บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2014

ทำให้เผือกหัวใหญ่ด้วยวิธีง่ายๆ

รูปภาพ
ทำให้เผือกหัวใหญ่ด้วยวิธีง่ายๆ เทคนิคเกษตร ทำให้เผือกหัวใหญ่ด้วยวิธีง่ายๆ ต้นเผือก เทคนิคเกษตร ในการทำให้เผือกหัวใหญ่ น้ำหนักดี ที่ได้เกริ่นนำข้างต้นนี้ เป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้าน จากศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ที่ผมได้ศึกษามาครับ ขออนุญาตนำเสนอ เผื่อเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ที่ปลูกเผือก ไม่ว่าจะปลูกไว้รับประทานภายในครอบครัว หรือทำเป็นธุรกิจ มีรายละเอียดง่ายๆ ดังนี้ครับ หัวเผือกสมบูรณ์ มีคุณภาพ เกิดจากการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี หลังจากที่เราปลูกเผือกได้ซักประมาณสองเดือน เผือกจะเริ่มแทงลูกด้านข้างรอบโคน จากนั้นให้ทำการขลิบลูกออก (ยาวประมาณ 1 คืบ) โดยขลิบทุกๆ 15-20 วัน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เผือกที่เราปลูกมีหัวขนาดใหญ่ ได้น้ำหนักดี และได้ลูกเผือกที่มีความสมบูรณ์ และราคาก็ต้องขยับขึ้นตามคุณภาพของผลผลิตแน่นอน..และที่สำคัญอย่าลืมติดตามเทคนิคเกษตรใหม่ๆ ในบทความต่อๆ ไปนะครับ

กำจัดเสี้ยนดินที่กัดกินถั่วลิสง ด้วยผลมะพร้าว

เทคนิคกำจัดเสี้ยนดินถั่วลิสง แบบชีวภาพ ด้วยผลมะพร้าว เทคนิคเกษตร ทำกับดักเสี้ยนดินด้วยผลมะพร้าว ส่วนใหญ่แล้วการแก้ปัญหาเสี้ยนดิน ที่กัดกินถั่วลิสง เกษตรกรจะใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ดูดซึมที่เรียกว่า ฟูราดาน ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับดิน ทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว แต่ในวันนี้ผมขอแนะนำเทคนิคดีๆ ที่อ้างอิงจากเอกสารประกอบการบรรยาย เกี่ยวกับ “องค์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้าน (ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน) ในการกำจัดเสี้ยนดิน ที่คอยกันกินถั่วลิสง มีรายละเอียดการแก้ปัญหาดังนี้ครับ 1. สำหรับการแก้ปัญหาเสี้ยนดิน จะทำในช่วงหลังจากไถเตรียมดินก่อนจะปลูกถั่ว โดยนำผลมะพร้าวแห้งมาปอกเปลือก แล้วใช้มีผ่าบริเวณหัวมะพร้าวให้เป็นรู เทน้ำมะพร้าวออกให้หมด (เรียกเทคนิคนี้ว่า “กับดักเสี้ยนดินภูมิปัญญาชาวบ้าน”) 2. ขุดหลุมลึกพอท่วมผลมะพร้าว แล้วนำผลมะพร้าวที่เตรียมไว้ วางตะแครงลงในหลุมกลบดินให้ท่วมผลมะพร้าว จากนั้นใช้ไม้ปักไว้ข้างหลุมเพื่อป้องกันการลืม ทิ้งไว้ 15 วัน นำมะพร้าวขึ้นมาเคาะเอาเสี้ยนดินออกกำจัดโดยการเผาไฟ จากนั้นก็นำมะพร้าวฝังกลบลงไปในดินตามเดิม ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง จนกว่าเสี้ยนดินจะหมดไป 3. อัตราส่วนของม

แก้ปัญหาถั่วลิสง “เม็ดไม่เต็มทุกข้อ”

รูปภาพ
เทคนิคแก้ปัญหาถั่วลิสงเม็ดไม่เต็มทุกข้อ เทคนิคเกษตร เพิ่มผลผลิตถั่วลิสง ปัญหาสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิงสง คือปัญหาผลผลิตไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือที่เราเรียกว่า “ถั่วลิสงเม็ดลีบหรือเม็ดไม่เต็มทุกข้อ” หรือแม้กระทั่งปัญหาถั่วลิสงไม่ลงฝัก ทำให้เกษตรกรไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร หรือผลผลิตไม่มีคุณภาพ เป็นเหตุให้ราคาตกต่ำตามไปด้วย สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิงสง ที่ประสบปัญหานี้ย่าเพิ่งท้อใจไปนะครับ เพราะในบทความนี้ผมมีสาระดีๆ ในการเพิ่มผลผลิตถั่วลิงสงมาฝาก และที่สำคัญเป็นแนวทางแบบชีวภาพ ไม่ต้องใช้สารเคมี หรือปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด..ไปติดตามพร้อมๆ กันเลยครับ ถั่วลิสง ปัญหาถั่วลิสงติดเม็ดไม่เต็มทุกข้อ แก้ไขได้โดย .. เตรียมปูนขาวหรือโดโลไมท์ (ใช้อัตราส่วน 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 4 ตารางเมตร หรือ 40 กิโลกรัม/ไร่) หว่านให้ทั่วแปลงที่เตรียมไว้ปลูกถั่วลิสง แล้วทำการไถกลบทิ้งไว้ 7 วัน หลังจากนั้นก็ทำการปลูกถั่วลิสงตามฤดูกาลปกติ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ถั่วลิสงมีเม็ดเต็ม สมบูรณ์ได้น้ำหนัก ได้ราคาดี แต่สำหรับเทคนิคนี้ให้ทำปีเว้นปีนะครับ คือห้ามทำซ้ำในปีที่สอง เพราะจะทำให้ดินเกิดภาวะความเป็

รู้ทันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว

รูปภาพ
ไขปัญหาต้นข้าวแคระแกร็น ใบหงิกงอ ใบแคบ ผลผลิตไม่เต็มรวง สำหรับปัญหาที่เกิดกับเกษตรผู้ปลูกข้าว ที่ได้เกริ่นนำข้างต้นนี้ เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยประสบพบเจอกันมาแล้ว และก็มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่รู้เหมือนกันก็คือปัญหาเหล่านี้เกิดจาก “เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” ครับ เพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถือว่าเป็นศัตรูที่สำคัญของข้าว โดยมีรูปร่างหน้าตาอยู่ 2 ลักษณะคือ ชนิดปีกยาวและปีกสั้น เป็นศัตรูพืชที่สามารถเคลื่อนย้ายหรืออพยพไปในที่ใกล้ๆ หรือที่ไกลออกไปได้ โดยอาศัยกระแสลมเป็นพาหะนำไป เพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม โดยจะวางไข่เรียงเป็นแนวตั้งฉากกับใบข้าว ต้นข้าวบริเวณที่มีการวางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะทำลายต้นข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำและท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวในระดับเหนือผิวน้ำ อีกทั้งยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ที่เป็นต้นเหตุของโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าวอีกด้วย ทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบข้าวจะแคบและสั้น ใบจะแก่ช้ากว่าปกติ ส่วนปลายใบข้าวจะบิดเป็นเกลียวขอบใบจะแหว่งวิ่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกัดกินต้นข้าว แนวทางป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แนะนำให้

ทำปุ๋ยหมักแบบง่ายๆ ไม่ต้องกลับกอง

รูปภาพ
สูตรทำปุ๋ยหมักไม่ต้องกลับกอง มาทำปุ๋ยหมักใช้..แบบไม่ต้องกลับกลองกันเถอะ สำหรับ   ปุ๋ยหมัก   สูตรนี้เป็นสูตรสำเร็จของผมเองครับ เป็นการทำปุ๋ยหมักแบบง่ายๆ ไม่ต้องกลับกลองให้เสียเวลา แต่ผลที่ได้ก็คือปุ๋ยหมักโดยทั่วไปที่เราใช้กันนั่นแหละครับ เพราะหลักการของการทำปุ๋ยหมัก คือการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศษฟางข้าว เศษหญ้า เปลือกถั่วต่างๆ มารวมกัน ผสมกับมูลสัตว์เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติทำการย่อยสลายจนกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เราเรียกกันว่า “ปุ๋ยหมัก” พอผมได้เข้าใจหลักการเพียงเท่านี้ ก็เลยคิดทำปุ๋ยหมักด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องยุ่งยาก เพียงแต่ทำให้ถูกหลักที่กล่าวข้างต้นก็พอ ไปดูวิธีการทำปุ๋ยหมักของผมกันดีกว่าครับ เริ่มจากเตรียมวัตถุดิบ มูลสัตว์บรรจุกระสอบขนาด 50 กก. พอดีว่าแถวบ้านผมเขาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กันมาก ก็พอมีเศษเปลือกข้าวโพดที่เหลือจากการโม่ ให้ได้นำมาเป็นวัตถุดิบทำปุ๋ยหมักอยู่บ้าง แต่หลักๆที่ผมใช้..มีดังนี้ (คำนวณเอาปริมาณเพื่อให้ได้ปุ๋ยหมัก 1 ตัน) หัวเชื้อ Em วัตถุดิบหลักที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก - มูลสัตว์ (ขี้วัว) 25 กระสอบ

ปลูกข้าวแนวใหม่ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี

รูปภาพ
เทคนิคเกษตร ปลูกข้าวโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เทคนิคเกษตร ผมเชื่อว่าหลายคนที่ทำเกษตร ต่างพบเจอปัญหาแบบเดียวกันครับ นั่นก็คือเกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชต่างๆ ที่นับวันราคายิ่งสูงขึ้นตามค่าครองชีพของคนเมือง แต่เกษตรกรอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องก้มหน้าแบกรับภาระค่าใช้จ่าย แบบจำทน จำยอมโดยไม่มีข้อยกเว้น ทำเกษตรทฤษฏีใหม่ ลดใช้ปุ๋ยเคมี บทความเกษตรวันนี้ ผมก็มีสาระดีๆมากฝากกันอีกเช่นเคยครับ เป็นเทคนิคเกษตรที่ผมได้ทดลองแล้ว ได้ผลเกินคาด จากพื้นที่ปลูกข้าว 2 ไร่ ก่อนเคยใช้ปุ๋ยเคมี แล้วได้ข้าวเพียง 65 ถัง แต่หลังจากได้ศึกษาและทดลองทำเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แถมยังลดพื้นที่ปลูกข้าวลงเหลือ 1 ไร่ กลับได้ข้าว 90 ถัง เป็นที่น่าพอใจ แบบนี้ต้องแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้เพื่อนเกษตรกรได้นำไปทดลองทำบ้าง มีรายละเอียดดังนี้ครับ ก็ไม่มีอะไรมากครับ หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วไม่ต้องเผาทำลายตอซังข้าวนะครับ ให้ปลูกพืชตระกูลถั่วในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม (ผมใช้ถั่วเขียว 5 กก.ต่อ 1 ไร่) เมื่อถึงระยะที่ถั่วเขียวออกดอก หรือประมาณ 45 วันหลังการปลูก ให้เกษตร

เมนูเด็ดจากหอยเชอร์รี่

รูปภาพ
เมนูเด็ดจากหอยเชอร์รี่ หอยเชอร์รี่ อุปสรรคที่สำคัญของการปลูกข้าว นั่นก็คือปัญหาหอยเชอร์รี่กัดกินต้นข้าวตอนที่ผมมาอยู่บ้านและทำนาข้าวปีแรก มีแปลงนาอยู่แปลงหนึ่ง เป็นแปลงที่มีน้ำขังอยู่ตลอด และแน่นอนครับเจ้าสัตว์น้ำกึ่งดินไข่สีส้มอมแดง มีให้เห็นทุกซอกทุกมุม กัดกินต้นข้าวเสียหายเกินครึ่ง แต่ด้วยใจรักในเกษตรแบบชีวภาพ ผมจึงไม่อยากจะใช้สารเคมีมากำจัดสักเท่าไหร่ ลองสอบถามคนที่เขาปลูกข้าวและเจอปัญหาเดียวกัน ก็ได้คำตอบเพียงอย่างเดียวว่า “โฟลิดอน” โอ้ว..ไม่ขอเสี่ยงครับ หาทางแก้ไขแบบปลอดภัยดีกว่า ก็ได้ค้นคว้าหาความรู้ทั้งจากตำหรับตำรา จากสื่ออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์เกษตรต่างๆ และได้ทดลองทำตามเทคนิควิธีที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา ผลปรากฏว่า เดี๋ยวนี้หอยเชอร์รี่เป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปแล้วครับ วิธีกำจัดหอยเชอร์รี่ที่ผมได้ทดลองทำตั้งแต่เริ่มแรกปลูกข้าว และเป็นวิธีที่ได้ผล ผมไม่เก็บไว้คนเดียวแน่ครับ..มาดูกันเลย ตอนแรกเลยคิดอะไรไม่ออก ก็เลยจับหอยเชอร์รี่มาหมักทำน้ำหมักใส่นาข้าวซะเลย แต่ตัวใหนโตหน่อยก็ต้มให้สุกแกะส่วนตาออก ยำใส่ตะใคร้ ปรุงรสด้วยมะนาว น้ำปลา พริกสดหั่น หอมแดงซอยเป็นแว่น คน