ไม้พยุง ไม้ยางนา ไม้ป่าเศรษฐกิจ ควรค่าแก่การปลูก

สวัสดีครับมิตรสหายที่รักเกษตรทุกท่าน บทความนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ที่เห็นในภาพนี้คือต้นพยุงไทย พยุงจีน และพยุงเวียดนาม ที่ผมได้ปลูกไว้เมื่อปีที่แล้ว ( 10 กรกฎาคม 2561)

พยุงจีน (อายุ 11 เดือน)


พยุงเวียดนาม (อายุ 11 เดือน)


พยุงไทย (อายุ 11 เดือน)
 พยุงทั้งสามสายพันธุ์ในภาพ หากดูจากสภาพต้นแล้วก็ไม่ค่อยโตสักเท่าไร เนื่องจากช่วงหน้าแล้งปีนี้ (2562) ทั่วประเทศไทยเรียกได้ว่าประสบกับภัยแล้งที่ค่อนข้างรุนแรง อาจเป็นเพราะผืนป่าในประเทศไทยเราเริ่มเสื่อมโทรม จากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โดยไม่มีการปลูกทดแทน

ไม้สัก (อายุ 11 เดือน
ผมเริ่มปลูกไม้เศรษฐกิจเมื่อปี 2561 มีไม้จำพวก ไม้พยุง ไม้ยางนา ไม้มะค่า ไม้ประดู และไม้สัก รวมๆแล้วก็ร่วมพันต้นเหมือนกัน โดยได้เดินทางไปซื้อต้นกล้าที่จังหวัดลำปาง ตอนนั้นได้พยุงไทยติดมาประมาณ 300 ต้น ไม้ยางนาอีกประมาณ 500 ต้น

ไม้ยางนา (อายุ 11 เดือน)
นี่ก็ผ่านมาเกือบ 1 ปีแล้ว เดินนับดูไม้ยางนาที่ปลูกไว้เมื่อปีที่แล้วตายเกือบหมด เหลือเพียงไม่กี่สิบต้น แต่ที่รอดมากที่สุดเห็นจะเป็นพยุงไทย และพยุงจีน ส่วนพยุงเวียดนามปลูกไว้เพียง 4 ต้น ก็ถือว่าคุ้มค่า และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แค่นี้ผมก็พอใจแล้วล่ะครับ เพราะโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนทำเกษตรผสมผสานชอบปลูกต้นไม้ที่ให้ผลและให้ร่วมเงา ที่เห็นแม้เป็นเพียงต้นกล้าเล็กๆ แต่ปลูกแบบธรรมชาติไม้ได้ดูแลอะไรมากมาย ไม่ได้วางระบบน้ำ ต้นไม้ยังสามารถผ่านแล้งมาได้ขนาดนี้ ยิ่งเป็นกำลังใจให้ผมได้เดินหน้าสร้างสวนป่าต่อไปเรื่อยๆ ทุกท่านก็เหมือนกัน เรามาร่วมกันสร้างสวนป่าผสมผสานกับสวนไม้ผลไม้ยืนต้น เป็นบำนาญชีวิต พิชิตโลกร้อนกันนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้