บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2015

เพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง 3 วันเก็บกินได้..ไม่เชื่อต้องลอง!!

รูปภาพ

สภาพปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช

5 ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช 1. สภาพน้ำหรือความชื้นในดิน เมื่อดินมีความชื้นลดลงหรือมีน้ำน้อยลง และเมื่อพืชเริ่มขาดแคลนน้ำ พืชดังกล่าวก็จะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก ( Abscisic acid) หรือ ABA มีผลทำให้ปากใบปิด การคายน้ำของพืช จึงลดลงตามไปด้วย 2. อุณหภูมิในอากาศ ในขณะที่ปากใบของพืชกำลังเปิดอยู่ และอุณหภูมิในอากาศเริ่มสูงขึ้น อากาศก็จะแห้งลง น้ำก็จะระเหยออกจากปากใบของพืชมากขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำมากขึ้นไปด้วย 3. ความชื้นในอากาศ ถ้าความชื้นในอากาศลดลงปริมาณน้ำในใบพืชและในอากาศมีความแตกต่างกันมากขึ้น จึงทำให้ไอน้ำแพร่ออกจากปากใบของพืชมากขึ้น ส่งผลทำให้พืชเกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย 4. ลม ลมที่พัดผ่านใบไม้มักจะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง ส่งผลให้ไอน้ำบริเวณปากใบของพืชแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น และในขณะที่ลมพัดผ่านผิวใบ มักจะนำความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำจากปากใบก็จะแพร่กระจายได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมพัดแรงเกินไปปากใบของพืชก็จะปิด 5. ความเข้มของแสง ปากใบของพืชจะเปิดมากขึ้นเมื่อความเข้มแสงสูงขึ้น และปากใบจะเปิดน้อยลงเมื่อความเข้มของแสงลดลง (ในกรณีที่พืชได้ร

ปากใบและการคายน้ำของพืช

รูปภาพ
ปากใบและการคายน้ำของพืช ปากใบของพืช ( Stomata ) คือรูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุม ( Guard cell) ที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ และมีหน้าที่สำคัญคือเป็นทางเข้าออกของน้ำและอากาศของพืชโดยตรง ซึ่งปากใบของพืชส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านล่างผิวใบของพืช เพราะเป็นที่รู้จักกันคือพืชต่างๆจะสังเคราะห์แสงได้ดีในช่วงที่มีแสงแดดมาก ปากใบจึงต้องอยู่ด้านล่างของพืช และผิวใบด้านบนของพืชก็จะมีสารคิวทินเคลือบอยู่หนา ซึ่งก็จะช่วยลดการคายน้ำออกทางปากใบพืชได้อีกทางหนึ่ง การคายน้ำของพืช การคายน้ำของพืช 1. คายน้ำผ่านทางปากใบ เราต่างรู้กันดีว่าพืชโดยส่วนใหญ่แล้ว จะสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ ( Transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ และจะทำการคลายน้ำผ่านทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำอีกทางหนึ่ง ซึ่งในบางเวลาที่มีความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง น้ำก็จะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังคงสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด ( hydathode) มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอ