ปากใบและการคายน้ำของพืช
ปากใบและการคายน้ำของพืช
ปากใบของพืช
(Stomata) คือรูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุม (Guard
cell) ที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ และมีหน้าที่สำคัญคือเป็นทางเข้าออกของน้ำและอากาศของพืชโดยตรง
ซึ่งปากใบของพืชส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านล่างผิวใบของพืช เพราะเป็นที่รู้จักกันคือพืชต่างๆจะสังเคราะห์แสงได้ดีในช่วงที่มีแสงแดดมาก
ปากใบจึงต้องอยู่ด้านล่างของพืช และผิวใบด้านบนของพืชก็จะมีสารคิวทินเคลือบอยู่หนา
ซึ่งก็จะช่วยลดการคายน้ำออกทางปากใบพืชได้อีกทางหนึ่ง
การคายน้ำของพืช |
1. คายน้ำผ่านทางปากใบ
เราต่างรู้กันดีว่าพืชโดยส่วนใหญ่แล้ว จะสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ
(Transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่
และจะทำการคลายน้ำผ่านทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำอีกทางหนึ่ง
ซึ่งในบางเวลาที่มีความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง น้ำก็จะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง
ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังคงสูงอยู่
จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด (hydathode)
มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง
การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน (Guttation) ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้
พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่
2. คายน้ำผ่านทางรอยแตกที่ผิวของลำต้น
พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้ว
ยังสามารถสูญเสียน้ำในรูปของไอน้ำออกมาทางรอยแตกที่ผิวของลำต้นหรือที่เรียกว่า เลนทิเซล
(lenticels) ได้อีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปากใบพืชจะเปิดในช่วงเวลากลางวันเพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงและจะปิดในเวลากลางคืน แต่พืชอวบน้ำ เช่น กระบองเพชรที่เจริญเติบโตได้ดีในสถานที่แห้งแล้ง
ปากใบของพืชจำพวกนี้จะเปิดในเวลากลางคืน
และปิดในเวลากลางวันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ และพืชบางชนิดยังมีการปรับโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพในการดูดน้ำ
โดยมีรากแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างหรือมีรากหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น หญ้าแฝก พืชบางชนิดลำต้นและใบอวบน้ำเพื่อสะสมน้ำ
มีขนปกคลุมปากใบจำนวนมาก มีคิวทินหนาที่ผิวใบ
รูปร่างของใบมีขนาดเล็กลงหรือเปลี่ยนไปเป็นหนาม บางชนิดมีโครงสร้างที่ช่วยลดการคายน้ำ
เช่น ปากใบอยู่ต่ำกว่าระดับผิวใบ เช่น ปากใบของต้นยี่โถ เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น