โรคกาบใบแห้ง และโรคเมล็ดด่าง (เกิดจากเชื้อรา)

โรคกาบใบแห้ง และโรคเมล็ดด่าง (เกิดจากเชื้อรา)

โรคข้าวที่สำคัญ

ข้าวที่เป็นโรคกาบใบแห้ง ส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงระยะแตกกอถึงเก็บเกี่ยว      คือจะมีแผลเกิดที่กาบใบใกล้ระดับน้ำมีสีเขียวปนเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาล แผลอาจขยายใหญ่มากขึ้นและลุกลามขึ้นไปบนกาบใบข้าว และกาบใบธง กาบและใบข้าวจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด ยิ่งหากข้าวแตกกอมาก ต้นเบียดกันแน่น โรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น เพราะมีความชื้นสูง

โรคเมล็ดด่าง (เกิดจากเชื้อรา)

สำหรับข้าวที่เป็นโรคเมล็ดด่าง รวงข้าวจะมีลักษณะด่างดำ เมล็ดข้าวมีรอยแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำลายน้ำตาลสีเทาหรือทั้งเมล็ดบางเมล็ดลีบ และมีสีน้ำตาลดำทำให้ผลผลิตข้าวเสียหายมาก

ช่วงเวลาระบาด

ส่วนใหญ่แล้วมักพบการระบาดทุกฤดูการปลูกข้าว ในช่วงฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง มีหมอกจัดติดต่อกันหลายวันเป็นต้น

การป้องกันโรคข้าว

1. แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวใช้เมล็ดพันธุ์ของทางราชการ หรืออาจซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่เป็นโรค หากเลือกไม่ได้ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแช่น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากสมุนไพรไล่แมลงต่างๆ

2. แนะนำให้เกษตรกร งดปลูกข้าวที่มีสายพันธุ์ที่อ่อนแอกับโรคเมล็ดด่าง เช่น ข้าวพันธุ์ กข9  สุพรรณบุรี 60  สุพรรณบุรี 90  หอมคลองหลวง 1 เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้