โรคขอบใบแห้งและโรคใบหงิก

โรคขอบใบแห้ง  (เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย)

โรคข้าว

ส่วนใหญ่แล้วมักพบกับข้าวในระยะที่ยังเป็นกล้า คือจะมีจุดเล็กๆ ลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดดังกล่าวจะขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบข้าวจะแห้งเร็ว ส่วนที่ยังมีสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น และมักพบการระบาดมาก เมื่อมีฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ระดับน้ำในนาสูง หรือเมื่อเกิดมีน้ำท่วมนาข้าว

การป้องกันโรคขอบใบแห้ง

1. หากพบการระบาดในแปลงนาที่เป็นโรค ให้เกษตรกรทำการไถกลบตอซังข้าวหลังเก็บเกี่ยวทันที
2. ให้ทำลายพืชอาศัย เช่น หญ้าไซ ข้าวป่า เป็นต้น
3. ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานโรค เช่น ข้าวพันธุ์ กข7 กข23 สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2   หอมคลองหลวง1 หอมสุพรรณ ปทุมธานี1 สุรินทร์1 แพร่1 และข้าวพันธุ์สันป่าตอง1 เป็นต้น
4. ไม่ต้องระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคสู่แปลงข้างเคียง

โรคใบหงิก (เกิดจากเชื้อไวรัส)

สำหรับข้าวที่เป็นโรคใบหงิกจะมีอาการ ต้นเตี้ย แคระแกร็น ใบสีเขียวเข้ม ใบแคบและสั้นกว่าปกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียว หรือขอบใบแหว่งวิ่น เส้นใบบวมที่หลังใบ และกาบใบข้าวต้นที่เป็นโรคจะออกรวงช้า รวงไม่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบจะสูง พาหะนำโรคที่สำคัญคือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การป้องกันโรคใบหงิก

1. ทำลายพืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น ข้าวป่า ขาเขียด หญ้าข้าวนก  หญ้ารังนก และหญ้าไม้กวาดเป็นต้น

2. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวควรไถกลบตอซังที่เป็นโรคทันทีหลังการเก็บเกี่ยว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้