บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2011

หญ้าแฝกสารพัดประโยชน์

รูปภาพ
ประโยชน์ของหญ้าแฝก เทคนิคเกษตร : สารพัดประโยชน์ของหญ้าแฝก ประโยชน์ของหญ้าแฝก,  หญ้าแฝก   จัดเป็นหญ้าเขตร้อนที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vetiveria zizanioides กระจัดกระจายทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยจะพบหญ้าแฝกขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ทั่วไปจากที่ลุ่มจนถึงที่ดอน สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด เป็นพืชตระกูลหญ้าขึ้นเป็นกอหนาแน่น เจริญเติบโตโดยการแตกกออย่างรวดเร็ว เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 0.5 ถึง 1.5 เมตร ลักษณะใบแคบยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 75 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ค่อนข้างแข็ง หากนำมาปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวขวางแนวลาดเทของพื้นที่ กอซึ่งอยู่เหนือดินจะแตกกอติดต่อกันเหมือนรั้วต้นไม้ สามารถกรองเศษพืชและตะกอนดิน ซึ่งถูกน้ำชะล้างพัดพามาตกทับถมดินติดอยู่กับกอหญ้าเกิดเป็นคันดินตามธรรมชาติได้ หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึกเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าออกทางด้านข้างและมีจำนวนรากมากจึงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี รากจะประสานติดต่อกันแน่นหนาเสมือนม่านหรือกำแพงใต้ดิน สามารถกักเก็บน้ำและความชื้นได้ ระบบราก

9 สายพันธุ์ข้าวเจ้าสำหรับปลูกเพื่อการค้า

รูปภาพ
เกษตร พันธุ์ข้าวเจ้าส่งเสริมที่นิยมปลูกเพื่อการค้าในปัจจุบัน เกษตร 1. พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง  (ชัยนาท 1)   เป็นข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 110 วัน   ลักษณะเฉพาะ   -มีเมล็ดยาว คุณภาพดี   จุดอ่อนของสายพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อีกทั้งยังไม่ทนต่ออากาศหนาวเย็นในช่วงข้าวตั้งท้อง และออกดอก 2. พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง (สุพรรณบุรี 1)   เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุการเกี่ยวเกี่ยวประมาณ 115 วัน   ลักษณะเฉพาะ - ให้ผลผลิตสูง ค่อนข้างต้านทานโรค และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล - ทนต่ออากาศหนาวเย็นในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง จุดอ่อนของสายพันธุ์ ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และใบจุดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างล้มง่าย   3. พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง (สุพรรณบุรี 3) เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าที่ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุการเก็บเกี่ยว 110 วัน ลักษณะเฉพาะ - ให้ผลผลิตสูง - ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี - ทนต่ออากาศหนาวเย็นในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง จุดอ่อนของสายพันธุ์ -ไม่ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเม

การทำข้าวเม่า

รูปภาพ
เกษตร การทำข้าวเม่า (ของแซ่บคนอีสาน) ใหนๆก็พูดถึงแต่เรื่องข้าวมาหลายวันแล้ว วันนี้ขอคุยเรื่องการทำข้าวเม่าซะหน่อยคงไม่ว่ากันนะครับ สำหรับคนอีสานแล้วเมื่อพูดถึงข้าวเม่าก็ต้องร้อง..อ๋อ..แม่นแล้ว..กันเลยทีเดียว ผมเป็นอีกคนหนึ่งครับที่ชอบรับประทานข้าวเม่า พูดง่ายๆ ก็คือชอบกิน ติดใจในความหอม รสชาติที่นุ่มนวลของข้าวเม่านั่นเอง แต่ไม่รู้เขาทำกันอย่างไร พอดีไปเจอข้อมูลดีๆ ก็เลยเก็บเอามาจดบันทึกไว้ทำเองซะเลย แถมแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนได้ไปลองทำอีกด้วยครับ ข้าวเม่า ข้าวเม่า เป็นขนมไทยที่นิยมกินกันมาตั้งแต่โบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย ซึ่งจะมีข้าวเม่าทอดอยู่ด้วย ได้มีการประยุกต์ข้าวเม่าได้หลายแบบ เช่น ข้าวเม่าบดโดย ใช้ข้าวเม่าใหม่คั่วให้หอมแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หยดหัวกะทิลงบนข้าวเม่าที่ กรองไว้ กะทิจะผสมข้าวเม่าเป็นก้อน หรือ ข้าวเม่าราง คือข้าวเม่าที่นำมาคั่วจนพองแล้วกินกับน้ำกะทิ ภายหลังมีผู้คิดทำข้าวเม่ารางแบบแห้ง คือใส่กุ้งแห้ง เต้าหู้ทอด หรือใส่น้ำตาลทรายถ้าเป็นแบบหวาน หรือข้าวเม่าทอดเป็นข้าวเม่ากวนกับน้ำตาลผสมกับแป้งพอก กล้วยไข่ทั้งลูกแล้วทอด บางท้องถิ่นเรียก ก

พันธุ์ข้าวเหนียวส่งเสริมเพื่อการค้า

รูปภาพ
เกษตร พันธุ์ข้าวเหนียวส่งเสริมเพื่อการค้า สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อการค้า หรือเพื่อเก็บไว้รับประทานเองแล้ว ประเด็นหลักๆเลย คือต้องจำแนกพันธุ์ข้าว หรือมีความรู้เรื่องพันธุ์ข้าวที่ตัวเองปลูก ไม่มากก็น้อยครับ เพื่อจะได้ปรับปรุงหรือเพาะปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงตามช่วงฤดูกาล และตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก สำหรับพันธุ์ข้าวที่จะแนะนำในวันนี้เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว 2 สายพันธุ์ ที่นิยมปลูกเพื่อการค้าในปัจจุบันครับ 1.ข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 120 -125 วัน ข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 ลักษณะเฉพาะ 1. ผลผลิตสูง 2. ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง 3. ปลูกได้ตลอดปี ข้อควรระวัง สำหรับเกษตรกรผู้ปลูก 1.ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม 2.ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและบั่ว 2.พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง  กข6 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวช่วง 20 พฤศจิกายน พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง  กข6 ลักษณะเฉพาะ - คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีกลิ่นหอม ข้อควรระวัง สำหรับเกษตรกรผู้ปลูก 1.ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2.ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบหงิก

เผาตอซัง..ส่งผลเสียมากกว่าได้

เกษตร เผาตอซัง..ส่งผลเสียมากกว่าได้ สวัสดีครับ สำหรับชุมชนคนรักเกษตรทุกท่าน กิจกรรมของเกษตรกรชาวนาทำหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว ก็คือการเผาฟางข้าวทิ้งในแปลงนา ด้วยความเข้าใจว่าการเผาฟางจะเป็นการตัดวงจรของโรคและแมลง โดยเฉพาะหนอนกอที่ซ่อนตัวอยู่ในโคนตอซังข้าว เพื่อเตรียมที่จะปลูกพืชในรุ่นต่อไป รวมทั้งเป็นการเพิ่มแร่ธาตุฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม ซึ่งเป็นเถ้าถ่านอยู่ในนาจะช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรง แต่ดินจะสูญเสียธาตุคาร์บอน ไนโตรเจน และกำมะถัน ซึ่งจะระเหยไปในรูปของแก๊ส เราจะต้องซื้อปุ๋ยดังกล่าวมาใส่ทดแทนในนาข้าว หากแต่ข้อดีต่างๆ ข้างต้นนี้ เทียบกับการไม่เผาตอซัง ทราบหรือไม่ครับว่า น้ำหนักของสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือโทษ อย่างไหนจะมีมากกว่ากัน วันนี้มีคำตอบครับ หากการเผาตอซังเป็นการลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช นั้น เราสามารถแก้ไขได้โดยการปลูกพืชหมุนเวียน แทนการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำที่เดิม ทุกปี ที่อาจจะทำให้การระบาดของโรคและแมลงเพิ่มขึ้น หากเราไม่เผาตอซัง เราจะได้ประโยชน์จากฟางข้าวตอบแทนอย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะดินในนาที่นับวันจะเสื่อมลงไปทุกๆปีครับ สำหรับฟางข้าวที่เป็นเ

หลักพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน

เกษตร หลักพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน วันนี้อยู่ว่างๆ ขอนำเสนอหลักในการเลือกซื้อที่ดินครับ เผื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่ไม่ค่อยถนัดในเรื่องกฏหมายเท่าไหร่ จะได้ไม่โดนโกงเอาง่ายๆ มีหลักๆที่เราต้องพิจารณา อยู่ 4 ข้อครับ 1   ที่ สปก. อย่าซื้อโดยเด็ดขาด ถึงจะที่จะดี และราคาจะถูกอย่างไรก็อย่าซื้อโดยเด็ดขาดครับ เพราะผู้ครอบครองจะโอนสิทธิให้ได้แต่เฉพาะทายาทเท่านั้น ขืนซื้อไปก็มีแต่จะเสียเงินเปล่าๆ ไม่ได้อะไรครับ 2   ที่ดินที่เป็นโฉนดหรือ นส3 อันนี้ซื้อได้เลยครับ เพราะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามกฏหมายที่สำนักงานที่ดิน และสามารถใช้เป็นหลัก ทรัพย์ค้ำประกันการทำนิติกรรมทางกฏหมาย พูดง่ายๆ ก็คือกู้เงินกับธนาคารมาลงทุนได้นั่นเองครับ 3   ที่ดิน ต้องติดถนน หรือทางสาธารณะประโยช์ เพื่อให้มีทางเข้าออกที่ดินของเราได้ ถ้าไม่ติดเขาเรียกที่ตาบอดครับ หลังจากที่เราซื้อแล้วเจ้าของที่ข้างเคียงที่เราต้องผ่านออกทางสาธารณะของเขา สามารถปิดกั้นไม่ให้เราผ่านได้ และอาจเรียกค่าทางผ่านเข้าออกกับเราในราคาที่แพงมหาโหด อย่างไรก็จำเป็นต้อง ยอมจ่ายเขาล่ะครับ สรุปง่ายๆคือ ถ้าไม่มีทางเข้าออกสาธารณะ อย่าซื้อเด็ดขา

อาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551

เกษตร รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 51 ผลจากการสำรวจเกษตรกรและผู้สนใจ ที่สนใจในอาชีพเกษตรกรรมทั่วประเทศ พบว่างานเกษตรกรรมที่ทำง่าย ๆ และ สร้างรายได้เร็วนั้นมักจะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ด้วยเหตุผลว่ามีการลงทุนน้อย , ใช้พื้นที่ไม่มาก , สามารถประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ , มีการใช้สารเคมีน้อยและที่สำคัญ ได้เงินเร็ว จากการนำข้อมูลอาชีพเกษตร กรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจและนำมาเผยแพร่ผ่านทางหน้าเกษตรเดลินิวส์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ในรอบปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมานั้น มีหลายอาชีพได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ     คุณสมบูรณ์ วงศา เกษตรกร อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เปลี่ยนอาชีพจากการปลูกมะขามหวาน และมะม่วงมาเริ่มต้นด้วยการปลูกพริกไทยสดเพียง 30 หลัก ผลผลิตดกและขายได้ราคาดีและไม่พบปัญหาทางด้านการตลาด ปัจจุบันมีรายได้จากการเก็บผลผลิตพริกไทยสดที่ปลูกจำนวน 105 หลักที่มีอายุต้นเฉลี่ย 8 ปีเป็นเงินประมาณ 200,000 บาทต่อปี สร้างรายได้สูงกว่าไม้ผลที่เคยปลูก มาทุกชนิดและใช้พื้นที่ปลูกไม่มากนัก พริกไทยสดเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ให้ผลผลิตเร็วปลูกไปเพียง 14 เดือน จะเริ่มให้ผลผลิตขายได้บ

ปุ๋ยเคมีที่หาได้จากธรรมชาติ

เกษตร ปุ๋ยเคมีที่หาได้จากธรรมชาติ สำหรับปัญหาเรื่องดิน นับว่าเป็นปัญหาสำหรับคนทำ  เกษตร  อย่างมากครับ จะเห็นได้ว่าสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย ของเรา จะปลูกอะไรก็งอกงามไปหมด ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องดินสักเท่าไหร่ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี ใส่แค่มูลสัตว์นิดๆ หน่อยๆก็พอแล้ว แต่พอมาถึงยุคปัจจุบัน เกษตรกรบางรายลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีราคาแพง ใส่แล้วพืชผักก็งอกงามดีครับ แต่พอหยุดใส่ก็เหมือนเดิมซะงั้น แต่หารู้ไม่ว่าคุณภาพของปุ๋ยเคมีนั้น มีอยู่ในธรรมชาติแล้วครับ เพียงแต่เราไม่รู้ หรืออาจมองข้ามเท่านั้นเอง มาดูกันครับ การฟื้นฟูดิน หรือปรับสภาพดินที่ถูกทำลาย ซึ่งเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ให้กลับมีความอุดมสมบูรณ์ และมีธาตุอาหารครบตามที่มันสำปะหลังต้องการ คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม N ( ไนโตรเจน) ..หาได้จากขี้ไก่ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อปุ๋ยยูเรีย การตรึงไนโตรเจนมาให้มันสำปะหลังใช้มีอยู่หลายวิธี ซึ่งในโตรเจนมีอยู่ในอากาศถึง 78 เปอร์เซนต์ของก๊าสต่างๆ สามารถทำได้โดยการใช้จุลินทรีย์ชนิดที่ตรึงไนโตรเจน คือไรโซเบียม (หาได้จากปมรากถั่วและโสน หรือสามารถซื้อจากผู้ผลิตจุลินทรีย์โดยต

ทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์

เกษตร การทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์ หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบนํ้า ในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ จากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่สามารถถนอมไว้ใช้ได้ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก 1. เครื่องตัดหญ้า หรือเครื่องสับหญ้า 2. ภาชนะที่ใช้บรรจุหญ้าสำหรับหมัก เช่น หลุม ถัง ถุงพลาสติก 3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากนํ้าตาล เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก ถ้าใช้ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่จำเป็นต้องเสริม 4. ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หลุม หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก วิธีการทำหญ้าหมัก หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม. บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในภาชนะสำหรับหมัก ซึ่งอาจเป็นถุง บ่อซีเมนต์หลุม ยํ่าอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมดในขณะที่บรรจุหญ้าลงในภาชนะ ละลายกากนํ้าตาล พรมให้ทั่ว ๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ไม่ต้องใช้  จากนั้นทำการปิดภาชนะบรรจุหญ้าด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิด แล้วโรยทับด้วยทรายป้องกันอากาศและนํ้า หลังจากปิดภาชนะแล้ว หมักไว้ 3-