สังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชด้วยสายตา

เกษตร
เทคนิคเกษตร:การสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชด้วยสายตา
 
ธาตุอาหารต่างๆที่พืชดูดซึมมาใช้ ปกติก็จะมาจากดินและปุ๋ยต่างๆที่ให้โดยดูดซึมได้ ทั้งทางใบและราก เพื่อการพัฒนาส่วนต่างๆของพืชตามความต้องการธาตุต่างๆ ประมาณ 16 ธาตุ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักใหญ่ๆ ดังนี้

1.ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยม
2.ธาตุอาหารรอง  ประกอบด้วย แคลเซี่ยม แมกนิเซี่ยม ซัลเฟอร์(กำมะถัน)
3.ธาตุอาหารเสริม  ประกอบด้วย โบรอน ทองแดง เหล็ก โบลิบดินั่ม แมงกานีส สังกะสี อะลูมินั่ม

ธาตุอาหารหลัก จะเป็นส่วนที่พืชต้องการปริมาณมากและขาดไม่ได้ 
ธาตุอาหารรอง จะเป็นส่วนที่พืชมีความต้องการลดน้อยลงมาจากธาตุอาหารหลัก 
ธาตุอาหารเสริม จะเป็นส่วนที่พืชต้องการน้อยมาก แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่า ธาตุหลัก ธาตุรอง 

โดยสรุป พืชมีต้องการธาตุอาหารทั้งหมด เพียงแต่ต้องการมาก-น้อยตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงความเจริญเติบโต ซึ่งหากขาด ไม่ได้รับหรือได้รับไม่เพียงพอ พืชก็จะแสดงอาการให้เห็นและจะเกิดผลเสียหายได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการต่างๆเหล่านี้เป็นเบื้องต้นด้วยสายตา เพื่อการวิเคราะห์และสามารถจัดหาธาตุุึอาหารนั้นๆ มาให้พืชได้ทันความต้องการ

ลักษณะของพืชเมื่อขาดหรือได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ

หากพืชขาดธาตุไนโตรเจน 
จะแสดงอาการ ใบเหลือง ต้นเหลือง ไม่มีการแตกกิ่งแตกตา นานเข้าใบจะร่วง ต้นจะลีบเล็ก การเจริญเติบโตช้า ผลผลิตจะต่ำ ไม่มีคุณภาพ เช่น เมล็ดลีบ น้ำหนักเบา ไม่ได้รสชาติ
ฟอสฟอรัส ใบล่างจะมีสีเหลือง สีม่วง สีแดงปะปน ขนาดใบก็จะเล็กกว่าปกติ ส่วนใบที่มีสีเขียวก็จะร่วงก่อนกำหนด การออกดอกจะช้า และมีน้อยไม่สมบูรณ์ พืชจะต้นเล็กแคระ ลำต้นหรือเถาจะบิดเป็นเกลียว ไม่แข็งแรง ล้มง่าย
หากพืชขาดธาตุโพแตสเซี่ยม   
ขอบใบล่างของพืชจะมีสีเหลือง แล้วกลายเป็นสีน้ำตาลจนเหี่ยวแห้งร่วงลงจากต้น พืชโตช้า ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ขนาดผลเล็กกว่าปกติ ผลไม่มีความหวาน หรือมีแป้งน้อยน้ำหนักเบา ภูมิต้านทานโรคก็อ่อนแอ ล้มง่าย
หากพืชขาดธาตุแคลเซี่ยม 
ขอบใบม้วนและขาดเป็นริ้ว มีสีน้ำตาลหรือแห้งขาวหรือเป็นจุดตามขอบใบ ยอดอ่อนค่อยๆตาย ส่วนของใบอ่อนก็จะบิดเบี้ยว ผลผลิตเสียหาย เช่นแตกเป็นรอยฉีก ใบและลำต้นฉีกขาดการเจริญเติบโต ทางยอด ปลายราก หรือระบบรากจะช้า จึงทำให้รากมีน้อย
หากพืชขาดธาตุแมกนีเซี่ยม  
ใบล่างของพืชมีสีเหลืองแม้ว่าเส้นใบยังมีสีเขียวอยู่ นานเข้าจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือน้ำตาล หรือจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ใบจะเปราะ หักง่าย และค่อยๆตาย
หากพืชขาดธาตุซัลเฟอร์ (กำมะถัน)    
จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง เพราะธาตุนี้มีส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณน้ำมันในพืชโดยเฉพาะพืชน้ำมัน อาการคล้ายกับการขาดธาตุไนโตรเจน แต่จะเกิดกับใบและยอด ออกดอกมากแต่ไม่ติดผล เนื้อผลมีกากมาก
หากพืชขาดธาตุโบรอน  
ลำต้นและกิ่งก้านของพืชเปราะ หักง่าย ไม่แข็งแรง ยอดของกิ่งก้านและก้านจะแห้งตาย ท่อน้ำเลี้ยงผิดปกติ การส่งอาหารผ่านท่อน้ำเลี้ยงไม่ดี ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ไส้และแกนกลางลำต้น/ผล จะเน่า
หากพืชขาดธาตุทองแดง   
พืชแคระแกรน ไม่โต กิ่งจะแสดงอาการออกมาก่อนส่วนอื่น สีใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเข้มเป็นสีเขียวอมน้ำเงิน ขอบใบจะม้วนงอขึ้น ใบอ่อนที่ส่วนยอดจะมีสีเหลืองและร่วง รวมทั้งปลายกิ่ง จะมียางเหนียวผุดขึ้นระหว่างเปลือก และเนื้อไม้ของกิ่งบริเวณใกล้กับฐานของก้านใบ หากเกิดยอดใหม่ที่ปลายใบก็จะเกิดเป็นกระจุกและตาย ผลจะแตกปริ มียางสีน้ำตาลซึมออกมา ผลจะหลุดร่วงก่อนแก่
หากพืชขาดธาตุเหล็ก   
ใบอ่อนมีสีขาวเหลืองและซีด โดยเริ่มจากขอบใบขยายเข้าสู่วงใน และจะตายจากยอดลงมาถึงใบล่าง ข้อ/ปล้องระหว่างใบสั้น นอกจากนั้นจะส่งผลให้พืชขาดธาตุคลอโรฟิลล์
โมลิบดินั่ม   ขอบใบของพืชม้วนงอขึ้น ใบหนาสีเขียวอมเทา บางครั้งขอบใบมีสีแดง โดยเริ่มจากโคนไปหายอด
หากพืชขาดธาตุสังกะสี  
มีผลทำให้การใช้ออกซิเจนของพืชน้อยลง การเจริญเติบโตทางสูงจะช้าลง ใบจะมีขนาดเล็ก แคบและมีสีเหลือง ลำต้นของพืชจะสั้นป้อม ไม่ค่อยออกดอก ผลสีซีด เปลือกหนา เนื้อหยาบ มีน้ำน้อย
เมื่อกล่าวโดยสรุป การขาดหรือมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ จะเป็นเป็นเหตุให้การเจริญเติบโตของพืชช้าลงถึงชะงัก กิ่งก้านจะแห้งเหี่ยว ใบจะมีสีเหลืองและสีอื่นปะปน ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ ผิดออกไปจากปกติ ทางแก้ไข ก็ไม่ยากเกินกว่าที่คิด เพราะการขาดธาตุอาหารของพืชไม่ใช่เป็นการเกิดโรคระบาด ที่เกิดขึ้นทีเดียว สามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งสวนได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่การขาดธาตุอาหารเป็นการเกิดเฉพาะต้น ซึ่งก็เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า อาหารที่พืชต้องการนั้นเริ่มขาดแคลน จึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า พืชผิดปกติเกิดจาก โรค/ศัตรู พืชเข้าทำลาย หรือ เกิดจากการขาดธาตุอาหาร
การให้สารอาหารแก่พืช ทั้งธาตุหลัก รองและเสริม นั้น ควรให้ในลักษณะ ถูกจังหวะความต้องการของพืช ตรงเวลาและสม่ำเสมอ ให้น้อยๆ อย่าให้มาก โดยเน้น สารอาหารจากอินทรียวัตถุและปุ๋ย/ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์เป็นตัวเสริมอีกทางครับ
ที่มา:เกษตรพอเพียง.คอม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้