุงเพาะชำ พร้อมกับหยอดเมล็ดแคบ้านตามลงไป เป็นการปลูกคู่กันในถุงเพาะชำถุงเดียว เพื่อให้ต้นแคบ้านเป็นไม้พี่เลี้ยงของผักหวานป่าตลอดระยะเวลาการเจริญโตบางช่วงเท่านั้น พอผักหวานป่าเจริญเติบโตไปสักระยะ (มีเส้นรอบวงประมาณ 1 นิ้ว) เราก็สามารถตัดต้นแคทิ้งได้เลย ด้วยวิธีการปลูกผักหวานป่าแบบนี้ จะทำให้ผักหวานป่าเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีใบเขียวขจี โดยอาศัยกระบวนการทำงานของแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ไรโซเบียม” ที่มีอยู่ในปมรากของต้นแค ซึ่งการปลูกผักหวานป่าด้วยวิธีการที่ว่านี้ ภายใน 1 ปี 4 เดือนโดยประมาณ เราก็สามารถเก็บมารับประทานหรือเก็บขายได้เลย เป็นวิธีการที่ผมได้ทดลองและเห็นผลมาแล้ว จึงได้จัดทำเป็นวีดีโอแนะนำเก็บไว้ใน Channel You Tube ของตัวเอง และตั้งใจนำมาเผยแพร่ประสบการณ์นี้สู่โลกออนไลน์สำหรับคนที่สนใจแนวทางการปลูกผักหวานป่า ทุกขั้นตอนอธิบายไว้อย่างละเอียดในวีดีโอนี้แล้ว สามารถทำตามได้เลยครับ

วิธีเพาะเม็ดผักหวานป่าให้งอก 100 เปอร์เซ็นต์

รูปภาพ
วิธีเพาะเม็ดผักหวานป่าให้งอก 100 เปอร์เซ็นต์ การเพาะเม็ดผักหวานป่าให้งอก 100 % นั้น มีเคล็ดลับง่ายๆที่ผมได้ทดลองจากประสบการณ์จริงของผมเอง เริ่มจากให้เราเก็บเม็ดผักหวานป่าที่สุกดีแล้วจากต้นสดๆ รีบนำไปล้างเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้หมด เสร็จแล้วนำไปตากลมไว้หนึ่งคืน แนะนำให้ตากลมนะครับ เพราะการตากแดดจะทำให้เปอร์เซ็นต์งอกลดลง หลังจากเราตากลมไว้หนึ่งคืนแล้วให้เรานำกระบะเก่ามาเจาะรูเพื่อระบายน้ำ (ทำเป็นกระบะเพาะชำ) นำทรายมาเติมกระบะให้สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ จากนั้นนำเม็ดผักหวานมาปักลงไปประมาณครึ่งเม็ด รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยเศษฟาง นำไปวางไว้ในที่ร่ม ประมาณ 2 สัปดาห์ เม็ดผักหวานก็จะแทงรากออกมาเหมือนถั่วงอก จึงค่อยนำไปปักลงถุงเพาะชำ..ทุกขั้นตอนโดยละเอียดมีให้ชมในวีดีโอนี้แล้วครับ

เพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง 3 วันเก็บกินได้..ไม่เชื่อต้องลอง!!

รูปภาพ

สภาพปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช

5 ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช 1. สภาพน้ำหรือความชื้นในดิน เมื่อดินมีความชื้นลดลงหรือมีน้ำน้อยลง และเมื่อพืชเริ่มขาดแคลนน้ำ พืชดังกล่าวก็จะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก ( Abscisic acid) หรือ ABA มีผลทำให้ปากใบปิด การคายน้ำของพืช จึงลดลงตามไปด้วย 2. อุณหภูมิในอากาศ ในขณะที่ปากใบของพืชกำลังเปิดอยู่ และอุณหภูมิในอากาศเริ่มสูงขึ้น อากาศก็จะแห้งลง น้ำก็จะระเหยออกจากปากใบของพืชมากขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำมากขึ้นไปด้วย 3. ความชื้นในอากาศ ถ้าความชื้นในอากาศลดลงปริมาณน้ำในใบพืชและในอากาศมีความแตกต่างกันมากขึ้น จึงทำให้ไอน้ำแพร่ออกจากปากใบของพืชมากขึ้น ส่งผลทำให้พืชเกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย 4. ลม ลมที่พัดผ่านใบไม้มักจะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง ส่งผลให้ไอน้ำบริเวณปากใบของพืชแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น และในขณะที่ลมพัดผ่านผิวใบ มักจะนำความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำจากปากใบก็จะแพร่กระจายได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมพัดแรงเกินไปปากใบของพืชก็จะปิด 5. ความเข้มของแสง ปากใบของพืชจะเปิดมากขึ้นเมื่อความเข้มแสงสูงขึ้น และปากใบจะเปิดน้อยลงเมื่อความเข้มของแสงลดลง (ในกรณีที่พืชได้ร

ปากใบและการคายน้ำของพืช

รูปภาพ
ปากใบและการคายน้ำของพืช ปากใบของพืช ( Stomata ) คือรูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุม ( Guard cell) ที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ และมีหน้าที่สำคัญคือเป็นทางเข้าออกของน้ำและอากาศของพืชโดยตรง ซึ่งปากใบของพืชส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านล่างผิวใบของพืช เพราะเป็นที่รู้จักกันคือพืชต่างๆจะสังเคราะห์แสงได้ดีในช่วงที่มีแสงแดดมาก ปากใบจึงต้องอยู่ด้านล่างของพืช และผิวใบด้านบนของพืชก็จะมีสารคิวทินเคลือบอยู่หนา ซึ่งก็จะช่วยลดการคายน้ำออกทางปากใบพืชได้อีกทางหนึ่ง การคายน้ำของพืช การคายน้ำของพืช 1. คายน้ำผ่านทางปากใบ เราต่างรู้กันดีว่าพืชโดยส่วนใหญ่แล้ว จะสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ ( Transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ และจะทำการคลายน้ำผ่านทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำอีกทางหนึ่ง ซึ่งในบางเวลาที่มีความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง น้ำก็จะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังคงสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด ( hydathode) มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอ

ปุ๋ยพืชสดคืออะไร? ได้มาจากไหน?

รูปภาพ
ความหมายของ “ ปุ๋ยพืชสด ” สำหรับบทความนี้ผมขอทำความเข้าใจสำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับปุ๋ยพืชสด..ว่ามันคืออะไร..? และได้มาจากไหนกันแน่..? ซึ่งอันที่จริงแล้ว “ปุ๋ยพืชสด” จัดว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายซากพืชของจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ในขณะที่เราทำการไถกลบเศษพืช เช่น ตอซังข้าว ซังข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่วต่างๆเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดิน และทำการไถกลบในขณะที่พืชดังกล่าวยังเขียวสดอยู่และกำลังอยู่ในช่วงออกดอกพอดี เพราะช่วงเวลานี้เองที่พืชจะสะสมปริมาณธาตุอาหารต่างๆเอาไว้สูงมาก การไถกลบพืชสดก็เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และเพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดิน ต่อจากนั้นก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติทำการย่อยสลายกลายเป็นธาตุอาหารพืชและเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินในแปลงเพาะปลูกของเราต่อไปนั่นเอง ปอเทือง (ปุ๋ยพืชสด) พืชปุ๋ยสดหรือ ปุ๋ยพืชสด ที่นิยมปลูกทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพืชตระกูลถั่ว เพราะมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนแล้ง และยังมีคุณสมบัติพิเศษที่รากคือจะเป็นแหล่งอาศัยของแ

น้ำหยดแบบประหยัด ไม่ต้องลงทุนสักบาท! เชิญพิสูจน์ได้เลย

รูปภาพ
น้ำหยดแบบประหยัด ไม่ต้องลงทุนสักบาท ! เชิญพิสูจน์ได้เลย วีดีโอสาธิตวิธีการทำน้ำหยดแบบประหยัดที่ผมนำมาบอกเล่าให้ฟังนี้ เป็นแนวคิดและเป็นวิธีการส่วนตัวของผมเองนะครับ คือผมปลูกมะม่วงไว้ต้นนึง พอดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้งฝนทิ้งช่วงนานมากๆ ขี้เกียจรดน้ำ ก็เลยเกิดไอเดียทำน้ำหยดแบบประหยัด ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ผมมีอยู่แล้ว  โดยใช้หลักการของ “กฎแรงโน้มถ่วง” ของเซอร์ไอแซกนิวตัน ดึงเอาน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำผ่านสายยางเส้นเล็กๆ แล้วชะลอแรงดัน (การไหล) ของน้ำด้วยเศษผ้าชิ้นเล็กๆที่มัดปลายสายเอาไว้ จากนั้นก็ฝังไว้ใต้โคนต้นไม้ กดทับด้วยดินบริเวณโคนต้น ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้วล่ะ..ง่ายมั๊ย อีกอย่างหนึ่งผมเห็นว่าวีดีโอนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง จึงได้นำมาเผยแพร่ออกสู่โลกออนไลน์..ผิดพลาดประการใดคงไม่ว่ากัน..หรอกนะ

ปลูกผักหวานป่า 1 ปี 4 เดือนเก็บขายได้ ตอนจะตัดต้นแคออกช่วงไหนดี?

รูปภาพ
ปลูกผักหวานป่า 1 ปี 4 เดือนเก็บขายได้ ตอนจะตัดต้นแคออกช่วงไหนดี ? สำหรับวีดีโอนี้เป็นวีดีโอแนะนำที่ผมได้จัดทำขึ้นต่อเนื่องจากวีดีโอที่แล้ว (ปลูกผักหวานป่า 1 ปี 4 เดือนเก็บขายได้) ซึ่งมีเคล็ดลับบางอย่างที่ผมลืมบอกไป และเคล็ดลับที่ว่านี้ก็คือการสังเกตระยะการเจริญเติบโตของผักหวานป่า แล้วพิจารณาตัดต้นแคทิ้งไป เพื่อให้ผักหวานป่าได้รับแสงแดดและมีการเจริญเติบโตต่อไป

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงบำรุงดิน

ปุ๋ยหมักทำให้ดินดีได้อย่าไร? คุณเคยรู้หรือไม่ว่า “ ปุ๋ยหมัก ” ที่เราสามารถทำได้ง่ายๆ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น เป็นปุ๋ยชีวภาพที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง และมีประโยชน์ต่อพืชอย่างมาก เพราะถ้าเรามีการใช้ปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่อง จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินในแปลงปลูกของเราให้ดีขึ้น เพราะสารประกอบฮิวมัสในปุ๋ยหมักเป็นสารซึ่งแสดงอำนาจประจุลบ ซึ่งจะดูดยึดกับประจุบวก จะเป็นตัวช่วยดูดยึดธาตุอาหารพืชที่มีประจุบวกและยังมีผลให้อนุภาคดินเกาะตัวกัน นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยหมักยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินมีการระบายอากาศที่ดีขึ้น ส่งผลให้ระบบรากของพืชสามารถแผ่กระจายไปในดินได้อย่างกว้างขวาง ทำให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้มากขึ้น ด้วยคุณประโยชน์ของปุ๋ยหมักที่มีมากมายเช่น 1. ปุ๋ยหมัก ช่วยในด้านการซึมผ่านของน้ำและความสามารถในการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น  2. ปุ๋ยหมัก ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นได้ยาวนานกว่าในดินที่มีโครงสร้างไม่ดี 3. ปุ๋ยหมัก ช่วยควบคุมการเกิดชะล้างพังทลาย ( soil erosion )  ของหน้าดินได้ ที่มา : หนังสือการจัดการอินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มความอ

หน่วยการวัดที่ดินไทย

หน่วยการวัดที่ดิน สำหรับการวัดพื้นที่หรือการคำนวณหาพื้น ที่ดิน ของเรา โดยทั่วไปแล้วนั้น ตามหน่วยวัดพื้นที่ของไทยสมัยโบราณยังคงใช้กันจนกระทั่งปัจจุบัน   ซึ่งหน่วยวัดสามารถเทียบเป็นหน่วยวัดแบบตะวันตกได้ และข้อมูลการวัดที่ดินต่อไปนี้คือหน่วยวัดที่ดินไทยที่อ้างอิงจากกรมที่ดิน   (กระทรวงมหาดไทย) มีรายละเอียดดังนี้ครับ 1 ไร่ = 4 งาน 1 งาน = 100 ตารางวา 1 วา = 2 เมตร 1 ไร่ = 400 ตารางวา 1 ไร่ = 1600 ตารางเมตร หรือถ้าจะอธิบายให้ฟังกันง่ายๆ ก็คือ 100    ตารางวา   เท่ากับ    1    งาน 4     งาน   เท่ากับ   1   ไร่ หรือ    400    ตารางวา    เท่ากับ     1     ไร่ หรือถ้าหากเปรียบเทียบหน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก ก็คือ 1     ตารางวา   =   4    ตารางเมตร 1      งาน     =   400   ตารางเมตร หรือ   1   ไร่    =   1 , 600    ตารางเมตร อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.thailand-property-gate.com/th/measurements/