การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษขยะเหลือใช้

เกษตร
เทคนิคเกษตร:การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษขยะเหลือใช้ในไร่สวน หรือครัวเรือน

วัสดุที่ต้องเตรียม

1.เศษผัก เศษผลไม้ เศษขยะอินทรีย์ต่างๆ  3 ส่วน
2.น้ำตาล หรือ กากน้ำตาล  1 ส่วน
3.น้ำสะอาด หรือน้ำมะพร้าว 10 ส่วน 

วิธีทำ
นำเศษผักผลไม้มาย่อยให้มีขนาดเล็ก  แล้วนำน้ำตาลหรือกากน้ำตาลมาคลุกให้ทั่ว  ทิ้งไว้สัก 1 คืน แล้ว เทน้ำลงไป หมักทิ้ง ไว้ 30 วัน ก็สามารถนำน้ำหมักนั้น ไปใช้ได้ โดยอัตราส่วนที่แนะนำ คือ  น้ำหมัก 1ส่วน ต่อน้ำเปล่า 500-1000 ส่วน

ข้อควรระวังในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
1. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะที่ใช้หมักให้สนิทชนิดที่อากาศเข้าไม่ได้ เพราะอาจเกิดการระเบิดได้ เนื่องจากในระหว่างการหมักจะเกิดก๊าซขึ้นมาจำนวนมาก เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ฯลฯ

2. ภาชนะที่ใช้หมักต้องไม่ใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะปุ๋ยน้ำชีวภาพจะมีฤทธิ์เป็นกรด (Ph=3-4)ซึ่งจะกัดกร่อนโลหะให้ผุกร่อนได้  

ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ(น้ำสกัดชีวภาพ)

1. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิดเช่นกล้วยไม้ อาจมีผลทำให้ภาชนะที่ใช้ปลูกคือกาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควรทำให้ต้องเสียเงินในการเปลื่ยนภาชนะปลูกใหม่

2. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชนั้นในดินจะต้องมีอินทรียวัตถุอยู่ เช่น มีการใส่ปุ๋ยหมัก เศษพืชแห้งคลุมดินไว้จึงจะทำให้การใช้ประโยชน์จากน้ำชีวภาพได้ผลดี

3. ห้ามใช้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในคำแนะนำเพราะอาจมีผลทำให้ใบไหม้ได้ เนื่องจากความเป็นกรดหรือความเค็มในน้ำสกัดชีวภาพ ดังนั้นจึงควรเริ่มทดลองใช้ในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆก่อน

4. น้ำสกัดชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนสูง ๆ ต้องระวังในการใช้เพราะหากใช้มากไปอาจทำให้พืชเฝือใบและไม่ออกดอกออกผลได้

5. ในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืช พืชมีความต้องการสารอาหารในระดับที่แตกต่างกัน น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสารอาหารที่แตกต่างกันเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ค้นคว้าทดลองเองและเก็บข้อมูลไว้ว่าในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต พืชต้องการน้ำสกัดชีวภาพสูตรใด ความเข้มข้นเท่าใดและระยะเวลาในการฉีดพ่นเท่าใด ไม่มีใครให้คำตอบที่ดีและถูกต้องสำหรับสวนหรือไร่นาของท่านได้ ยกเว้นท่านจะทำทดลองใช้ สังเกตอาการของพืชหลังจากใช้และปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับพืชของท่านต่อไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้