เพิ่มผลผลิตข้าว ด้วยตอซังข้าว

เทคนิคเกษตร เพิ่มผลผลิตข้าวด้วยตอซัง
เทคนิคเกษตร
เผาทำลาย   ตอซัง  ระวังเถิด
เป็นบ่อเกิด   ผลผลิตต่ำ  นำทุนสูง
หากทำตาม  ทฤษฎีใหม่  ใช่ชักจูง
ทุนไม่สูง (แถม)  กำไรงาม  จะตามมา
ในสมัยที่ผมเป็นเด็ก จำได้ว่าอาชีพหลักแถวบ้านผมส่วนใหญ่จะทำนา โดยชาวนาส่วนใหญ่ พอเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็จะพากันเผาทำลายตอซังข้าว เพื่อความสะดวกในการเพาะปลูกข้าวในฤดูกาลต่อไป โดยที่ไม่รู้ว่าแนวทางที่กำลังทำอยู่เป็นแนวทางการทำเกษตรที่ผิด การทำเกษตรในสมัยก่อนตอนผมยังเด็ก เกษตรกรส่วนใหญ่จะทำตามๆ กันไป อย่างเช่นว่า ใครว่าแบบไหนดี ก็เกิดกระแสทำตามๆ กันไปโดยขาดความรู้ แต่ในสมัยปัจจุบันทั้งทางภาครัฐ และภาคเอกชนบางส่วน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเกษตรกร ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานของรัฐบาลหลายหน่วยงานที่ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำเทคนิควิธีการการทำเกษตรที่ถูกต้อง ให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นจริงเป็นจัง รวมทั้งมีศูนย์วิจัย สถานีทดลองพันธุ์พืชต่างๆมากมายเป็นที่น่ายินดีครับ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และด้วยแหล่งเสาะแสวงหาความรู้มีอยู่มากมาย ทำให้การทำเกษตรในปัจจุบันไม่ต้องออกแรงเท่าไรนัก แต่ปัญหาหลักๆ ที่เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาพบเจอก็คือ ต้นทุนที่สูง(ต้องซื้อปุ๋ยเคมี) แต่ผลผลิตกลับตกต่ำ ดินเกิดการเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย เหตุผลก็เพราะว่าเราคล้อยตามเทคโนโลยีมากจนเกินไปนั่นเองครับ เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินมากเกินไป จนเกิดการตกค้างในดิน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ และที่แย่ไปกว่านั้น เกษตรกรไม่ได้เพิ่มอินทรียวัตถุลงไปในดิน แต่กลับไปเผาทำลายตอซังข้าว อันนี้เท่ากับว่าเกษตรกรกำลังเผาทำลายปุ๋ยไนโตรเจนคุณภาพสูง เผาทำลายจุลินทรีย์ ที่มีส่วนในการย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เพื่อนๆที่ทำเกษตรรู้หรือไม่ครับว่า ข้อมูลจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติระบุว่า ในหนึ่งรอบฤดูกาลของการปลูกข้าวของเกษตรกร ในข้าว 100 ถัง ต้องการปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตเพียง 16 กก.ฟอสฟอรัส 26 กก. และต้องการโพแตสเซียมเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตเพียง 6 กก. หากเกษตรกรทำการไถกลบตอซังข้าวหลังจากเก็บเกี่ยว หรือก่อนฤดูปลูกโดยไม่เผาทำลายจะได้ปุ๋ยไนโตรเจนใส่ไว้ในนาข้าวโดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี (หากไถกลบตอซังข้าว 1 ไร่ จะได้ปุ๋ยไนโตรเจนบริสุทธิ์ประมาณ 15-20 กก.) ในการไถกลบตอซังข้าว ไม่เพียงแค่ลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมี เศษฟาง หรือตอซังข้าวจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ปรับสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยกระบวนการธรรมชาติ และที่สำคัญ ผลผลิตต่อฤดูกาลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปูนขาว/ปูนมาร์ล ทำหน้าที่อะไร?

เลือกฤดูกาลปลูกฟักทองให้ขายได้ราคาแพง

9 อุปกรณ์สำหรับวางระบบน้ำด้วยท่อ Pe ที่คนทำเกษตรควรรู้ไว้