เคล็ดลับ! เลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ไม่ง้อช่าง! เริ่มต้นง่าย! มือใหม่ไม่ควรพลาด!

แชร์เคล็ดลับ! เลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ไม่ง้อช่าง! 
เริ่มต้นง่าย! มือใหม่ไม่ควรพลาด!

การเลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่คุณต้องรู้ข้อควรพิจารณาบางประการก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อ โดยเฉพาะหากคุณเป็นมือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระบบน้ำต้นไม้ของคุณ บทความนี้จะช่วยให้คุณเลือกได้ง่ายขึ้นครับ

สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา ก่อนเลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์

✅ จะสูบน้ำจากแหล่งไหน?

การเลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่คุณใช้งาน เช่น สระน้ำ คลองชลประทาน หรือบ่อบาดาล

✅ เลือกปั๊มให้เหมาะสมกับแหล่งน้ำ

• สระหรือคลองชลประทาน: หากสวนเราใช้น้ำจากสระหรือคลองชลประทาน ควรเลือกใช้ ปั๊มหอยโข่งเพลาลอยโซล่าเซลล์ หรือ ปั๊มจุ่มไดโว่

• บ่อบาดาล: หากสวนเราเจาะบ่อบาดาลไว้แล้ว ควรเลือกใช้ ปั๊มซับเมอร์ส แต่ก็ต้องพิจารณาความลึกของบ่อเพื่อเลือกสเปคที่เหมาะสมด้วย

ควรเลือกแบบไหนดีระหว่าง ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ กับ ปั๊มจุ่มไดโว่?

🔵เปรียบเทียบข้อดี/ข้อเสีย ให้เห็นชัดๆ

ปั๊มหอยโข่งเพลาลอย

เหมาะสำหรับ: ใช้ส่งน้ำขึ้นที่เนินสูงหรือระยะทางไกล เช่น การสูบส่งน้ำจากคลองหรือสระไปยังพื้นที่ที่สูงหรือห่างไกล

✅ ข้อดี:

• มีแรงดันสูง ทำให้สามารถดันน้ำไปได้ไกล

• เหมาะกับสวนที่ต้องการส่งน้ำระยะไกล หรือสูบขึ้นแท้งค์น้ำ และที่เนินสูง

❌ ข้อเสีย:

• ต้องกรอกน้ำก่อนใช้งาน เพื่อให้ปั๊มดูดน้ำจากสระได้ง่าย (แนะนำให้ใช้หัวกะโหลกแบบฟุตวาล์ว)

• ไม่เหมาะสำหรับสระหรือแหล่งน้ำที่มีความลึกมาก (แนะนำตรวจสเปคบนเนมเพลต)

ปั๊มจุ่ม (ไดโว่)

เหมาะสำหรับ: พื้นที่ ที่ต้องการสูบน้ำในปริมาณมาก เช่น การสูบจากบ่อบาดาลหรือการถ่ายเทน้ำจากที่ต่ำไปที่สูงในระยะไกล้ๆ

✅ ข้อดี:

• ใช้งานง่าย และติดตั้งได้สะดวก

• เหมาะสำหรับการสูบน้ำในพื้นที่ที่น้ำไม่ลึกมาก เช่นสูบน้ำจากสระเข้าแปลงนา 

❌ ข้อเสีย:

• แรงดันต่ำ ไม่สามารถส่งน้ำได้ไกลเหมือนปั๊มหอยโข่งเพลาลอย

• ไม่เหมาะกับการใช้งานในที่สูงหรือระยะทางไกล

• มีความเสี่ยงจากการเกิดสนิมหรือเสียหาย เพราะต้องแช่ไว้ในน้ำเป็นเวลานาน 

เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ จึงขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและสถานที่ที่จะใช้งาน เช่น หากต้องการส่งน้ำในระยะทางไกลและมีแรงดันสูง ควรเลือกปั๊มหอยโข่งเพลาลอย แต่ถ้าต้องการสูบน้ำปริมาณมากในพื้นที่ใกล้เคียงและไม่ต้องการแรงดันสูง ปั๊มจุ่มหรือไดโว่ ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีครับ

สูบน้ำจากสระหรือคลองชลประทาน ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

• ระยะดูดลึกเท่าไร?

• ระยะทางส่งน้ำไกลแค่ไหน?

• ขนาดสวนหรือพื้นที่ที่ต้องการใช้น้ำมีปริมาณเท่าไร หรือกว้างแค่ไหน?

ตัวอย่างเช่น หากพื้นที่สวนของเรามีขนาด 2 ไร่ และวางระบบสปริงเกอร์โดยใช้ท่อเมนขนาด 2 นิ้ว ปลูกไม้ผลประมาณ 100 - 200 ต้น อยากจะทำ ระบบน้ำโซล่าเซลล์ ควรเลือกใช้ ปั๊มหอยโข่งเพลาลอยขนาด 1,100 วัตต์ เพื่อให้เหมาะสมกับการสูบน้ำในพื้นที่ดังกล่าว

🌅 จะเลือกปั๊มน้ำ DC อย่างไรให้เหมาะกับแผงโซล่าเซลล์ ?

ปั๊มดีซี (DC Pump) คืออะไร?

ปั๊มน้ำดีซี (DC Pump) เป็นปั๊มน้ำที่ใช้มอเตอร์กระแสตรงขับเคลื่อน โดยเฉพาะ มอเตอร์บัสเลส (Brushless DC Motor) ที่ทนทาน เสียงเงียบ และประหยัดพลังงาน เหมาะสำหรับระบบน้ำโซล่าเซลล์ เพราะเชื่อมต่อแผงโซลาร์เซลล์ได้โดยตรง ไม่ต้องใช้อินเวอร์เตอร์ ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

แผงโซล่าเซลล์ทำหน้าที่อะไร?

แผงโซล่าเซลล์ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงแดดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยี เซลล์แสงอาทิตย์ (solar cells) ซึ่งผลิตจากวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ เช่น ซิลิกอน เมื่อแสงแดดกระทบแผงโซล่าเซลล์ จะสร้างกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น ชาร์จแบตเตอรี่ จ่ายไฟฟ้าให้กับปั๊มน้ำดีซี (DC Pump) โดยตรง เพื่อสูบน้ำ หรือจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น พัดลม ตู้เย็น หม้อหุงข้าว ผ่านอินเวอร์เตอร์ (อุปกรณ์แปลงเป็นไฟฟ้า DC เป็น AC) ช่วยประหยัดพลังงาน ช่วยลดต้นทุน

หากต้องการเลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับแผงโซล่าเซลล์ หรือเลือกแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับปั๊มน้ำ มีข้อควรพิจารณาดังนี้:

เลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ของเรา

ควรพิจารณาขนาดและกำลังของปั๊มน้ำตามความต้องการใช้งานในพื้นที่ เช่น

ตัวอย่าง: หากมีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ แนะนำใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ขนาด 1,100 วัตต์ ที่แรงดันไฟฟ้า 110V และกระแสไฟฟ้า 10.00 แอมป์ ซึ่งค่าดีซีโวลท์เทต (DC Voltage Range) ของปั๊มน้ำจะอยู่ที่ 110-150 โวลท์ หมายความว่าปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สเปคนี้ สามารถรับแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 110V ถึง 150V

✅ เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับสเปคของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์

เมื่อทราบสเปคของปั๊มน้ำแล้ว ให้เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับสเปคของปั๊มน้ำ

ตัวอย่าง: หากใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ขนาด 1,100 วัตต์ ที่แรงดันไฟฟ้า 110V และกระแสไฟฟ้า 10.00 แอมป์ (ค่าดีซีโวลท์เทต 110-150V) สามารถเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 600 วัตต์ (Vmp 70.44V) จำนวน 2 แผง โดยนำมาต่ออนุกรมกัน ซึ่งการต่ออนุกรมจะทำให้แรงดันรวมเป็น 140.88V และกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 8.51 แอมป์ ค่านี้อยู่ในช่วงแรงดันที่เหมาะสม (110-150V) ทำให้ปั๊มน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สรุปการเลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ต้องพิจารณา 3 ข้อนี้

1. ตรวจสอบสเปคปั๊มจากเนมเพลต: เลือกปั๊มที่มีสเปคเหมาะสมกับการใช้งานและปริมาณน้ำที่ต้องการ โดยดูค่าต่างๆ เช่น อัตราการไหล (Q.max), ระยะดูดลึก, และระยะส่งน้ำที่ปั๊มสามารถทำได้

2. คำนวณแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสม: ตรวจสอบและคำนวณแผงโซล่าเซลล์ที่ต้องการใช้ โดยอิงจากค่า Vmp (แรงดันไฟฟ้าขณะทำงาน) เพราะเป็นค่าที่แสดงแรงดันขณะที่แผงผลิตไฟฟ้าได้จริงภายใต้สภาวะปกติ และกำลังวัตต์ของแผง เพื่อให้แผงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแสงแดดให้เป็นพลังงานไฟฟ้าฟรี ขับเคลื่อนปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ของเรา

3. เลือกปั๊มที่เหมาะสมตามการใช้งานจริง: เลือกปั๊มโซล่าเซลล์ ที่มีอัตราการไหล (Q), ระยะดูดลึก, และระยะส่งน้ำสูงพอที่จะรองรับการใช้งานจริงในสวนของเรา โดยอ้างอิงจากสเปคที่ระบุในเนมเพลตของปั๊มเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์และแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมจะช่วยให้การวาง ระบบน้ำโซล่าเซลล์ ในสวนเกษตรของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เพราะใช้พลังงานฟรีจากแสงแดด ช่วยลดต้นทุน ไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าหรือค่าน้ำมัน แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยในการตัดสินใจของเพื่อนๆที่ทำเกษตรทุกท่าน ไม่มากก็น้อยลองนำไปพิจารณาดูครับ



Comments