6 ขั้นตอนการบำรุงรักษาดิน

เกษตร
 
6 ขั้นตอนการบำรุงรักษาดินเพื่อทำการเกษตร

ดิน ถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่า เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ตั้งของป่าไม้ และเป็นแหล่งกำเนิดอาหารของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ แต่เนื่องจากดินเพื่อใช้ในการเกษตรมีการเสื่อมสภาพได้ง่ายมาก เราจึงควรรู้วิธีบำรุงรักษาดินเอาไว้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ป้องกันไม่ให้ดินเสื่อมโทรม

6 ขั้นตอนการบำรุงรักษามีดังนี้

1.ไถพรวนดินอย่างถูกวิธี
เป็นการกลับดินเพื่อทำให้อากาศและน้ำแทรกลงไปในดินได้ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพืช การพรวนดินเป็นการเพิ่มอากาศให้แก่ดิน และที่สำคัญไม่ควรใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่เหยียบย่ำดินมากจนเกินไป ควรมีการไถดินให้ลึก เมื่อดินมีชั้นดินดานตื้นเท่านั้น

2.การรักษาความชุ่มชื้นในดิน
เราสามารถรักษาความชื้นในดินได้โดย ใช้ฟางหรือใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นคลุมดินเอาไว้ การปลูกพืชคลุมดินไม่ให้ผิวดินว่างเปล่า ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้อย่างดี

3.การทำนาขั้นบันได
เมื่อพื้นที่เป็นที่ลาดเอียงมาก ๆ ก่อนที่เราจะปลูกพืชควรมีการปรับพื้นที่ให้เป็นขั้นบันไดเสียก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดน้ำไหลบ่า เป็นการช่วยป้องกันการพังทลายของดิน จากฝนที่ตกหนักได้อีกด้วย 

4.ใส่ปุ๋ยลงในดินบ้าง
เป็นการเพิ่มธาตุอาหารหลัก ที่จำเป็นสำหรับพืชให้แก่ดิน ควรมีการใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมักร่วมกัน โดยปุ๋ยเคมีจะเน้นการเพิ่มเติมธาตุอาหารให้แก่พืช ส่วนปุ๋ยอินทรีย์จะเน้นในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีเช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยพืชสด หมายถึง การปลูกพืชตระกูลถั่ว เมื่อถั่วโตขึ้นกำลังออกดอกก็ทำการไถกลบเป็นปุ๋ย หลังจากนั้นก็ปลูกพืชไร่ เช่นข้าวโพดตามทันที ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นก็ได้แก่ สารประกอบทางเคมีที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมเช่น ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ เมื่อละลายน้ำจะปลดปล่อยธาตุอาหารที่พืชต้องการ และรากพืชสามารถดูดกินได้ทันที

5.ปลูกพืชหมุนเวียนบำรุงดิน
การปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือปอเทือง จะช่วยให้ดินฟื้นตัวกลายเป็นดินดี มีความอุดมสมบูรณ์ ดินที่มีธาตุอาหารอยู่น้อย ก็ใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการของพืช
             
การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ปลูกข้าวโพดหมุนเวียนกับการปลูกพืชตระกูลถั่ว กล่าวคือ แบ่งพื้นที่ปลูกเป็น ๒ แปลง แต่ละแปลงปลูกสลับกัน ระหว่างข้าวโพดและพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว การปลูกพืชสลับกันดังกล่าว จะทำให้การเสื่อมโทรมของระดับธาตุอาหารในดินเกิดขึ้นช้าลง

6.ไถกลบตอซัง
สำหรับนาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว ควรใช้ตอซังต้นข้าว หรือต้นข้าวโพดให้เป็นประโยชน์แทนที่จะเผาไฟ หรือเอาออกทิ้งไปนอกแปลง

สำหรับตอซังข้าว หรือข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวผลผลผิตแล้ว เราควรไถกลบลงไปในดิน เป็นการเพิ่มธาตุในโตรเจนในดินได้อีกด้วย และมีรายงานจากนักวิชาการว่า การหมักฟาง 15 – 20 วัน แล้วทำการไถกลบก่อนการปลูกข้าวตามปกติ จะช่วยให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 % เลยทีเดียว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้