EM, น้ำ EM, หรือ น้ำหมักชีวภาพ คืออะไร?
EM (อีเอ็ม) คืออะไร?
อันที่จริงแล้วคำว่า “EM” เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท
อี เอ็ม คิวเซ จำกัด (www.emkyusei.com) ย่อมาจาก Effective
Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ถูกค้นพบโดยท่านศาสตราจารย์
Dr.Teruo Higa (เทรูโอะ ฮิหงะ) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาพืชสวน
แห่งมหาวิทยาลัยริวคิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอันที่จริงแล้ว
ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ท่านนี้ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องส้ม แต่ท่านไม่สามารถแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนส้มได้
แม้จะพยายามใช้ความรู้ความสามารถเพียงใดก็ไม่ได้ผล และในโอกาสนั้นเอง
ท่านได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะของท่านโมกิจิ โอกาดะ (เมซุซามะ) เกิดความสนใจในหนังสือเล่มหนึ่งของท่านโมกิจิ
โอกาดะ เขียนไว้เกี่ยวกับการเกษตรธรรมชาติ มีข้อความที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเกษตรที่ปลอดสารเคมี,
ภัยพิบัติของมนุษย์ชาติและธรรมชาติของโลก,
ความรักของธรรมชาติต่อสรรพสิ่งในธรรมชาติของโลก, และสิ่งมีชีวิตเล็กๆในดินมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล และที่สำคัญศาสตราจารย์ ดร.
เทรูโอะ ฮิหงะ ยังให้ความสนใจและยังได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง "ดินมีชีวิต" ตามแนวทางของท่านโมกิจิ
โอกะดะ บิดาแห่งการเกษตรธรรมชาติของโลก (ช่วงระหว่างปีพ.ศ.2425-2498) จากนั้นศาสตราจารย์
ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ได้เริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และได้ค้นพบความจริงเกี่ยวกับ
EM เมื่อปี
พ.ศ.2526จากการศึกษาค้นคว้าและทดลองของ ดร. เทรูโอะ ดังกล่าว ทำให้ท่านได้พบความจริงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมทั่วไป หรือที่เรียกว่า “จุลินทรีย์” ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายหลายล้านเท่าถึงจะมองเห็นได้ โดยพบว่ามี 3
กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มดี ไม่ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10%
2. กลุ่มทำลาย
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10%
3. กลุ่มที่เป็นกลาง
มีประมาณ 80% จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยสนับสนุนการทำงานของจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และยังแบ่งกลุ่มจุลินทรีย์ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Microorganisms)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Microorganisms
)
จุลินทรีย์ ทั้งสองกลุ่มนี้
ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นคว้าดังกล่าว
ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืช
สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Famillies)
10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies)
หลังจากนั้น ศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย
ซึ่งท่านเป็น ประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนาหรือคิวเซ (คิวเซ
แปลว่าช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
หลักของการทำน้ำ EM หรือน้ำหมักชีวภาพ คือการนำเอาจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์หรือกลุ่มดีให้มาอยู่รวมกันในปริมาณที่มากๆ
โดยใช้ตัวล่อคือการหมักวัสดุที่เป็นพืชสด ผลไม้สด หรือแม้กระทั่งเศษอาหารต่างๆ
รวมกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง เพื่อให้เป็นอาหารหรือแหล่งพลังของจุลินทรีย์
โดยการหมักทิ้งไว้ในที่ร่มสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยกรองเอาน้ำหมักที่ได้มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
ดังนี้
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ (ด้านการเกษตร)
1. ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ
เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี
ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
2. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
3. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
4.
ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช
พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ (ด้านการประมง)
1.
ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อเลี้ยงปลา ทำให้ไม่เน่าเหม็น อีกทั้งยังสามารถนำขี้เลนดังกล่าวไปผสมทำเป็นปุ๋ยหมักได้
2. ช่วยควบคุมคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
3. ช่วยรักษาโรคพยาธิและแผลต่าง
ๆ ของสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงของเราได้
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ (ด้านสิ่งแวดล้อม)
1. ช่วยขจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะได้
2. ช่วยย่อยสลายเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน
ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชได้
3. ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากแหล่งอุตสาหกรรม
อาคารบ้านเรือน โรงแรม หรือแหล่งน้ำเสียต่างๆให้คืนสภาพได้
การเก็บรักษาจุลินทรีย์
สามารถเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ
ไม่เกิน 46 – 50 C ได้นาน อย่างไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แต่ต้องปิดฝาให้สนิทไม่ให้อากาศเข้า
และไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และที่สำคัญทุกครั้งที่แบ่งจุลินทรีย์ไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิททันทีนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น