บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2014

วิธีไล่หนู ยุง แมลงสาบ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน อีกหนึ่ง ภูมิปัญญาชาว บ้านดีๆ ในการกำจัดและขับไล่สัตว์หรือแมลงอันไม่พึงประสงค์ที่มารบกวนหรือมาร่วมอาศัยอยู่ในบ้านของเราอย่างไม่ได้รับเชิญ เช่น หนู แมลงสาบ หรือแม้กระทั่งยุง คนสมัยก่อนไม่ได้ใช้ไบก้อนเขียว หรือกาวดักหนูเหมือนยุคปัจจุบัน แต่ใช้การกำจัดแมลงสาบด้วย ภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างง่ายๆ นั่นก็คือใช้พริกไทยเม็ดไปวางตามจุดต่างๆ ที่แมลงสาบชอบอาศัยอยู่ โดยวางไว้ตามมุมอับของบ้านจุดละ 4-5 เม็ดก็พอ และพอแมลงสาบได้กลิ่นก็ไม่มารบกวนเราอีกแล้วล่ะครับ เหตุผลก็เพราะว่ามันไม่ถูกกับกลิ่นพริกไทยนั่นเองครับ ส่วนวิธีกำจัดยุงและแมลงตัวเล็กๆด้วย ภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ให้มารบกวนเรานั้น คนสมัยก่อนเก่าเขาแนะนำเอาไว้ว่าให้นำการบูร มาห่อผ้าขาวทำเป็นห่อ แขวนไว้ใกล้ๆกับหลอดไฟ เพื่อให้ความร้อนจากแสงสว่างของหลอดไฟ เป็นตัวกระจายกลิ่นการบูรให้ค่อยๆ ระเหิดออกมา และกลิ่นการบูรที่ว่านี้ ก็ดันไม่เป็นที่พึงประสงค์ของยุงและแมลงต่างๆเสียด้วย สุดท้ายก็จะพากันบินหนีไปในที่สุดครับ และสุดท้ายเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการขับไล่หนู โดยไม่ต้องฆ่าให้เป็นบาปกรรม ด้วยวิธีง่ายๆ เพียงให้เราเอาน้ำมันระกำ

2 วิธีหลักในการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง

ปลูกข้าว ให้ได้ผลผลิตสูง วิธีในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ โดยเฉพาะ การปลูกข้าว อินทรีย์นั้น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรอย่างเราๆ โดยเฉพาะตัวผมเองซึ่งได้หันเหชีวิตจากลูกจ้างในกรุงมาทำเกษตรอิททรีย์อย่างจริงจัง ก็ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้ สังเกต และจดบันทึกข้อผิดพลาดต่างๆ เอาไว้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขในฤดูกาลปลูกรอบต่อๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพ และที่สำคัญต้องลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตให้ได้ และในวันนี้ผมก็มีอีกหนึ่งเทคนิคในการทำเกษตรดีๆมาฝาก เป็นเรื่องของ การปลูกข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การปลูกข้าว ที่นิยมทำกันจะมีอยู่ 2 รูปแบบก็คือ 1. การหว่านข้าวนาน้ำแห้ง เริ่มตั้งแต่การเตรียมดินสำหรับหว่านข้าวแห้งตั้งแต่ก่อนฝนตกครั้งแรก ให้ทำการไถกลบตอซังข้าว ไม่ต้องจุดไฟเผา จากนั้นให้ทำการหว่านปุ๋ยพืชสด เช่น ถั่วเขียวหรือปอเทือง แล้วทำการไถกลบในระยะออกดอกอีกครั้ง เสร็จแล้วให้ทำการไถพรวนอีกรอบ พลิกดินตากไว้ประมาณ 15 วัน เป็นการทำลายวัชพืชไปในตัว และเพื่อให้จุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายปอเทืองหรือปุ๋ยพืชสดให้กลายเป็นปุ๋ยในนาข้าวของเรา ทีนี้ก็ทำการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยน

เทคนิคเพิ่มผลผลิตข้าว โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี

เกษตรอินทรีย์   สู่วิถีที่ยั่งยืน คนเราคิดแล้วต้องทำในสิ่งที่ตัวเองคิดหรือวางแผนเอาไว้ให้ได้ หากคิดวางแผนแต่อย่างเดียวแล้วไม่ทำอะไรเลย ความคิดหรือแผนการณ์นั้นก็จะเป็นเพียงความเพ้อฝันไปวันๆ เท่านั้น ซึ่งอุดมการณ์ในการทำเกษตรของผม จะย้ำเตือนอยู่เสมอว่า “เราต้องทำ เกษตรอินทรีย์ ตามแนวพระราชดำริให้ได้”   ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิถีทางที่นำพาความสุข ความสบายใจ และเป็นวิถีที่ยั่งยืนปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของเราด้วย และในวันนี้ผมก็มีอีกหนึ่งเทคนิค เกษตร ดีๆ ในการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตข้าวมาฝากกันอีกเช่นเคย คือการปรับปรุงดินในแปลงนาหรือแปลงปลูกข้าวของเรา ด้วยการใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์เพื่อปรับค่าความเป็นกรดของดิน (ค่า PH ) ให้มีสภาพที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืช แต่ก่อนอื่นเราต้องหัดสังเกตสภาพดินในแปลงปลูกข้าวหรือแปลงนาของเราก่อนนะครับ ถ้าสังเกตเห็นว่าดินมีสีแดงคล้ายสีของสนิม นั่นแสดงว่าดินในแปลงปลูกของเราเป็นดินเปรี้ยวมาก ให้ทำการหว่านปูนขาวหรือโดโลไมท์เพื่อปรับสภาพดินเปรี้ยวในนาข้าวของเราก่อน โดยใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ในอัตรา 3 ถุง (70-75 กิโลกรัม) / 1 ไร่ (โดโลไมท์ถุงละ 25

สูตรหมักดินสำหรับเพาะต้นกล้า

เกษตรอินทรีย์ เทคนิคดีๆสำหรับ เกษตรอินทรีย์ ในวันนี้ ผมขอแนะนำสูตรหมักดินสำหรับเพาะต้นกล้าอย่างง่าย เอาไว้ใช้ในทางการ เกษตร และที่สำคัญเป็นสิ่งที่คนทำ เกษตร อย่างเราๆต้องเรียนรู้และศึกษาไว้ มีรายละเอียดดังนี้ครับ ส่วนผสมทั้งหมด มีดังนี้ 1. ดินละเอียด (ดินร่วน) 10 ส่วน 2. มูลสัตว์เก่า (ขี้วัว)   4 ส่วน 3. รำละเอียด 4 ส่วน 4. แกลบดำ 4 ส่วน 5. น้ำหมักชีวภาพ   1 ลิตร + กากน้ำตาล 2 + น้ำเปล่า (ไม่มีคลอรีน) 100 ลิตร ผสมให้เข้ากัน วิธีทำ : ให้นำส่วนผสมทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี กองไว้ในที่ร่ม จากนั้นให้รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ผสมแล้ว (ในข้อ 5) บนกองวัสดุให้ได้ความชื้นพอประมาณ 60 % หรือใช้มือกำวัสดุหมัก แล้วไม่มีน้ำซึมออกมาตามง่ามมือ แล้วแบมือออก หากวัสดุหมักยังเป็นก้อนเหมือนเดิมแสดงว่าใช้ได้ จากนั้นให้เราเกลี่ยวัสดุหมักให้กระจายเป็นกองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 7-10 วัน จะสังเกตเห็นว่ามีราสีขาวเกิดขึ้นเต็มไปหมด และมีกลิ่นหอม ก็สามารถนำไปใช้ได้แล้วครับ ส่วนวิธีใช้ก็ไม่ยาก เพียงแค่เรานำดินหมักชีวภาพมาผสมกับดินร่วนทั่วไป